ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: จิราวรรณ แท่นวัฒนกุล, กฤตยา แสวงเจริญ, นิลวรรณ ฉันทะปรีดา, ภัณฑิลา อิฐรัตน์, สมพร วัฒนนุกูลเกียรติ

ชื่อเรื่อง/Title: การทารุณกรรมและปล่อยปละละเลยเด็กในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ :อุบัติการณ์ผลกระทบ และการจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้น

แหล่งที่มา/Source: การสัมมนาระบาดวิทยาแห่งชาติครั้งที่ 18, (เครือข่ายระบาดวิทยาทั่วไทยเฝ้าระวังภัยทั่วประเทศ) พฤษภาคม 25-27, 2548 ณ. Miracle Grand Hotel, Bangkok, Thailand, หน้า 60-61

รายละเอียด / Details:

หลักการและเหตุผล การทารุณกรรมและปล่อยละเลยต่อเด็ก เป็นปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นในครอบครัว นับวันจะทวีความรุนแรง องค์การอนามัยโลกรายงานในปี 1999 มีเด็กทั่วดลกถูกคุกคามถึง 4 ล้านคนมี 4 รูปแบบ ได้แก่ ด้านร่างกาย ด้านอารมณ์, จิตใจ ด้านเพศ และด้านปล่อยปละละเลย ในประเทศไทย มีสถิติการให้ความช่วยเหลือเด็กจากหน่วยงาน แต่การรายงานปรากการณ์ที่ซ่อนเร้นในครอบครัวยังมีน้อย ซึ่งเป้นสิ่งคุกคามในด้านสวัสดิภาพ สุขภาพและพัฒนาการเด็กทั้งในระยะสั้น และระยะยาว วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุก ผลกระทบต่อพฤติกรรม และการจัดการ กับปัญหาที่เกิดขึ้นของเด็กจากการเกิดทารุณกรรมและปล่อยปละละเลยเด็กในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การศึกษาวิจัย เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ เพื่อหสอุบัติการณ์ ผลกระทบต่อพฤติกรรม และการจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้นของเด็ก กลุ่มตัวอย่างเป็นเด็กนักเรียนอายุ 12-18 ปี ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สุ่มได้ 3 จังหวัด คือ ร้อยเอ็ด หนองคาย และนครราชสีมา จำนวนกลุ่มตัวอย่าง 1,553 ราย เก็บข้อมูลระหว่างเดือนมิถุนายน-กันยายน 2545 ใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น หาความเที่ยงโดยได้ค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่าของครอนบาค เท่ากับ .90 ใช้สถิติเชิงพรรณนาและใช้ Logistic regreesion analysis ผลการศึกษาพบอุบัติการณ์ร้อยละ 73.7 รูปแบบที่พบมากที่สุด คือ ด้านร่างกายร้อยละ 54.6 ด้านอารมณ์/จิตใจ ด้านปล่อยปละละเลย และด้านเพศ ร้อยละ 52.2, 37.6, 2.8 ตามลำดับ ถูกระทำในระดับรุนแรงเล็กน้อยร้อยละ 85.0 ผู้ประทำเป็นบิดามารดา ร้อยละ 92.2 เด็กที่ถูกกระทำมีผลต่อพฤติกรรมร้อยละ 86.0 และไม่มีผลกระทบร้อยละ 24.0 โอกาสเกิดพฤติกรรมที่เป็นปัญหา 5.77 เท่าของกลุ่มอ้างอิง ด้านเพศมีโอกาสเกิดพฤติกรรมที่เป็นปัญหาสูงสุดคือ 12.99 เท่า เด็กที่ถูกระทำในระดับรุนแรงเล็กน้อย โอกาสที่จะเกิดพฤติกรรมที่เป็นปัญหาสูงสุด 5.94 เท่า กลุ่มตัวอย่างเลือกใช้การจัดการด้วยตนเองถึงร้อยละ 87.5 วิธีที่ใช้สูงสุด ได้แก่ 1) โยน ขว้างปา ข้าวของ 2) ร้องไห้ 3) เงียบเก็บกดความรู้สึก 4) ด่าโต้ตอบ 5) คิดว่าตนเองเป็นคนผิด สรุป อุบัติการณ์ในเด็กที่อาศัยอยู่ในครอบครัวพบได้ค่อนข้างสูง ทุกรูปแบบและทุกระดับความรุนแรงมีผลกระทบต่อพฤติกรรม การจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้นก็เป็นลักษณะของการใช้กลไกทางพฤติกรรม จำเป็นอย่างยิ่งที่บุคลากรทางสุขภาพควรให้ความช่วยเหลือในระยะเริ่มแรก เพื่อป้องกันหรือลดผลกระทบต่อพฤติกรรม ควรมีการศึกษาในกลุ่มเด็กที่ถูกระทำแต่ไม่มีผลกระทบต่อพฤติกรรม และกลุ่มบิดามารดา เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ไวต่อความรู้สึก จึงเสนอแนะให้เก็บข้อมูลด้วยวิธีเชิงคุณภาพ จะได้ข้อมูลเชิงลึก ได้สิ่งใหม่ๆ ที่ซ่อนเร้น และนำไปสุ่การป้องกันแก้ไขปัญหาที่เหมาะสม

Keywords: เด็ก, ทารุณกรรม, ความรุนแรง, ก้าวร้าว, พฤติกรรม, ความชุก, ระบาดวิทยา, อารมณ์, จิตวิทยา, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, อุบัติการณ์, สุขภาพจิต, ความชุก, ระบาดวิทยา พฤติกรรมเสี่ยง

ปีที่เผยแพร่/Year: 2548

Address: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

Code: 2005000021

ISSN/ISBN: -

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ภาษาไทย

Category: บทคัดย่อ

Download: -