ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: รุ่งทิวา บุพพันเหรัญ

ชื่อเรื่อง/Title: ต้นทุนต่อหน่วยบริการสุขภาพจิต ณ สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ปีงบประมาณ 2544-2546

แหล่งที่มา/Source: การประชุมวิชาการสุขภาพจิตนานาชาติ ครั้งที่ 13, 25-27 สิงหาคม 2547, ณ โรงแรมแอมบาสซาเดอร์ กรุงเทพฯ, หน้า 167-168.

รายละเอียด / Details:

หลักการและเหตุผล ‹br>การศึกษาต้นทุนต่อหน่วยบริการสุขภาพจิต โดยการประยุกต์ใช้หลักเศรษฐศาสตร์สาธารณสุขในการวิเคราะห์ความคุ้มค่าของการใช้ทรัพยากร และเพื่อนำผลไปประกอบการวางแผน ปรับเปลี่ยนต้นทุนของสถาบันฯ ให้เหมาะสมและเกิดความเป็นธรรมแก่ผู้มารับบริการ ซึ่งสอดคล้องตามนโยบาย Low cost with good mental health ของกรมสุขภาพจิต
วัตถุประสงค์
ศึกษาเปรียบเทียบต้นทุนแต่ละหน่วยบริการงานสุขภาพจิตของผู้มารับบริการ ณ สถาบันฯ 3 ปี ย้อนหลัง และพฤติกรรมต้นทุนค่าแรงต่อต้นทุนค่าวัสดุและต้นทุนค่าลงทุน
ขอบเขตการวิจัย
การศึกษาต้นทุนต่อหน่วยบริการของสถาบันฯ ย้อนหลังเชิงพรรณนา ปีงบประมาณ 2544-2546
ขนาดกลุ่มตัวอย่าง
หน่วยต้นทุนของสถาบันฯ ระหว่างปีงบประมาณ 2544-2546
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
แบบฟอร์มบันทึกข้อมูลค่าแรง ค่าวัสดุ และค่าลงทุน และข้อมูลการจัดสรรต้นทุนสถาบันฯ
สรุปผลการศึกษา
ศึกษาหน่วยต้นทุน 3 กลุ่มคือ กลุ่มต้นทุนไม่ก่อรายได้ (NRPCC) กลุ่มต้นทุนก่อรายได้ (RPCC) และกลุ่มที่ให้บริการ (PS) ตามการกระจายต้นทุนแบบ “Simultaneous equation method” งานบำบัดและรักษา ต้นทุนผู้ป่วยนอกเฉลี่ย 502,535 และ 531 บาท/ครั้ง ได้แก่ คือ งานจิตวิทยาเท่ากับ 744, 984 และ 813, งานฟื้นฟูสมรรถภาพ 707, 619 และ 380, งานสังคมสงเคราะห์ 417, 429 และ 353, งาน พัฒนาเด็กเล็ก 340,300 และ 363, งานโรงพยาบาลกลางวัน 310, 325 และ 589 บาท/ครั้ง ต้นทุน บาท/ราย ได้แก่ งานสังคมสงเคราะห์ 1,093, 429 และ 359 งานสายด่วนสถาบันฯ (Hot-line) 658, 584 และ 618 , งานติดตามการรักษา 742,768 และ 316, งานคลายเครียด 19,371, 23,598 และ 15,108 และงานส่งเสริมสุขภาพจิตและป้องกันปัญหาสุขภาพจิต เท่ากับ 120, 455, 89,732 และ 98,732 และ 98,117 บาท/ครั้ง พฤติกรรมต้นทุน เป็นสัดส่วนต้นทุนค่าแรง: ค่าวัสดุ: ค่าลงทุน เท่ากับ 5.7: 4.6: 1.0, 7.7 : 5.5 : 1.0 และ 8.8: 5.5: 1.0 ตามลำดับ ต้นทุนรวมโดยต้นทุนทั้งหมด พบว่ากลุ่ม NRPCC และกลุ่ม PS มีต้นทุนค่าแรงสูงที่สุด ส่วนกลุ่มต้นทุน RPCC มีต้นทุนค่าวัสดุสูงที่สุด รายได้ 3 ปี ย้อนหลังมียอดสุทธิเพิ่มขึ้นร้อยละ 27.25, 30.95 และ 41.80 สงเคราะห์ผู้ที่ควรได้รับการสงเคราะห์ ร้อยละ 33.68, 23.32 และ 42.95 อัตราการคืนทุนสุทธิ (Net cost recovery) ของผู้มารับบริการงานผู้ป่วยนอกทั้งหมด เป็นต้นทุนทั้งหมด (Full Cost) ร้อยละ 21.76, 45.86 และ 32.46 และต้นทุนดำเนินการ (Operating cost) ร้อยละ 22.21, 49.41 และ 37.40 ตามลำดับ
ข้อเสนอแนะ
ควรพัฒนาระบบการจัดเก็บข้อมูลพัสดุ ระบบการเงิน การบัญชี และส่วนต่างๆ เพื่อประโยชน์ในการวิเคราะห์ต้นทุนและความคุ้มค่าในการใช้ทรัพยากร เพื่อนำผลมาประกอบการวางแผนการพัฒนาองค์กร คุณภาพบุคลากร คุณภาพบริการเชิงวิชาการให้เหมาะสมและมีประสิทธิภาพต่อไป.

Keywords: ต้นทุนต่อหน่วยบริการสุขภาพจิต, เศรษฐศาสตร์สาธารณสุข, บริการจิตเวช, ต้นทุนต่อหน่วย, unit cost

ปีที่เผยแพร่/Year: 2547

Address: ศูนย์ข้อมูลวิจัย สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ กรมสุขภาพจิต

Code: 20050000246

ISSN/ISBN: -

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ภาษาไทย

Category: Paper ที่ได้รับคัดเลือกนำเสนอในเวทีประชุมวิชาการกรมสุขภาพจิตนานาชาติประจำปี 2547 สุขภาพจิตกับยาเสพติด

Download: -