ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: สาโรจน์ ใจมุข, อังคาร สอนถา

ชื่อเรื่อง/Title: สุขภาพจิตผสมผสานงานเอดส์เน้นคุณภาพชีวิตและชุมชน

แหล่งที่มา/Source: การประชุมวิชาการสุขภาพจิตนานาชาติ, ครั้งที่ 4, เรื่องสุขภาพจิตกับภัยพิบัติ, วันที่ 6-8 กรกฎาคม 2548 ณ โรงแรมปรินซ์พาเลซ, กรุงเทพมหานคร, หน้า 58-60.

รายละเอียด / Details:

หลักการและเหตุผล โรคเอดส์เป็นโรคที่ร้ายแรง ปัจจุบันยังไม่มียารักษาให้หายขาดได้ก่อให้เกิดความสูญเสียทั้งในด้านเศรษฐกิจและสังคม ผู้ป่วยเอดส์ส่วนใหญ่มีปัญหาโรคซึมเศร้า และปัญหาการฆ่าตัวตายตามมาซึ่งเป็นปัญหาสุขภาพจิต มีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย ครอบครัว และชุมชนอย่างมาก โรงพยาบาลทองแสนขันตระหนักถึงโรคดังกล่าวเพราะมองเห็นว่า ปัญหาสุขภาพจิตสามารถช่วยเหลือและแก้ไขได้ จึงดำเนินการนำงานสุขภาพจิตเข้ามาช่วยผู้ป่วยโรคเอดส์เพื่อให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โรคเอดส์เป็นโรคที่ร้ายแรง ปัจจุบันยังไม่มียารักษาให้หายขาดได้ ทำให้ผู้ป่วยเอดส์ส่วนใหญ่มีปัญหาโรคซึมเศร้าและเกิดปัญหาการฆ่าตัวตายซึ่งเป็นปัญหาด้านสุขภาพจิตที่ต้องการได้รับการแก้ไขบำบัดเพราะมีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและครอบครัวอย่างมากก่อให้เกิดความสูญเสียทั้งในด้านเศรษฐกิจและสังคมเนื่องจากผู้ป่วยโรคเอดส์มักจะเป็นผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงต่อการเป็นโรคซึมเศร้าและการฆ่าตัวตายหากได้รับการตรวจวินิจฉัยที่ถูกต้องรวดเร็วครบถ้วนจากบุคลากรสาธารณสุขตั้งแต่ระยะเริ่มต้นจะช่วยป้องกันและรักษาให้หายได้โรงพยาบาลทองแสนขันได้ตระหนักถึงความสำคัญของโรคดังกล่าว จากผลการดำเนินโครงการดูแลสุขภาพจิตผู้ป่วยเอดส์ ปี 2546 มีจำนวนผู้ป่วยเอดส์และผู้ติดเชื้อเอดส์ที่มารับบริการรักษาในโรงพยาบาลทองแสนขันจำนวน 50 คน พบว่ามีผู้ป่วยที่มีภาวะซึมเศร้า 50 คน คิดเป็นร้อยละ 100 และผู้ป่วยที่มีภาวะซึมเศร้ามีภาวะเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายจำนวน 50 คน คิดเป็นร้อยละ 100 และผู้มีภาวะเสี่ยงฆ่าตัวตายสำเร็จ 1 คน คิดเป็นร้อยละ 2 ซึ่งจากข้อมูลดังกล่าว โรงพยาบาลทองแสนขันได้ตระหนักถึงปัญหาและจัดทำระบบพัฒนางานป้องกันการฆ่าตัวตายในผู้ป่วยเอดส์ไม่ให้ปัญหานี้เพิ่มขึ้น วัตถุประสงค์ 1. เพื่อลดภาวะเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายในผู้ป่วยเอดส์และผู้ติดเชื้อเอดส์ 2. เพื่อแก้ไขปัญหาโรคซึมเศร้าในผู้ป่วยเอดส์และผู้ติดเชื้อเอดส์ 3. เพื่อให้ผู้ป่วยเอดส์และผู้ติดเชื้อเอดส์ยอมรับสภาพการเจ็บป่วย 4. เพื่อให้ผู้ป่วยเอดส์และผู้ติดเชื้อเอดส์มีสุขภาพจิตดีขึ้น 5. เกิดรูปแบบการดูแลผู้ป่วยเอดส์และผู้ติดเชื้อเอดส์ในด้านสุขภาพจิต 6. เพื่อให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาสุขภาพจิต กลุ่มเป้าหมาย ผู้ป่วยเอดส์และผู้ติดเชื้อเอดส์ที่ได้รับการรักษาในโรงพยาบาลทองแสนขันปี 2547 จำนวน 50 คน วิธีการดำเนินงาน 1. ด้านเจ้าหน้าที่ - เพิ่มความรู้และทักษะของเจ้าหน้าที่โดยส่งเจ้าหน้าที่รับการอบรมด้านสุขภาพจิตภายในจังหวัดและนอกจังหวัดและพัฒนาความรู้ตลอดเวลาเช่นการให้คำปรึกษาการฆ่าตัวตายการคัดกรองผู้มีภาวะซึมเศร้าและเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย - เน้นนโยบายงานสุขภาพจิตกับการปฏิบัติงานให้มีการทำงานร่วมกัน - สร้างแรงจูงใจให้เจ้าหน้าที่เกิดความตระหนักในการปฏิบัติงานด้านสุขภาพจิตร่วมกับโรคเอดส์ 2. ด้านผู้ป่วย - จัดตั้งชมรมฟ้าใหม่(ผู้ป่วยเอดส์) มีการประชุมกันอย่างน้อยเดือนละ 2 ครั้ง โดยใช้เครื่องมือสำรวจความเครียดการประเมินภาวะเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายทุกราย ทุกเดือนพร้อมประเมินและแก้ไข - จัดอบรมให้ความรู้ด้านสุขภาพจิตแก่ผู้ป่วยและครอบครัวเช่น อบรมโครงการสมาธิบำบัด โปรแกรมจิตบำบัด การให้คำปรึกษาฯลฯ - สร้างเครือข่ายการนำกลุ่มผู้ติดเชื้อด้วยกัน - โครงการเพื่อนช่วยเพื่อน (SELF HELP GROUP) - โครงการส่งเสริมและฟื้นฟูสุขภาพกาย จิตสังคมผู้ป่วยเอดส์และครอบครัว(สนับสนุนจากงบ สสส 104,500 บาท) - โครงการดูแลผู้ป่วยและครอบครัวที่ติดเชื้อเอดส์ในชุมชน (สนับสนุนจากงบ มอท 266,400 บาท) - โครงการสร้างเสริมอาชีพให้ผู้ติดเชื้อ ผู้ป่วยเอดส์เช่น การจักรสานผักตบชวาจัดดอกไม้ประดิษฐ์ ตุ๊กตาการบูร พิมเสนน้ำ ฯลฯ เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยมีรายได้ลดปัญหาการว่างงาน ส่งเสริมสุขภาพจิต - โครงการเยี่ยมบ้านเยี่ยมใจ - โครงการให้ความรู้เรื่องโรคเอดส์กับสุขภาพจิตแก่ชุมชนโดยผู้ป่วยเอดส์มีส่วนร่วมในชุมชน 3. ด้านชุมชน ในชุมชน - ทำประชาพิจารณ์ในแต่ละตำบลในหัวข้อโรคเอดส์กับการอยู่ร่วมกันในชุมชน - สร้างเครือข่ายการดำเนินงาน เช่นแกนนำที่ผ่านการอบรมในโครงการสร้างเสริมสุขภาพกายจิตสังคม ในการแก้ไขปัญหาโรคเอดส์และการอยู่ร่วมกัน - อบรมเครือข่ายให้ความรู้ทักษะด้านโรคเอดส์กับสุขภาพจิตแก่ผู้นำชุมชน เยาวชนนอกโรงเรียน แม่ บ้าน ครู อบต ผู้ดูแลเด็ก พระภิกษุ ในโรงเรียน - อบรมครู นักเรียนในแต่ละโรงเรียนเพื่อแก้ไขปัญหาโรคเอดส์และสุขภาพจิตการอยู่ร่วมกันในสังคม - สนับสนุนการจัดตั้ง Friend Comer to be number 1 - สร้างเตรือข่ายแกนนำในโรงเรียนเพื่อแก้ไขปัญหาโรคเอดส์ ผลการดำเนินงาน - หลังจากดำเนินการปี 2547 ประเมินผลจากแบบสอบถามและแบบประเมินความเครียด การฆ่าตัวตาย พบว่าผู้ป่วยเอดส์จำนวน 50 คน มีภาวะเครียดลดลงเหลือร้อยละ 20 ภาวะโรคซึมเศร้า 50 คน มีภาวะซึมเศร้าลดลงเหลือร้อยละ 2 ภาวะฆ่าตัวตาย 50 คน มีภาวะเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายลดลงเหลือ ร้อยละ 2 และภาวะฆ่าตัวตายสำเร็จร้อยละ 0 - ผู้ป่วยเอดส์มีสุขภาพจิตดีขึ้น สุขภาพกายดีขึ้นทุกคนยอมรับสภาพโรคเอดส์ที่เป็นอยู่ได้ สามารถดำรงชีวิตและมีส่วนร่วมในชุมชน เกิดกลุ่มผู้ติดเชื้อที่เข้มแข็งในระดับอำเภอทองแสนขันและระดับอุตรดิตถ์ - เกิดรูปแบบการดูแลผู้ป่วยเอดส์และการแก้ไขปัญหาสุขภาพจิตได้ตามวัตถุประสงค์ สรุป จากการดำเนินงานจะเห็นได้ว่างานสุขภาพจิตในผู้ป่วนเอดส์เป็นงานที่ละเอียดและต้องใช้ความร่วมมือของทุกฝ่ายเพื่อเกิดความตระหนักและเกิดความร่วมมือทุกด้านจึงประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์และปัญหามิได้จบสิ้นไปทุกคนต้องเฝ้าระวังพัฒนางานให้เกิดความก้าวหน้าและป้องกันปัญหาตลอดไป และมีระบบติดตามที่มีประสิทธิภาพ รวมถึงการมีส่วนร่วมของชุมชนมากขึ้นเพื่อป้องกันแก้ไขปัญหาอย่างถาวรต่อไป

Keywords: สุขภาพจิต, เอดส์, โรคซึมเศร้า, ฆ่าตัวตาย, ครอบครัว, ชุมชน

ปีที่เผยแพร่/Year: 2548

Address: กลุ่มงานสุขภาพจิตยาเสพติดเอดส์โรงพยาบาลทองแสนขัน จ.อุตรดิตถ์

Code: 2005000057

ISSN/ISBN: -

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ไทย

Category: Paper ที่ได้รับคัดเลือกในการประชุมวิชาการกรมสุขภาพจิตประจำปี 2548

Download: