ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: นงค์ ธรรมโรจน์, นพ.ธรณินทร์ กองสุข

ชื่อเรื่อง/Title: การพัฒนาบริการผู้ป่วยฆ่าตัวตายในโรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ ปี 2548

แหล่งที่มา/Source: การประชุมวิชาการสุขภาพจิตนานาชาติ, ครั้งที่ 4, เรื่องสุขภาพจิตกับภัยพิบัติ, วันที่ 6-8 กรกฎาคม 2548 ณ โรงแรมปรินซ์พาเลซ, กรุงเทพมหานคร, หน้า 67-68

รายละเอียด / Details:

หลักการและเหตุผล ผู้ป่วยจิตเวชเสียชีวิตจากการฆ่าตัวตายสูง ระยะที่มีความเสี่ยงสูงสุดคือระยะแรกของการเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล เนื่องจากผู้ป่วยยังคงมีความเครียดและมีอาการทางจิต รวมทั้งยังต้องปรับตัวกับสภาพแวดล้อมใหม่ๆ ด้วย ถึงแม้ว่าแพทย์ พยาบาลจะได้ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว ก็ยังพบการฆ่าตัวตายสำเร็จในโรงพยาบาลจิตเวช ผลกระทบที่ตามมาทำให้โรงพยาบาลต้องกัลับมาทบทวนการดูแลผู้ป่วยที่เสี่ยงต่การฆ่าตัวตายว่ามีประสิทธิภาพเพียงพอหรือไม่ วัตถุประสงค์ เพื่อป้องกันและเฝ้าระวังการฆ่าตัวตายของผู้ป่วยในโรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ ระเบียบวิธีวิจัย เป็นการศึกษาแบบการวิจัยเพื่อพัฒนา( Research and Development ) กลุ่มเป้าหมายคือ ผู้ป่วยทุกคนที่รับไว้รับรักษาในโรงพยาบาลระหว่างวันที่ 1 เมษายน-31 พฤษภาคม 2548 เครื่องมือที่ใช้คือ แบบประเมินความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายสำรับผู้ป่วยใน โดยประเมินผู้ป่วยแรกรับทุกราย และประเมินผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อเนื่อง ทุกสัปดาห์จนกว่าจะจำหน่าย ผลการประเมินแบ่งออกเป็น 3 ระดับคือ ระดับ1,2และ3 ขณะผู้ป่วยโดยแบ่งการดูแลผู้ป่วยตามระดับความเสี่ยง ได้แก่ การทำจิตบำบัด การทำกิจกรรมกลุ่มเสริมสร้างความหวังการปรับโครงสร้างสถานทื่การเฝ้าระวังติดตามใกล้ชิดตลอด 24 ชั่วโมง และการลดการเข้าถึงอุปการณ์ที่เสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย ร้อยละ ความถี่ และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย เมื่อต้นปีงบประมาณ 2548 มีผู้ป่วยฆ่าตัวตายสำเร็จในโรงพยาบาล 2 ราย จึงมีการทบทวนระบบการบริการผู้ป่วยฆ่าตัวตายใหม่ โดยมีการดำเนินงาน4 ประเด็นหลัก 1. มีการประเมินความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายผู้ป่วยที่รับไว้รักษาทุกรายและประเมินผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงทุกรายสัปดาห์จนจำหน่าย พบผู้ป่วยที่รับไว้รักษาทั้งหมดเป็นผู้ป่วยที่เสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายระดับ 1 ร้อยละ 40 ระดับ2 ร้อยละ 20.95และระดับ3 ร้อยละ32.38 ในระดับหนึ่งขึ้นไป ได้ส่งผลนักจิตวิทยาทุกรายเพื่อทำการบำบัดหรือทดสอบ ทำกลุ่มการเสริมสร้างความหวังมี บุคลากรดูแลอย่างใกล้ชิดตลอด 24 ชั่วโมง ระตรวจสอบอุปกรณ์ที่สามารถนำมาฆ่าตัวตายได้ และมีการปรับปรุงอาคารสถานที่ไม่ให้เอื้อต่อการฆ่าตัวตาย และในระดับ 3 จะต้องใส่เสื้อที่บ่งชี้ว่าเป็นผู้ป่วยที่เสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายมาก หลังจากให้การเฝ้าระวังและป้องกันฆ่าตัวตายในหอผู้ป่วยพบว่า ผู้ป่วยในแต่ระดับลดลง จากระดับ 1 ไปเป็นระดับ 0 ร้อยละ 32.38 จากระดับ2 ไปเป็นระดับ0 ร้อยละ 20.95 และจากระดับ 3 ไปเป็นระดับ 0 ร้อยละ 32.38 หลังจากทำกิจกรรมกลุ่มเสริมสร้างความหวัง พบว่า ผู้ป่วยมีความหวังโดยรวมเพิ่มขึ้น การประเมิน ด้วยปัจจัยบำบัดของยาลอม พบว่า ผู้ป่วยรับรู้ว่าตนเองมีประโยชน์ ได้ระบายออก ได้เรียนรู้การมีมนุษย์สัมพันธ์ได้รู้ถึงความจริงในชีวิต และหลังจากพัฒนาระบบใหม่ยังไม่พบผู้ป่วยที่พยายามฆ่าตัวตาย และฆ่าตัวตายสำเร็จ ,dd>ข้อเสนอแนะ การป้องกันและเฝ้าระวังการฆ่าตัวตายในโรงพยาบาลจิตเวช ควรเริ่มตั้งแต่การประเมินความเสี่ยงแบบองค์รวมเมื่อแรกรับ การป้องกันอันตรายที่จะเกิดกับผู้ป่วยทั้งด้านร่างกายและจิตใจรวมทั้งมีกระบวนการเสริมสร้างความหวังความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง โดยการดำเนินงานที่มีแนวทางการปฏิบัติที่ชัดเจน การนำไปปฏิบัติอย่างจริงจัง และมีระบบการติดตามประเมินผล จะทำให้การป้องกันและเฝ้าระวังการฆ่าตัวตายในโรงพยาบาลจิตเวชมีประสิทธิภาพ

Keywords: ฆ่าตัวตาย, การพัฒนาบริการ, ผู้ป่วยจิตเวช, บำบัด, ทดสอบ, จิตเวชศาสตร์, จิตเวช, โรคซึมเศร้า, ภาวะเสี่ยงฆ่าตัวตาย, หอผู้ป่วยจิตเวช

ปีที่เผยแพร่/Year: 2548

Address: โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ กรมสุขภาพจิต

Code: 2005000061

ISSN/ISBN: -

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ไทย

Category: Paper ที่ได้รับคัดเลือกในการประชุมวิชาการกรมสุขภาพจิตประจำปี 2548

Download: