ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: สุวรรณา อรุณพงศ์ไพศาล

ชื่อเรื่อง/Title: การศึกษาความเที่ยงระหว่างจิตแพทย์ไทย 2 คนในการใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างชนิด scan ฉบับภาษาไทย ในหมวดความผิดปกติจากการดื่มแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่

แหล่งที่มา/Source: การประชุมวิชาการประจำปี ราชวิทยาลัยจิตแพทย์แห่งประเทศไทย, หน้า 24.

รายละเอียด / Details:

วัตถุประสงค์: เพื่อทดสอบหาค่าความเที่ยงระหว่างจิตแพทย์ 2 คน (Inter-rater reliability) และจิตแพทย์คนเดียวกันแต่วัดห่างกัน 2 สัปดาห์ (Intra-rater reliability) ในการใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างชนิด scan ฉบับภาษาไทย ในหมวดเกี่ยวกับความผิดปกติของการดื่มแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่ วัดเป็นรายข้อคำถาม วิธีการศึกษา: ใช้ระเบียบวิธีวิจัยโรคว่าเป็น alcohol and/or tobacco dependence จำนวน 15 คน อาสาสมัครที่เป็นญาติหรือเพื่อนของผู้ป่วยที่ไม่มีประวัติการดื่มแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่ จำนวน 15 คน อายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป อาศัยอยู่ในภาคอีสาน เป็นชาย 77% อายุเฉลี่ย 42 (SD 9) ปี ศึกษาตั้งแต่ 1 ต.ค. 2546-31 ส.ค. 2547 วิธีการศึกษาคืออาสาสมัครทั้ง 30 คน ได้ถูกสัมภาษณ์โดยจิตแพทย์คนแรก โดยใช้แบบ scan พร้อมบันทึกเทปวีดีทัศน์นั้นต่างหาก โดยไม่ทราบค่าคะแนนมาก่อน ให้ค่าคะแนนในแต่ละข้อคำถามในแบบฟอร์มมาตรฐานของ scan เช่นกัน ต่อจากนั้นจิตแพทย์คนแรกจะดูเทปวีดีทัศน์นั้นอีกครั้งห่างจากครั้งแรก 2 สัปดาห์ นำข้อมูลมาวิเคราะห์หาค่า Inter-rater amd intra-rater kappa ผลการศึกษา: ได้ค่า Inter-rater kappa ของข้อคำถามทั้งหมดในหมวด tobacco และ disorders อยู่ระหว่าง 0.61-1.00 อยู่ระดับดีถึงดีเยี่ยม ซึ่งดีกว่าหมวด alcohol use disorder ซึ่งค่า kappa อยู่ระหว่าง 0.41-1.00 ส่วนมากข้อคำถามอยู่เพียงระดับดีพอใช้ ข้อคำถามในหมวด alcohol use disorder ที่ให้ค่า Kappa ระดับพอใช้ (0.41-0.60) เป็นข้อคำถามเกี่ยวกับการหมดความสนใจในกิจกรรมอื่นๆ และดื่มประจำทั้งๆ ที่รู้ว่าเกิดโทษต่อสุขภาพแล้ว Activities limitation (Interest neglect) and Use despite knowledge of psychological/physical problems (continue use) ข้อคำถามที่ให้ค่า kappa ระดับ poor (0.21-0.40) คือข้อคำถามเกี่ยวกับผลกระทบด้านร่างกายและสุขภาพจิตจากการดื่ม (physical and mental health problems due to drinking) ส่วนค่า Intra-rater kappa ของข้อคำถามทั้งหมดทั้งสองหมวดอยู่ระดับดีเยี่ยม สรุปผลการศึกษา: เครื่องมือ scan thai version ในหมวด alcohol and tobacco use disorders มีค่าความเที่ยงระหว่างการประเมินของจิตแพทย์คนเดียวกันหรือ 2 คน อยู่ระดับดี แต่จะมีข้อจำกัดสำหรับเกณฑ์การวินิจฉัย alcohol abuse ควรมีการทำวิจัยต่อไปเพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับความหมายของข้อคำถามมากขึ้น ยกกรณีตัวอย่างในข้อคำถามนั้นๆ เพื่อให้ความกระจ่างชัดเจน จะช่วยเพิ่มความเที่ยงตรงของเครื่องมือนี้ได้

Keywords: scan, จิตแพทย์, ค่าความเที่ยง, การวินิจฉัยโรค, มาตรฐานการวินิจฉัย, เกณฑ์การวินิจฉัย alcohol abuse, tobacco use disorders, alcohol use disorder, ผู้ป่วยยาเสพติด, สารเสพติด, จิตเวช,จิตเวชศาสตร์

ปีที่เผยแพร่/Year: 2548

Address: ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

Code: 20050000604

ISSN/ISBN:

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ภาษาไทย

Category: Paper ที่ได้รับคัดเลือกนำเสนอในที่ประชุมวิชาการประจำปี ราชวิทยาลัยจิตแพทย์แห่งประเทศไทย ปี 2548

Download: