ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: น.พ.บุรินทร์ สุรอรุณสัมฤทธิ์

ชื่อเรื่อง/Title: ปัจจัยเสี่ยงของโรควิตกกังวล: การทบทวนวรรณกรรมทางระบาดวิทยา

แหล่งที่มา/Source: การประชุมวิชาการสุขภาพจิตนานาชาติ ครั้งที่ 13, 25-27 สิงหาคม 2547, ณ โรงแรมแอมบาสซาเดอร์ กรุงเทพฯ, หน้า 156-157

รายละเอียด / Details:

หลักการและเหตุผล ‹br>การศึกษาภาระโรคในประเทศไทยในปี 2542 พบว่า Anxiety Disorders ก่อให้เกิดการสูญเสียปีสุขภาวะก่อนวัยอันควร 2.0% และหลังจากการสำรวจความชุกของโรคจิตเวชระดับชาติปี 2546 พบว่า ประชากรไทย 1.9% เป็นโรควิตกกังวล 19.4% มีความเครียดระดับปานกลาง และ 4.1% มีความเครียดในระดับรุนแรง ความเจ็บป่วยดังกล่าวมีผลต่อการสูญเสียทางสังคม เศรษฐกิจ และทรัพยากรบุคคล ดังนั้นเพื่อเป็นการลดอัตราการเกิดโรคและความสูญเสียที่จะเกิดขึ้น กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข จึงได้มีการค้นหาความเสี่ยงที่มีความสัมพันธ์กับ Anxiety Disorders เพื่อนำมาคำนวณหาภาระทางโรค และหาแนวทางการป้องกัน
วัตถุประสงค์ เพื่อค้นหาปัจจัยเสี่ยงที่มีความสัมพันธ์กับ Anxiety Disorders
ผลการวิจัย
พบงานวิจัยทั้งหมด 1,270 เรื่อง ได้งานวิจัยที่ตรงตามข้อกำหนดทั้งหมด 8 เรื่อง พบปัจจัยเสี่ยงที่มีความสัมพันธ์กับ Anxiety Disorders คือการสูบบุหรี่ ในกลุ่มติดการสูบบุหรี่มีความสัมพันธ์ต่อการเกิด Anxiety Disorders มากกว่ากลุ่มไม่สูบบุหรี่ พบว่าเป็น Post Traumatic Stress Disorder: PTSD. 5.1 เท่า (95% CI=1.2-21.5) Obsessive Compulsive Disorder: OCD 4.2 เท่า (95% CI+0.6-29.1) Generalized Anxiety Disorders : GAD. 3.6 เท่า (95% CI=0.9-13.3) Agoraphobia 3.6 เท่า (95% CI=0.9-13.3) และ Panic Disorder: PD. 3.3 เท่า (95% CI= 1.0-10.5) ลูกที่มีทั้งพ่อและแม่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้า มีความสัมพันธ์ต่อการเกิด Anxiety Disorders มากกว่าลูกที่พ่อแม่ไม่ได้เป็นโรคซึมเศร้า พบว่าเป็น OCD. 6.9 เท่า (95% CI=2.7-17.8) PTSD. 6.1 เท่า (95% CI= 2.5-14.9) GAD. 3.7 เท่า (95% CI=2.5-14.9) GAD. 3.7 เท่า (95% CI=2.0-6.8) และ PD. 3.0 เท่า (95% CI=1.4-6.1) ด้านพฤติกรรม ญาติสายตรง : พ่อ แม่ ลูก (First degree relatives) ของผู้ป่วย GAD จะมีโอกาสป่วยเป็น GAD. มากกว่าญาติสายตรงของคนปกติ 6.1 เท่า (95% CI=2.5-14.9) และ OCD. 4.0 เท่า (95% CI=2.2-7.1) บุคคลในวัยเด็กถูกทารุณกรรมทางเพศที่มีการร่วมเพศมีความสัมพันธ์ต่อการเกิด SP. มากกว่ากลุ่มที่ไม่มีการร่วมเพศเป็น 3.0 เท่า (95% CI=1.92-4.37) บุคคลที่อยู่ในครอบครัวที่มีประวัติป่วยเป็น Psychosis และ Anxiety มีความสัมพันธ์ต่อการเกิด PTSD. มากกว่ากลุ่มที่ไม่มีประวัติเป็น .3.9 เท่า (95% CI=1.71-8.85) และ 3.5 เท่า (95% CI=2.18-5.75) ตามลำดับ บุคคลที่เคยป่วยเป็น PD. Major Depression และ OCD. มีความสัมพันธ์ต่อการเกิด PTSD. มากกว่าบุคคลที่ไม่เคยป่วยดังกล่าวเป็น 10.0 เท่า (95% CI=1.03-97.32) , 6.7 เท่า (95% CI=1.21-37.29) และ 3.2 เท่า (95% CI=1.30-7.74) ตามลำดับ ลูกที่มีพ่อแม่ที่เคยได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น Social phobia มีความสัมพันธ์ต่อการเกิด SP. มากกว่าลูกที่พ่อแม่ไม่เคยได้รับการวินิจฉัยดังกล่าวเป็น 4.7 เท่า (95% CI=1.6-13.5) บุคคลที่เคยถูกกระทำ/ทำร้ายอย่างรุนแรง 2 ครั้งหรือมากกว่านั้น มีความสัมพันธ์ต่อการเกิด PTSD.มากกว่าบุคคลที่ไม่ถูกกระทำดังกล่าวเป็น 10.2 เท่า (95% CI=5.53-18.89) และในวัยเด็กของหนุ่มสาวที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีลักษณะ Attention Deficit Hyperactivity Disorder : ADHD มีความสัมพันธ์ต่อการเกิด OCD. มากกว่าหนุ่มสาวที่ไม่ได้รับการวินิจฉัยดังกล่าวเป็น 5.0 เท่า (95% CI=1.77-14.31)
ข้อเสนอแนะ
การวางแผนงานด้านสุขภาพจิตควรดำเนินการโดยการพยายามลด หรือป้องกันการเกิดปัจจัยเสี่ยงดังกล่าวข้างต้น

Keywords: โรควิตกกังวล, ระบาดวิทยา, ความชุก, โรคทางจิตเวช, ปัจจัยเสี่ยง, การสูบบุหรี่, ปัจจัยเสี่ยงของโรควิตกกังวล, anxiety disorder

ปีที่เผยแพร่/Year: 2547

Address: กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข

Code: 20050000253

ISSN/ISBN: -

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ภาษาไทย

Category: Paper ที่ได้รับคัดเลือกนำเสนอในเวทีประชุมวิชาการกรมสุขภาพจิตนานาชาติประจำปี 2547 สุขภาพจิตกับยาเสพติด

Download: -