ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: เกษราภรณ์ เคนบุปผา

ชื่อเรื่อง/Title: การป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ ปี พ.ศ 2546–2547

แหล่งที่มา/Source: การประชุมวิชาการสุขภาพจิตนานาชาติ, ครั้งที่ 4, เรื่องสุขภาพจิตกับภัยพิบัติ, วันที่ 6-8 กรกฎาคม 2548 ณ โรงแรมปรินซ์พาเลซ, กรุงเทพมหานคร, หน้า 65-66.

รายละเอียด / Details:

หลักการและเหตุผล การติดเชื้อในโรงพยาบาลเป็นภาวะแทรกซ้อนซึ่งก่อให้เกิดความสูญเสียต่อทั้งผู้ป่วยและโรงพยาบาล จึงเป็นปัญหาที่ควรได้รับการป้องกันและแก้ไข ถึงแม้ว่าการติดเชื้อในโรงพยาบาลจิตเวชจะเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นไม่บ่อยครั้งนัก เมื่อเทียบกับโรงพยาบาลที่รักษาผู้ป่วยโรคทางกาย แต่ถ้าเกิดขึ้นก็นับเป็นความสูญเสียทางการแพทย์ เศรษฐกิจสังคมของผู้ป่วยและประเทศชาติ ตามเกณฑ์มาตรฐานของสถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล กำหนดให้แต่ละโรงพยาบาลต้องมีประกันคุณภาพด้านการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล ดังนั้น จึงมีความจำเป็นต้องพัฒนาระบบการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาลจิตเวชขึ้น วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระบบปัญหาและอุปสรรค รวมทั้งเสนอแนะการพัฒนาระบบป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ ขอบเขตการศึกษา เป็นการศึกษาเฉพาะการดำเนินงานการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ ระหว่าง 1 มีนาคม 2546 – 30 กันยายน 2547 ระเบียบวิธีวิจัย เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อวิเคราะห์ระบบการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์โดยเปรียบเทียบกับเกณฑ์การประเมินคุณภาพบริการพยาบาล กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยจิตเวชที่รับไว้รักษาและเกิดการติดเชื้อในโรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ ระหว่างวันที่ 1 มีนาคม 2546 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2547 และ บุคลากรของโรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ที่อยู่ในช่วงเวลาดังกล่าว เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบเฝ้าระวังการติดเชื้อ แบบประเมินตนเอง รายงานผลการตรวจเยี่ยมและแบบประเมินคุณภาพบริการพยาบาลด้านการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยความถี่ และร้อยละ สรุปผลการวิจัย โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์เริ่มมีระบบการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาลเมื่อปี 2546 โดยใช้ระบบเฝ้าระวังแบบ Hospital – Wide Surveillance พบว่าโรคติดเชื้อที่เป็นปัญหาสำคัญคือ โรคอุจจาระร่วงและโรคตาแดง โดยหอผู้ป่วยที่ควรมีการเฝ้าระวังเป็นพิเศษ คือ หอผู้ป่วยจิตเวชชาย 3 และจิตเวชหญิง 2 และมีการพัฒนางานอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน ด้วยวิธีการสื่อสารและดำเนินงานแบบเชิงรุกแต่ยังพบปัญหาในด้านการเชื่อมโยงระบบเข้าสู่งานประจำ ผลการเปรียบเทียบกับเกณฑ์การประเมินคุณภาพบริการพยาบาลด้านการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาลภาพรวม พบว่า มีคะแนนร้อยละ 72.22 เมื่อแบ่งเป็น 4 ด้าน ได้แก่ การจัดองค์กรและการบริหารงาน ร้อยละ 100 ทีมพยาบาลควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาลร้อยละ 66.67 การดำเนินงานป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล ร้อยละ 70 การประกันคุณภาพและการปรับปรุงคุณภาพอย่างต่อเนื่อง ร้อยละ 75 ข้อเสนอแนะ การดำเนินงานไปสู่การประกันคุณภาพด้านการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาลแบ่งเป็น 4 ขั้นตอนสำคัญ คือ การเตรียมการ การพัฒนา การดำเนินการขยายผล และการทำให้เชื่อมโยงฝังตัวเข้ากับระบบปกติ

Keywords: การติดเชื้อ, การพัฒนาระบบ, คุณภาพ, การป้องกัน, โรงพยาบาลจิตเวช, คุณภาพบริการจิตเวช, ระบบคุณภาพ, จิตเวช, บริการจิตเวช

ปีที่เผยแพร่/Year: 2548

Address: โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ กรมสุขภาพจิต

Code: 2005000060

ISSN/ISBN: -

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ไทย

Category: Paper ที่ได้รับคัดเลือกในการประชุมวิชาการกรมสุขภาพจิตประจำปี 2548

Download: