ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: กัลญา แก้วอินทร์, ชีวรัตน์ ต่ายเกิด, บุษริน เพ็งบุญ, สุนทรียา คงคามี, ทรงศรี รุ่งเลิศ,

ชื่อเรื่อง/Title: การกระทำทารุณกรรมต่อเด็กในครอบครัวของนักเรียนชั้นประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสิงห์บุรี

แหล่งที่มา/Source: การสัมมนาระบาดวิทยาแห่งชาติครั้งที่ 18, (เครือข่ายระบาดวิทยาทั่วไทยเฝ้าระวังภัยทั่วประเทศ) พฤษภาคม 25-27, 2548 ณ. Miracle Grand Hotel, Bangkok, Thailand, หน้า 62-63

รายละเอียด / Details:

หลักการและเหตุผล จากปัญหาความรุนแรงต่อเด็กในครอบครัว ที่ส่งผลให้เด็กเกิดการเรียนรู้แบบอย่างการใช้ความรุนแรงในการแก้ปัญหา จนกลายเป็นสายโซ่วงจรของความรุนแรง ก่อให้เกิดผลกระทบระยะยาวต่อครอบครัวและสังคม วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยที่กี่ยวข้องกับการกระทำทารุณกรรมต่อเด็กในครอบครัวของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และ 6 ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสิงห์บุรี วิธีการศึกษา การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง จำนวน 276 คน ศึกษาการกระทำทารุณกรรมใน 2 ลักษณะ คือ การกระทำทารุณกรรมทางร่างกาย, ทางจิตใจและการทอดทิ้ง คำนวณขนาดตัวอย่างโดยการประมาณสัดส่วน สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เก็บข้อมูลจากเด็กและผู้ปกครองโดยใช้แบบสอบถามเกี่ยวกับข้อมูลทั่วไป การกระทำทารุณกรรมต่อเด็กและการทำหน้าที่ของครอบครัว Chulalongkorn Family Inventory CFI เก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 3 มิถุนายน - 4 กรกฎาคม 2547 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย สถิติไค-สแควร์ และสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์เพียรสัน ผลการศึกษา พบความชุกของการกระทำทารุณกรรมโดยรวม ร้อยละ 25.7 โดยพบความชุกของการกระทำทารุณกรรมทางร่างกาย ร้อยละ 18.1 ทางจิตใจและการทอดทิ้งร้อยละ 19.2 ตามลำดับปัจจัยที่สัมพันธ์กับการกระทำทารุณกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ การดื่มสุราของผู้ปกครอง (p‹.001) การเล่นการพนันของผู้ปกครอง (p<.05) ประเภทของครอบครัว (p<.05) และการกระทำหน้าที่ของครอบครัว (p<.05) โดยพบการกระทำทารุณกรรมมีความสัมพนธ์กับการกระทำหน้าที่ของครอบครัวด้านการทำหน้าที่ทั่วไป (r=-.146, p<.05) และด้านความผูกพันทางอารมณ์ (r=-.161, p<.01) ขนาดของปัญหาและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการกระทำทารุณกรรมต่อเด็ก ยังมีการกระทำทารุณกรรมในอัตราที่มาก จึงควรมีการเฝ้าระวังโยการสร้างความร่วมมือขององค์กรภาคระหว่างโรงเรียนกับโรงพยาบาลเพื่อเป็นเครือข่ายการดูเด็กที่ถูกระทำทารุณกรรม ส่งเสริมให้ชุมชนมีการจัดการตั้งกลุ่มครอบครัวเพื่อยุติความรุนแรง เสริมสร้างความอบอุ่นของสถาบันครอบครัวพร้อมทั้งรณรงค์อย่างจริงจังในการลด ละเลิกการดื่มสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์

Keywords: ทารุณกรรม, นักเรียน, ครอบครัว, เด็ก, ความรุนแรง, ความชุก, อุบัติการณ์, ระบาดวิทยา, สุรา, จิตวิทยา, ระบาดวิทยา, ความรุนแรง, ทารุณกรรมทางร่างกาย, ดื่มสุรา, นักเรียนประถม, พฤติกรรมเสี่ยง, สุขภาพจิต

ปีที่เผยแพร่/Year: 2548

Address: กลุ่มงานจิตเวช โรงพยาบาลอินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี

Code: 2005000022

ISSN/ISBN: -

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ภาษาไทย

Category: บทคัดย่อ

Download: -