ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: สุชาติ พหลภาคย์, สุวรรณา อรุณพงค์ไพศาล

ชื่อเรื่อง/Title: การศึกษาความแม่นตรงและความเชื่อถือได้ของ scan ฉบับภาษาไทยหมวด Somatoform and Dissociative Symptoms

แหล่งที่มา/Source: การประชุมวิชาการประจำปี ราชวิทยาลัยจิตแพทย์แห่งประเทศไทย, หน้า 22.

รายละเอียด / Details:

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความแม่นตรงและความเชื่อถือได้ของ Schedules for Clinical Assessment in Neuropsychiatry (scan) version 2.1 ภาคภาษาไทยหมวด somatoform and dissociative symptoms วัสดุและวิธีการ: คณะผู้วิจัยได้แปลบทสัมภาษณ์เกี่ยวกับ somatoform and dissociative symptoms ของ scan version 2.1 เป็นภาษาไทย จากนั้นมีการตรวจสอบและแก้ไขให้การแปลมีความแม่นตรงกันกับภาษาอังกฤษต้นฉบับด้วยการตรวจสอบความหมายในภาคทึ่แปลกลับเป็นภาษาอังกฤษจากภาคภาษาไทย หากความหมายไม่ตรงกันก็จะแก้ไขภาคภาษาไทยจนกระทั่งเมื่อแปลเป็นภาษาอังกฤษแล้วภาษาอังกฤษที่ได้มีความหมายตรงกับภาษาอังกฤษต้นฉบับเดิมจากนั้น คณะผู้วิจัยได้นำ scan ภาคภาษาไทยไปสัมภาษณ์อาสาสมัครในภาคสนามทั้ง 4 ภาค ของ ประเทศเพื่อตรวจสอบความถูกต้องของคำที่ใช้ และความสามารถในการเข้าใจคำถาม จิตแพทย์ 2 คน จะช่วยกันนำความเห็นที่ได้รับจากอาสาสมัครที่ตอบแบบสัมภาษณ์มาประกอบการแก้ไข scan ภาคภาษาไทยจนคนไทยสามารถเข้าใจคำถามได้ง่าย สำหรับการศึกษาเกี่ยวกับความเชื่อถือได้ของ scan ภาคภาษาไทยได้กระทำตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ. 2546 ถึงเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2547 อาสาสมัครที่ตอบแบบสัมภาษณ์มี 30 คน โดยเป็นผู้ป่วย somatoform disorder 15 คน คนปกติ 15 คน กลุ่มตัวอย่างมีระดับการศึกษาและอาชีพที่แตกต่างกัน จิตแพทย์จะใช้ scan ภาคภาษาไทยหมวด somatoform and dissociative symptoms สัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่าง มีการบันทึกวีดิทัศน์ด้วย การสัมภาษณ์และการให้คะแนนแก่คำตอบตามที่ปรากฏในวีดีทัศน์จะกระทำโดยจิตแพทย์ที่มีความชำนาญในการใช้ scan ผลการศึกษา: จากคำตอบที่ได้รับจากกลุ่มตัวอย่างและจากการประเมินของจิตแพทย์ที่มีความชำนาญในการใช้ scan พบว่า scan ภาคภาษาไทยหมวด somatoform and dissociative symptoms มีเนื้อหาที่แม่นตรง ระยะเวลาที่ใช้ในการสัมภาษณ์ผู้ป่วยคือ 57.1+-12.1 นาที คนปกติคือ 42.11+-13.9 นาที จากคำถามที่ใช้ในการตรวจสอบอาการทั้งหมด 113 คำถาม ค่า kappa สำหรับ inter reliability อยู่ในช่วง 0.81-1.0ม 0.61-0.80 และช่วง 0.00-0.20 ของประมาณร้อยละ 49.6, 30.0 และ 8.9 ของคำถามตามลำดับ และคำถามที่ไม่สามารถคำนวณค่า kappa ได้มีร้อยละ 11.5 ค่า kappa สำหรับ intra-rater reliability อยู่ในช่วง 0.81-1.0, 0.61-0.80 และช่วง 0.00-0.20 ของประมาณร้อยละ 54.9, 26.5 และ 2.7 ของคำถามตามลำดับ และคำถามที่ไม่สามารถคำนวณค่า kappa ได้มีร้อยละ 15.9 สรุป: scan ภาคภาษาไทยหมวด somatoform and dissociative symptoms เป็นเครื่องมือที่มีความแม่นตรงและมีความเชื่อถือได้อย่างมากในการประเมินคนไทยที่มีอาการ somatoform และ อาการ dissociation

Keywords: scan version 2.1, ความแม่นตรง, การวินิจฉัยโรค, จิตแพทย์, somatoform and dissociative symptoms, schedules for clinical assessment in neuropsychiatry, จิตเวช, จิตเวชศาสตร์

ปีที่เผยแพร่/Year: 2548

Address: ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

Code: 20050000605

ISSN/ISBN:

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ภาษาไทย

Category: Paper ที่ได้รับคัดเลือกนำเสนอในที่ประชุมวิชาการประจำปี ราชวิทยาลัยจิตแพทย์แห่งประเทศไทย ปี 2548

Download: