ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: ปานแก้ว รัตนศิลป์กัลชาญ, สุระ สิทธิศิริสาร, เกรียงศักดิ์ เวทีวุฒาจารย์

ชื่อเรื่อง/Title: ความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติตนของประชาชนในการป้องกันควบคุมโรคไข้หวัดนก

แหล่งที่มา/Source: การสัมมนาระบาดวิทยาแห่งชาติครั้งที่ 18, (เครือข่ายระบาดวิทยาทั่วไทยเฝ้าระวังภัยทั่วประเทศ) พฤษภาคม 25-27, 2548 ณ. Miracle Grand Hotel, Bangkok, Thailand, หน้า 130-131.

รายละเอียด / Details:

หลักการและเหตุผล ไข้หวัดนกเป็นโรคระบาดซึ่งส่วนใหญ่พบในไก่ที่มีการเลี้ยงตามบ้านเรือน และที่สำคัญทางระบาดวิทยาในสัตว์ปีกคือ สัตว์ปีกที่มีเชื้อบางส่วนไม่มีอาการของโรค การสุ่มตัวอย่างตรวจหาเชื้อ H5N1 ในสัตว์ปีกชนิดต่างๆ พบเชื้อ H5N1ในสัตว์ปีกเพิ่มขึ้นอีกหลายชนิด ดังนั้นเพื่อให้มตรการป้องกันกันควบคุมโรคไข้หวัดนกประสพผลสำเร็จ ทั้งในด้านการป้องกันการติดโรคมาสู่คนและขยายความรุนแรงอย่างต่อเนื่อง จึงจำเป็นต้องประเมินผลกิจกรรมด้านการป้องกันและควบคุมโรคในระดับชุมชน วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาในด้านความรู้ ทัศนคติ การปฏิบัติตัวในการป้องกันโรคไข้หวัดนก การรับรู้สื่อต่างๆ และการเลี้ยงสัตว์ปีกของประชาชน วิธีการศึกษา เป็นการประเมินผล (Evaluation Research) โดยสำรวจเปรียบเทียบ 2 กลุ่มตัวอย่าง (Cross-sectional analytical study) ได้แก่ กลุ่มหมู่บ้านที่มีรายงานการพบเชื้อ H5N1 ในสัตว์ปีก และกลุ่มไม่มีรายงานพบเชื้อ H5N1 ในสัตว์ปีก ในพื้นที่รับผิดชอบ 7 จังหวัดของ สคร. ที่ 6 ขอนแก่น ทำการศึกษาโดยใช้แบบสัมภาษณ์ และแบบสังเกต ซึ่งดำเนินการวิจัยในเดือนตุลาคม 2547-มีนาคม 2548 ผลการศึกษาพบว่า เมื่อทำการสำรวจระหว่างพื้นที่ที่พบเชื้อ H5N1กับพื้นที่ที่มไพบเชื้อ H5N1พบว่าทั้งสองกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ อาศัยอยู่นอกเขตเทศบาล และมีอายุระหว่าง 14-80 ปี ส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับประถมศึกษา อาชีพหลักทำนา ทำสวน ทำไร่ พื้นที่ที่มีประวัติพบเชื้อ H5N1 ในสัตว์ปีกมีจะพบว่าก่อนมีการระบาดของโรคไข้หวัดนกจะมีการเลี้ยงสัตว์ปีกมากกว่าพื้นที่ที่ไม่พบเชื้อ H5N1 (ร้อยละ 82.5 แบะ 75.5 ตามลำดับ) ความรู้ของประชาชนเรื่องไข้หวัดนกในกลุ่มพื้นที่ที่มีประวัติพบเชื้อ H5N1 และพื้นที่ที่ไม่มีประวัติพบเชื้อH5N1ไม่แตกต่างกัน (ร้อยละ 71.3 และ 71.72 ตามลำดับ) ทัศนคติของประชาชนต่อโรคไข้หวัดนกเชิงบวกทั้งสองกลุ่ม (ร้อยละ 78.95 แล 73.42 ตามลำดับ) ประชากรมีพฤติกรรมการปฏิบัติตนในการป้องกันโรคไข้หวัดนกอย่างถูกต้องใกล้เคียงกันทั้งสองกลุ่ม (ร้อยละ 58.75 และ 57.37 ตามลำดับ) การได้รับข่าวสารไข้หวัดนกพบว่ากลุ่มตัวอย่างเกือบทั้งหมด (ร้อยละ 91.65) เคยได้รับข่าวสารไข้หวัดนก โดยได้รับจากโทรทัศน์มากที่สุดร้อยละ 98.2 และรองลงมาคือ รับข้อมูลจากผู้ใหญ่บ้าน/กำนัน ร้อยละ 93.7 จากโทรทัศน์ทำให้เข้าใจเรื่องไข้หวัดนกมากที่สุด (ร้อยละ 79.95) และกลุ่มตัวอย่างในปัจจุบันของพื้นที่พบเชื้อร้อยละ 67.3 และไม่พบเชื้อร้อยละ 78.1 ยังคงเลี้ยงไก่พื้นเมืองโดยให้หากินรอบๆ บ้านไม่ได้ขังไว้ ร้อยละ 52.9 สร้างกรง/เล้าไว้นอกบ้านเป้นที่นอน มีแสงแดดส่งถึงเล้าไก่ร้อยละ 88 และร้อยละ 89 มีอากาศถ่ายเทรอบๆ เล้าไก่ สรุป พฤติกรรม ทัศนคติ และความรู้เรื่องไข้หวัดนกของทั้งสองกลุ่มตัวอย่างไม่มีความแตกต่างกัน แต่มีความแตกต่างกันในกลุ่มพื้นที่ที่พบเชื้อ H5N1 ในสัตว์ปีกจะมีการเลี้ยงสัตว์ปีกมากกว่ากลุ่มพื้นที่ที่ไม่พบเชื้อ H5N1 โรคไข้หวัดนกเป็นโรคใหม่สำหรับประชาชนและเป็นโรคอุบัติใหม่ อีกทั้งเป็นการระบาดจากสัตว์ปีกสู่คน ที่วิถีชีวิตใกล้ชิดกัน จึงจำเป็นต้องเพิ่มมาตรการการป้องกันตนเองในประชาชน ควรเน้นทัศนคติ และการปฏิบัติตนของประชาชนซึ่งยังคุ้นเคยกับวิถีชีวิตดังเดิมให้มีการป้องกันโรคไข้หวัดนกที่ถูกต้อง ผ่านสื่อโทรทัศน์และกำนัน/ผู้ใหญ่บ้าน

Keywords: ความรู้, ทัศนคติ, พฤติกรรม, ไข้หวัดนก, การป้องกัน, ส่งเสริมสุขภาพจิต, ระบาดวิทยา, จิตวิทยา, ทัศนคติประชาชน

ปีที่เผยแพร่/Year: 2548

Address: สำนักงานป้องกันควบคุมโรค ที่ 6 จังหวัดขอนแก่น

Code: 2005000027

ISSN/ISBN: -

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ภาษาไทย

Category: บทคัดย่อ

Download: -