ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: ยุคล กาญจนรักษ์, บุษริน เพ็งบุญ, สุรวุฒิ เย็นจิตต์

ชื่อเรื่อง/Title: นวดแผนโบราณสานสายใยครอบครัว

แหล่งที่มา/Source: การประชุมวิชาการสุขภาพจิตนานาชาติ, ครั้งที่ 4, เรื่องสุขภาพจิตกับภัยพิบัติ, วันที่ 6-8 กรกฎาคม 2548 ณ โรงแรมปรินซ์พาเลซ, กรุงเทพมหานคร, หน้า 45.

รายละเอียด / Details:

หลักการและเหตุผล ปัจจุบันสังคมมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทำให้คนไทยมีวิถีชีวิตที่เร่งรัดและแข่งขัน พ่อแม่มีภาระในการหาเลี้ยงครอบครัว ไม่มีเวลาให้สมาชิกในครอบครัว ขาดการสื่อสารที่ดี มุ่งเน้นให้แต่วัตถุมากกว่าให้ความสำคัญทางจิตใจ ทำให้ครอบครัวขาดสัมพันธภาพที่อบอุ่น จึงก่อให้เกิดปัญหากับเยาวชน เพราะความอบอุ่นเป็นความต้องการพื้นฐานทางจิตใจที่มนุษย์ทุกคนต้องการ สัมพันธภาพที่อบอุ่นในครอบครัว ทำให้เด็กรู้สึกว่าตัวเองมีคุณค่า มีแรงจูงใจใฝ่หาความสำเร็จ ในผู้ใหญ่ทำให้เกิดกำลังใจที่จะต่อสู่เพื่อครอบครัว และผู้สูงอายุ สัมพันธภาพในครอบครัวทำให้รู้สึกสดชื่น มีขวัญและกำลังใจ วัตถุประสงค์ เพื่อให้นักเรียนมาทักษะการนวดแผนไทย นำไปนวดให้บุคคลในครอบครัว และมีการสื่อสารที่ดี เพื่อสร้างสัมพันธภาพที่อบอุ่นในครอบครัว และเป็นการอนุรักษ์ภูมิปัญญาไทย วิธีดำเนินการ 1. จัดอบรมการนวด(แบบราชสำนัก) ในสถานศึกษา 4 แห่ง นักเรียนจำนวน 82 คน ที่สมัครใจเข้าร่วมโครงการ โดยทำการสอนนวด ครั้งละ 2 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ เป็นเวลา 10 สัปดาห์ 2. ให้ความรู้เรื่องการสื่อสารในครอบครัวควบคู่ไประหว่างที่นักเรียนฝึกอบรมการนวด 3. เมื่อเรียนครบ 10 สัปดาห์แล้วให้นักเรียนฝึกนวดให้บุคคลในครอบครัวและชุมชน อย่างน้อยคนละ 5 ครั้ง พร้อมบันทึกแบบประเมินการนวด 4. ประเมินผล โดยใช้การสังเกตขณะอบรม แบบบันทึกการนวด ความคิดเห็นของครูและผู้ปกครอง ผลการดำเนินงาน พบว่านักเรียนสามารถนวดเพื่อสุขภาพให้ผู้ปกครอง ครู คนในชุมชนได้ โดยขณะนวดนักเรียนมีการพูดคุยกับผู้ปกครองมากขึ้น และนักเรียนยังได้รับคำชมหรือรางวัลจากการนวด ทำให้รู้สึกมีความสุขและมีความภูมิใจ ขณะที่ผู้ปกครองก็รู้สึกดีใจที่ลูกหลานนวดให้และได้พูดคุยกันมากขึ้น บางครอบครัวสามารถลดปริมาณการใช้ยาแก้ปวดลงได้ ครูบางท่านจะให้นักเรียนนวดตอนพักกลางวันหรือหลังเลิกเรียน โดยครูให้ค่าตอบแทนและครูมีโอกาสพูดคุยให้คำปรึกษานักเรียนไปด้วยทำนักเรียนมีรายได้และมีสัมพันธภาพที่ดีกับครู ข้อเสนอแนะ สถานศึกษาควรขยายกลุ่มเป้าหมายให้มากขึ้น เพราะเป็นกิจกรรมที่ใช้ทรัพยากรน้อย สามารถสอดแทรกในแผนการสอนปกติได้ วิทยากรมีอยู่ในท้องถิ่น ได้ประโยชน์มากทั้งนักเรียนครู-อาจารย์ ผู้ปกครอง และชุมชน สามารถสร้างเสริมสุขภาพจิตครอบครัว เพื่อเป็นการป้องกันปัญหาในกลุ่มเยาวชน

Keywords: ครอบครัว, นวดแผนโบราณ, ครอบครัว, สุขภาพจิต, สัมพันธภาพ, ผู้ศุงอายุ, เด็ก, ทักษะ, การสื่อสาร, ภูมิปัญญาไทย

ปีที่เผยแพร่/Year: 2548

Address: กลุ่มงานจิตเวช โรงพยาบาลอินทร์บุรี

Code: 2005000048

ISSN/ISBN: -

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ไทย

Category: Paper ได้รับคัดเลือกนำเสนอในที่ประชุมวิชาการกรมสุขภาพจิต

Download: -