ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานต์

ชื่อเรื่อง/Title: การพัฒนาแบบประเมินความฉลาดทางอารมณ์สำหรับประชาชนไทยอายุ 12-60 ปี

แหล่งที่มา/Source: วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย, ปีที่ 47, ฉบับที่ 4, ตุลาคม-ธันวาคม 2545, หน้า 267-279

รายละเอียด / Details:

วัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาแบบประเมินความฉลาดทางอารมณ์ที่มีคุณภาพสำหรับประชาชนไทยใช้ประเมินตนเอง วิธีการศึกษา เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบ Cross-sectional study กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยประชาชนไทยอายุ 12-60 ปี จากเขตกรุงเทพมหานคร และจังหวัดทางภาคเหนือ ภาคใต้ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวนทั้งสิ้น 6,812 คน ตัวแปรอิสระที่ใช้ศึกษา คือ เพศ อายุ สถานภาพสมรส และตำแหน่งงาน ตัวแปรตามได้แก่คะแนนเฉลี่ยความฉลาดทางอารมณ์ภาพรวม และคะแนนเฉลี่ยความฉลาดทางอารมณ์ด้านย่อย 3 ด้านคือ ด้านดี เก่ง สุข สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ t-test และ ANOVA ผลการศึกษา พบว่าแบบประเมินความฉลาดทางอารมณ์ที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วยข้อคำถาม จำนวน 52 ข้อ จำแนกออกเป็นความฉลาดทางอารมณ์ 3 ด้าน คือ ดี เก่ง สุข และมีค่าอำนาจจำแนกสามารถแยกผู้ที่มีความฉลาดทางอารมณ์ต่ำออกจากผู้ที่มีความฉลาดทางอารมณ์สูงได้ ทั้งข้อทดสอบรายด้านคือ ดี เก่ง สุข และคะแนนเฉลี่ยความฉลาดทางอารมณ์ภาพรวม แบบประเมินนี้มีค่าความเที่ยงแบบ Alpha ในด้านดี เก่ง สุข และภาพรวม คือ .75, .76, .81 และ .85 ตามลำดับและค่าความเที่ยงแบบแบ่งครึ่งในด้านดี เก่ง สุข และภาพรวม คือ .83, .86, .71 และ .84 ตามลำดับ ในตัวแปรเพศพบว่าชายและหญิงไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติของคะแนนเฉลี่ยภาพรวมและรายด้านทั้ง 3 ด้าน ในตัวแปรระดับอายุพบว่าช่วงอายุที่ต่ำมีคะแนนเฉลี่ยความฉลาดทางอารมณ์ภาพรวมและคะแนนเฉลี่ยรายด้านทั้ง 3 ด้านต่ำกว่ากลุ่มที่มี ช่วงอายุที่สูงขึ้นไปอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในตัวแปรสถานภาพสมรสพบว่ากลุ่มตัวอย่างที่มีสถานภาพสมรส โสด หม้าย หย่าหรือแยกกันอยู่ ส่วนตัวแปรตำแหน่งพบว่าผู้มีตำแหน่งบริหารมีคะแนนเฉลี่ยความฉลาดทางอารมณ์ภาพรวม และคะแนนเฉลี่ยในด้านเก่งและด้านสุขสูงกว่าระดับผู้ปฏิบัติงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ รวมทั้งทำการสร้างเกณฑ์ปกติขึ้น สรุป แบบประเมินความฉลาดทางอารมณ์ที่ได้พัฒนาขึ้นในครั้งนี้ สามารถใช้ประเมินตนเองได้ในเวลาไม่นานนัก คือ ประมาณ 15-20 นาที จำนวนข้อคำถามไม่มากเกินไปจนทำให้ผู้ตอบ เกิดความเบื่อหน่ายข้อความเข้าใจได้ง่าย มีคำแนะนำในการคิดคะแนน และแปลผลการประเมินที่ชัดเจน เป็นแบบประเมินที่มีความเชื่อถือได้และมีความแม่นตรงสูงพอสมควร

Keywords: แบบประเมินความฉลาดทางอารมณ์, อายุ 12-60 ปี, อารมณ์, อีคิว, ความฉลาดทางอารมณ์, แบบประเมิน, แบบทดสอบ, จิตวิทยา

ปีที่เผยแพร่/Year: 2545

Address: กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข

Code: 20050000266

ISSN/ISBN: 0125-6985

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ภาษาไทย

Category: บทคัดย่อ: วารสารวิชาการ

Download: Download รายงานวิจัย คลิกได้ที่นี่ค่ะ PDF Format 2.89MB