ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: ผศ.ดร.วินัย ดำสุวรรณ

ชื่อเรื่อง/Title: การรู้คุณค่าตนเองของนักเรียน: ความสัมพันธ์และการเปลี่ยนแปลงที่ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

แหล่งที่มา/Source: การประชุมวิชาการสุขภาพจิตนานาชาติ ครั้งที่ 13, 25-27 สิงหาคม 2547, ณ โรงแรมแอมบาสซาเดอร์ กรุงเพฯ, หน้า 121.

รายละเอียด / Details:

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ‹br> 1. ศึกษาความมีเสถียรภาพ และการเปลี่ยนแปลงการรู้คุณค่าตนเองของนักเรียนชั้นประถมศึกษาที่ 6
2. เปรียบเทียบการรู้คุณค่าตนเอง ความคงเส้นคงวาในการรู้คุณค่าตนเองของนักเรียนชายและนักเรียนหญิง และ
3. ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรู้คุณค่าตนเอง กับการรับรู้ความสามารถของตนเอง คุณภาพชีวิตในโรงเรียนและการรับรู้ลักษณะ กิจกรรมในห้องเรียน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนและผู้ปกครองชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หนึ่งห้องเรียน จำนวน 39 คน ของโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา
ตัวแปรและการประเมินค่าตัวแปรในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย
1. การรู้คุณค่าตัวเองของนักเรียนประเมินค่าด้วยแบบสอบถามการรู้คุณค่าตนเอง (The Lawseq questionnaire) ของ Lawrence (1982,1983),
2. การรรับรู้ความสามารถตนเองของนักเรียน ใช้แบบสอบถามซึ่งดัดแปลงมาจาก Adolescents questionnaire และ Parents questionnaire ของ Frome and Eccles (1998),
3. คุณภาพชีวิตในโรงเรียน ประเมินด้วย The quality of schoold life (QSL) Instrument ของ Anderson and Bourke (2000) และ
4. การรับรู้ลักษณะกิจกรรมในห้องของนักเรียน ประเมินด้วยเครื่องมือวัดด้านความรู้สึก My class activities ซึ่งดัดแปลงมาจากเครื่องมือของ Gentry and gable (2001) นอกจากข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถามแล้ว ข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้ยังมาจากเอกสารบันทึกผลการเรียนของโรงเรียน ได้แก่ คะแนนเฉลี่ยตลอดปี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และ 6 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา สัมประสิทธิ์อัลฟาเป้นตัวบ่งชี้ความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม วิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่าย และการทดลอง ค่าที ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป SPSS for Windows
ผลการวิจัย 1
พบว่าการรู้คุณค่าตนเองของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เมื่อสำรวจสองครั้งคือต้นปีและปลายปีการศึกษา มีเสถียรภาพ ทั้งนี้พิจารณาได้จากค่าเฉลี่ยการรู้คุณค่าตนเองจากการสำรวจทั้งสองครั้งไม่แตกต่างกัน ที่ระดับความมีนัยสำคัญทางสถิติ .05 ผลการเรียนเปรียบเทียบระดับคะแนนเฉลี่ยการรู้คุณค่าตนเองของนักเรียนชาย และหญิง พบว่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงการรู้คุณค่าตนเองของนักเรียนเมื่ออายุมากขึ้น โดยเฉพาะนักเรียนหญิง นอกจากนี้ยังพบว่า การรู้คุณค่าตนเองของนักเรียนจากการประเมินครั้งที่ 2 มีความสัมพันธ์กับความรู้สึกทางลบ ซึ่งเป็นองค์ประกอบคุณภาพชีวิตในโรงเรียน และความสนุกสนานจากการทำกิจกรรมในห้องเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Keywords: การรู้คุณค่าตนเองของนักเรียน, นักเรียน, คุณภาพชีวิต, สุขภาพจิต, จิตวิทยา

ปีที่เผยแพร่/Year: 2547

Address: โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา

Code: 20050000239

ISSN/ISBN: -

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ภาษาไทย

Category: Paper ที่ได้รับคัดเลือกนำเสนอในเวทีประชุมวิชาการกรมสุขภาพจิตนานาชาติประจำปี 2547 สุขภาพจิตกับยาเสพติด

Download: -