ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: สุพัตรา สกุลพันธุ์, พย.ม.* จารุวรรณ ต.สกุล, สส.ม. (การแพทย์จิตภาพ)/** วรรณา คงสุริยะนาวิน, ศษ.ด (ประชากรศึกษา)** ปนัดดา ปริยทฤฒ, วท.ม. (วิทยาการระบาด)**

ชื่อเรื่อง/Title: ภาวะสุขภาพจิตของนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลายที่ถูกกระทำทารุณทาง ร่างกายและ/หรือทางเพศ : เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร

แหล่งที่มา/Source: เอกสารงานวิจัย

รายละเอียด / Details:

การกระทำทารุณเด็กมีผลกระทบต่อสุขภาพกาย สุขภาพจิตและพัฒนาการของเด็ก โดยเฉพาะ ช่วงวัยเด็กที่กำลังเจริญเติบโต การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะสุขภาพจิตของนักเรียนที่ถูกกระทำทารุณ ชนิดของ การถูกกระทำทารุณและความสัมพันธ์ระหว่างภาวะสุขภาพจิตกับชนิดของการถูกกระทำทารุณ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร เขตบางกอกน้อย จำนวน 387 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามการถูกกระทำทารุณทางร่างกายและทางเพศและแบบประเมินภาวะสุขภาพจิต วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ คำนวณค่าร้อยละและหาความสัมพันธ์โดยทดสอบไคสแควร์ ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 84.0 มีภาวะสุขภาพจิตอยู่ในระดับดี ร้อยละ 16.0 มีภาวะ สุขภาพจิตอยู่ในระดับไม่ดี ผู้มีภาวะสุขภาพจิตด้านความวิตกกังวลอยู่ในระดับไม่ดีคิดเป็นร้อยละ 17.1 ซึ่งสูงกว่าด้านอื่นๆ กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 83.7 ถูกกระทำทารุณทางร่างกาย โดยมีลักษณะที่พบมากที่สุด คือ การตี/เฆี่ยนด้วยอุปกรณ์ต่างๆ ด้วยความถี่นานๆครั้ง ร้อยละ 16.3 ถูกกระทำทารุณทางเพศ โดยมีลักษณะที่พบมากที่สุด คือ การชวนพูดคุยเรื่องลามก/พูดลวนลาม ด้วยความถี่นานๆครั้ง ภาวะสุขภาพจิตโดยรวมมีความสัมพันธ์กับชนิดของการถูกกระทำทารุณอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p ‹.05) ภาวะสุขภาพจิตด้านความ ซึมเศร้า ความวิตกกังวลและความก้าวร้าวมีความสัมพันธ์กับชนิดของการถูกกระทำทารุณอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p <.05) ผลการวิจัยครั้งนี้มีข้อเสนอแนะว่า พยาบาลจิตเวชควรตระหนักถึงความสำคัญของการประเมิน ภาวะสุขภาพจิตของ นักเรียนที่ถูกกระทำทารุณโดยเฉพาะนักเรียนที่ถูกกระทำทารุณทางเพศ พร้อมทั้ง สนับสนุนให้ครอบครัวและครูเข้ามามีบทบาท ในการให้ความดูแล ช่วยเหลือ ประคับประคองให้นักเรียน สามารถดำเนินชีวิตได้อย่างปกติสุข หรือคัดกรองเพื่อส่งต่อให้ได้รับ การบำบัดรักษาที่ถูกต้องเหมาะสม

Keywords: ภาวะสุขภาพจิต, นักเรียนประถม, เด็ก, สุขภาพจิตเด็ก, สุขภาพจิต, ทารุณ, ระบาดวิทยา, ความชุก, ความเครียด, จิตวิทยา, ทารุณเด็ก

ปีที่เผยแพร่/Year: 2547

Address: สถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์ กรมสุขภาพจิต คณะกรรมการที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

Code: 20050000181

ISSN/ISBN: -

Country of publication: Thailand.

Language: ภาษาไทย

Category: Original Article.

Download: -