ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: ศิริไชย หงส์สงวนศรี, ชัชวาล ศิลปะกิจ, สุวรรณา เรืองกาญจนเศรษฐ์

ชื่อเรื่อง/Title: การพัฒนาแบบสอบถาม problem video game playing (PVP) ฉบับภาษาไทย

แหล่งที่มา/Source: การประชุมวิชาการประจำปี ราชวิทยาลัยจิตแพทย์แห่งประเทศไทย, หน้า 27.

รายละเอียด / Details:

วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนาแบบสอบถามที่เหมาะสมสำหรับใช้ประเมินปัญหาการติดเกมวีดีโอและเกมคอมพิวเตอร์สำหรับวัยรุ่นซึ่งมีความเชื่อถือได้และความแม่นยำ วิธีการศึกษา: ทีมผู้วิจัยได้แปลแบบสอบถาม problem video game playing (PVP) เป็นภาษาไทย แบบสอบถามนี้ประกอบด้วยคำถามซึ่งดัดแปลงจากเกณฑ์วินิจฉัย substance dependence และ pathological gambling ของDSM-IV จำนวน 9 ข้อ และได้ทดสอบความเชื่อถือได้และความแม่นยำในกลุ่มตัวอย่างนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา 1-6 จำนวน 1,901 คน ผลการศึกษา: แบบสอบถาม problem video game playing (PVP) ฉบับภาษาไทยมีความเชื่อถือได้ การวิเคราะห์ internal consistency พบว่าค่า Cronbach"s alpha เท่ากับ 0.70 การวิเคราะห์ปัจจัยพบว่าแบบสอบถาม PVP ฉบับภาษาไทย มี 2 องค์ประกอบ คือ องค์ประกอบที่ 1 เกี่ยวกับพฤติกรรมการติดเกม(addicitive behavior scale) ประกอบด้วยคำถามข้อที่ 1-6 และองค์ประกอบที่ 2 เกี่ยวกับผลกระทบจากการติดเกม (impact scale) ประกอบด้วยคำถามข้อที่ 7-9 โดยอธิบายความแปรปรวนได้ร้อยละ 41 การวิเคราะห์ความแม่นยำ (construct validity) พบว่าคะแนนรวมของ PVP ฉบับภาษาไทยของกลุ่มตัวอย่างที่ประเมินตนเองว่าเล่มเกมมากเกินไป (p‹0.05) ทำให้เกิดปัญหาบางอย่าง (p<0.05) ทำให้ผลการเรียนแย่ลง (P<0.05) และพ่อแม่กังวลว่าเล่นเกมมากเกินไป (p<0.05) สูงกว่ากลุ่มตัวอย่างที่ประเมินตนเองว่าไม่มีปัญหาดังกล่าวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สรุป: แบบสอบถาม problem video game playing (PVP) ฉบับภาษาไทยมีความเชื่อถือได้และความแม่นยำเหมาะสมสำหรับนำไปใช้ประเมินปัญหาการติดเกมของวัยรุ่น

Keywords: แบบสอบถาม problem video game playing ฉบับภาษาไทยมีความเชื่อถือได้และความแม่นยำเหมาะสมสำหรับนำไปใช้ประเมินปัญหาการติดเกมของวัยรุ่น

ปีที่เผยแพร่/Year: 2548

Address: ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์, ภาควิชากุมารเวชศ่าสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี

Code: 20050000601

ISSN/ISBN:

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ภาษาไทย

Category: Paper ที่ได้รับคัดเลือกนำเสนอในที่ประชุมวิชาการประจำปี ราชวิทยาลัยจิตแพทย์แห่งประเทศไทย ปี 2548

Download: