ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: พิมพ์ทอง เจ๊กจันทึก , เตือนตา วิโรจน์อุไรเรือง , วัชราภรณ์ ลือไธสงค์

ชื่อเรื่อง/Title: ความเครียดในบทบาท พฤติกรรมเผชิญความเครียดและการสนับสนุนทางสังคมกับภาวะสุขภาพจิตของสตรีทำงานนอกบ้าน เขตอำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี

แหล่งที่มา/Source: ที่ประชุมวิชาการกรมสุขภาพจิต ครั้งที่ 6 วันที่ 6-8 กันยายน 2543

รายละเอียด / Details:

วัตถุประสงค์ของการวิจัย คือ เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะสุขภาพจิตและปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดปัญหาสุขภาพจิตของสตรีที่ทำงานนอกบ้าน ขอบเขตในการวิจัย คือ สตรีที่สมรสแล้ว และประกอบอาชีพ ซึ่งได้แก่ อาชีพราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ พนักงานธนาคารบริษัท ลูกจ้างบริษัทเอกชน และครู-อาจารย์ โรงเรียน เอกชน ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) ได้จำนวน 212 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบวัดความเครียดในบทบาท แบบวัดการรับรู้เกี่ยวกับการสนับสนุนทางสังคม และแบบคัดกรองปัญหาสุขภาพจิต (GHQ – 30 ) ซึ่งเครื่องมือดังกล่าวยกเว้นแบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล ได้ผ่านการตรวจสอบความเที่ยงตรง (Content Validity) และหาความเชื่อถือได้ (Reliability) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย 1)สถิติพรรณา ได้ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ 2) สถิติอ้างอิง ได้แก่ T-test,F-test,(One Way ANOVA) Chi-square test,Pearson’s Product Moment Correlation,Stepwise Multiple Regression และ Mulitple Logistic Regression ประมวลผลข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป SPSS FOR WINDOWS ผลการศึกษา พบว่า จำนวนรายได้ครอบครัวของสตรี และความเพียงพอของรายได้ในครอบครัว มีความสัมพันธ์กับสุขภาพจิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ความเครียดในบทบาทมีความสัมพันธ์กับสุขภาพจิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยสตรีที่มีความเครียดในบทบาทน้อยจะมีสุขภาพจิตดีกว่าสตรีที่มีความเครียดในบทบาทมากกว่า พฤติกรรมเผชิญความเครียดได้มากจะมีสุขภาพจิตดีกว่าสตรีที่พฤติกรรมความเครียดได้น้อยกว่า การได้รับการสนับสนุนทางสังคมของสตรีมีความสัมพันธ์กับสุขภาพจิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยสตรีที่ได้รับการสนับสนุนทางสังคมมาก มีสุขภาพจิตดีกว่าสตรีที่ได้รับการสนับสนุนทางสังคมที่น้อยกว่า และพบว่าปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดปัญหาสุขภาพจิตของสตรี ได้แก่ ความเพียงพอของรายได้ในครอบครัวและ พฤติกรรมเผชิญความเครียดของสตรี ได้แก่ ความเพียงพอของรายได้ในครอบครัวและ พฤติกรรมเผชิญความเครียดของสตรี ผลการวิจัยทำให้ได้แนวทางในการส่งเสริมสุขภาพจิตของสตรีโดยเฉพาะทักษะการเผชิญความเครียด

Keywords: พฤติกรรมเผชิญความเครียด, พฤติกรรม, ปัญหาสุขภาพจิต, เครียด , ความเครียด , สตรี, behavior, psychology, mental health problem, female, stress

ปีที่เผยแพร่/Year: 2543

Address: โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข

Code: 20050000227

ISSN/ISBN: 974-293-644-7

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ภาษาไทย

Category: Paper ได้รับคัดเลือกนำเสนอในที่ประชุมวิชาการกรมสุขภาพจิต

Download: -