ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: อรพรรณ ลือบุญธวัชชัย, พิชญาภรณ์ มูลศิลป์, ชนกพร จิตปัญญา, จิราพร เกศพิชญวัฒนา, เพ็ญนภา แดงด้อมยุทธ์, นรลักษณ์ เอื้อกิจ, รัชนีกร เกิดโชค, อัญชลี ศรีสุพรรณ

ชื่อเรื่อง/Title: พัฒนารูปแบบการส่งเสริมสุขภาพจิตและการปรับตัวของผู้ป่วยเรื้อรังและครอบครัวในชุมชนเมือง กรุงเทพมหานคร

แหล่งที่มา/Source: วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต, ปีที่ 19, ฉบับที่ 1, มกราคม-มิถุนายน 2548, หน้า 72.

รายละเอียด / Details:

งานวิจัยเรื่องพัฒนารูปแบบการส่งเสริมสุขภาพจิตและการปรับตัวของผู้ป่วยเรื้อรังและครอบครัวในชุมชนเมือง กรุงเทพมหานครนี้ เป็นงานวิจัยกึ่งทดลอง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัยหาและการปรับตัว และพัฒนารูปแบบการส่งเสริมสุขภาพจิตและการปรับตัวของผู้ป่วยเรื้อรังและครอบครัวในโรงพยาบาลและในชุมชนกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้มี 2 กลุ่ม กลุ่มแรกเป็นกลุ่มที่ศึกษาสภาพปัญหาและการปรับตัวได้แก่ ผู้ป่วยเรื้อรังและครอบครัว 9 โรค จำนวน 180 ราย ได้แก่ โรคหัวใจ โรความดันโลหิตสูง โรคมะเร็ง โรคหลอดเลือดสมอง โรคทางจิตเวช โรคเอดส์ โรคกระดูกและข้อ โรคเบาหวาน และผู้พิการ กลุ่มตัวอย่างที่เป็นกลุ่มทดลอง ได้แก่ ผู้ป่วยเรื้อรังและครอบครัว 8 โรค ได้แก่ ผู้ป่วยและครอบครัวที่เป็นผู้ดูแลหลักของผู้ป่วยโรคหัวใจ โรความดันโลหิตสูง โรคมะเร็ง โรคหลอดเลือดสมอง โรคทางจิตเวช โรคเอดส์ โรคกระดูกและข้อ และโรคเบาหวาน จำนวน 160 ราย สุ่มเข้าสู่กลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 80 รายเท่าๆ กัน เครื่องมือในการวิจัย ประกอบด้วย เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบวัดการปรับตัวด้านจิตสังคมของผู้ป่วยเรื้อรังและครอบครัวที่คณะผู้วิจัยพัฒนาจากแบบวัด การปรับตัวด้านจิตสังคม ได้หาความตรงเชิงเนื้อหา โดยผ่านผู้ทรงคุณวุฒิดังรายนามในภาคผนวก และหาค่าความเที่ยงของแบบวัด ได้ค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.95 และได้พัฒนารูปแบบการส่งเสริมสุขภาพจิตของผู้ป่วยเรื้อรังและครอบครัว ซึ่งคณะผู้วิจัยสร้างขึ้น ประกอบด้วยกิจกรรมการให้ความรู้เรื่องโรคและการปรับตัว ต่อปัญหา ด้านจิตสังคม โดยใช้กระบวนการสอนและการปรึกษาแบบกลุ่มและการเสริมสร้างพลังอำนาจ จากนั้นได้ทบทวนความตรงเชิงเนื้อหาโดยผ่านผู้ทรงคุณวุฒิ ปรับแก้และทดลองใช้กับกลุ่มทดลอง ผลการศึกษา พบว่า 1. สภาพปัญหาของผู้ป่วยเรื้อรังพบว่า ปัญหาที่สำคัญและมีความต้องการ การช่วยเหลือเป็นลำดับแรกคือ ปัญหาการปรับตัวทางด้านจิตใจ รองลงมาก้คือปัญหาการปรับตัวด้านอาชีพการงาน ด้านเพศ ด้านกิจกรรมทางสังคม ด้านสัมพันธภาพทางสังคม ด้านสุขภาพ และด้านสัมพันธภาพในครอบครัว ตามลำดับ 2. สภาพปัญหาของครอบครัวผู้ป่วยเรื้อรัง ก็คือ ปัญหาการปรับตัวด้านจิตใจ ด้านอาชีพการงาน ด้านกิจกรรมทางสังคม ด้านเพศสัมพันธ์ ด้านสัมพันธภาพทางสังคม ด้านสุขภาพ และด้านสัมพันธภาพในครอบครัว ตามลำดับ 3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการส่งเสริมสุขภาพจิตของผู้ป่วยเรื้อรังและครอบครัว ภายหลังการทดลองใช้รูปแบบการส่งเสริมสุขภาพจิต ของผู้ป่วยเรื้อรังและครอบครัว พบว่ากลุ่มตัวอย่างที่เข้ากลุ่มทดลองมีความสามารถในการปรับตัวสูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 และกลุ่มตัวอย่างที่เข้ากลุ่มทดลองมีความสามารถในการปรับตัวสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05

Keywords: รูปแบบการส่งเสริมสุขภาพจิต, การปรับตัว, ผู้ป่วยเรื้อรัง, ครอบครัว, ชุมชนเมือง, สุขภาพจิต, โรคทางจิตเวช, จิตสังคม

ปีที่เผยแพร่/Year: 2548

Address: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา

Code: 20050000520

ISSN/ISBN: 0857-4553

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ภาษาไทย

Category: บทคัดย่อ วารสารวิชาการ

Download: