ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: ตึกเฟื่องฟ้า โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์

ชื่อเรื่อง/Title: การพัฒนารูปแบบการป้องกันผู้ป่วยหลบหนีในหอผู้ป่วย

แหล่งที่มา/Source: การประชุมวิชาการสุขภาพจิตนานาชาติ, ครั้งที่ 4, เรื่องสุขภาพจิตกับภัยพิบัติ, วันที่ 6-8 กรกฎาคม 2548 ณ โรงแรมปรินซ์พาเลซ, กรุงเทพมหานคร, หน้า 71-72.

รายละเอียด / Details:

หลักการและเหตุผล การเจ็บป่วยทางจิตเวชถือได้ว่าเป็นปัญหารที่สำคัญต่อประเทศชาติเนื่องจกบุคคลจะขาดสมรรถภาพในการดำรงชีวิตที่สมบูรณ์ (ฉวีวรรณ สัตธรรฒ.2541) ผู้ป่วยหลายคนไม่ยอมรับตนเองเจ็บป่วยทางจิต ทำให้เกิดปัญหาและอุปสรรคในการดูแล เช่น ไม่ยอมรับประทานยาไม่ให้ความร่วมมือในการทำกิจวัตรประจำวัน ไม่ยอมรับการรักษาในโรงพยาบาล เป็นต้น จึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ผู้ป่วยหลบหนีออกจากโรงพยาบาล ส่งผลให้ผู้ป่วยไม่ได้รับการรักษาผู้ป่วยอาจได้รับอันตรายเกิดอุบัติเหตุ เช่นถูกรถชน ถูกล่อลวงหากอยู่ในครอบครัวจะก่อปัญหา เช่นทำร้ายร่างกาย ทำร้ายทรัพย์สิน ทำให้เกิดผลเสียต่อผู้ป่วยเอง ครอบครัว ชุมชน และโรงพยาบาลที่รับผิดชอบดูแล(ธนู สว่างศิลป์.2535) โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์มีหน้าที่หลักในการบำบัดรักษาผู้ป่วยจิตเวชทุกประเภทตึกเฟื่องฟ้าเป็นตึกผู้ป่วยใน ที่รับบริการผู้ป่วยไว้รักษาแบบตึกระบบเปิด(Open Ward) ซึ่งมุ่งเน้นการจักตึกผู้ป่วยให้มีส่วนคล้ายคลึงกับการใช้ชีวิตอยู่ที่บ้านมากที่สุด สามารถเดินไปมาโดยรอบบริเวณตึก ทำให้ผู้ป่วยจิตเวชมีอิสระในการใช้ชีวิต แต่พบว่าตึกผู้ป่วย แต่พบว่า ผู้ป่วยบางรายไม่รู้เรื่อง เดินออกนอกตึก และบางรายคอยญาตินานจึงได้หลบหนี เดิน/ปีนรั้ว ออกนอกตึก พบว่าในช่วงเดือนเมษายน –กันยายน 2547 ผู้ป่วยได้หลบหนีสำเร็จจำนวน 9 คน จากข้อมูลดังกล่าวเจ้าหน้าที่ตึกเฟื้งฟ้าทุกคนร่วมทีมร่วมใจพัฒนาเร่งเห็นความสำคัญของปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้น จึงดำเนินโครงการเพื่อให้ได้รูปแบบป้องกันการหลบหนีและแนวทางปฎิบัติที่ชัดเจนยิ่งขึ้น วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการพัฒนารูปแบบการป้องกันการหลบหนีในหอผู้ป่วยจิตเวช ขอบเขตการวิจัย กลุ่มตัวอย่าง ที่ศึกษาเป็นผู้ป่วยใน หอผู้ป่วยเฟื่องฟ้า ระหว่างวันที่ 15 พฤศจิกายน 2547-15 พฤษภาคม 2548 รวม 6 เดือน ระเบียบวิธีวิจัย การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงปฏิบัติการ ( Action Research) ประชากรและกลุ่มตัวอย่างในการศึกษาได้แก่ บุคลากรในหอผู้ป่วยเฟื่องฟ้าจำนวน 25 คน ทีมสหวิชาชีพจำนวน 5 คน และผู้ป่วยจิตเวชที่รับใหม่ทุกรายในหอผู้ป่วยเฟื่องฟ้าตั้งแต่วันที่ 15 พฤศจิกายน 2547 ถึง วันที่ 15 พฤษภาคม 2548 ครั้ง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้เครื่องมือเก็บข้อมูลทั่วไป สัมภาษณ์ สนทนากลุ่ม และประเมินความพึงพอใจในการอยู่รักษาด้วยแบบประเมินที่สร้างขึ้นทำการศึกษาโดย 1) วิเคราะห์สถานการญ์ ค้นหาสาเหตุของปัญหาโดยการประชุมระดมสมอง 2) สร้างเครื่องมือในการเฝ้าระวังผู้ป่วยหลบหนี3) การติดสติ๊กเกอร์สีแดงที่ป้ายชื่อผู้ป่วยการเขียนชื่อผู้ป่วย ที่เฝ้าระวังด้วยปากกาสีแดงในสมุดวัดสัญญาณชีพ เขียนชื่อผู้ป่วย “ ระวังหลบหนี” ขึ้นกระดาน4) กำหนดผู้รับผิดชอบให้ชัดเจนในสมุดมอบหมายงานทุกวันทุกเวร หากมีภาระกิจทำธุระนอกตึกต้องมอบหมายงานผู้อื่นดูแลแทน มีการตรวจนับผู้ป่วย 5 ครั้ง/วันคือก่อนรับเวร ก่อนและหลังรับประทานอาหารก่อนและหลังทำกิจวัตรอาบน้ำ5) การให้ข้อมูลการจำหน่าย การนัดญาติเพื่อสร้างความมั่นใจให้ผู้ป่วยในเรื่องการกลับบ้าน วันละ 2 ครั้งจัดเข้ากลุ่มประชุมปรึกษาเตรียมความรู้ก่อนกลับบ้าน6) ประเมินผลทุกวันอังคาร เพื่อคัดผู้ป่วยที่ไม่ต้องเฝ้าระวังหลบหนีออก เมื่อประเมินแล้วไม่มีความเสี่ยงต่อการหลบหนีติดต่อกัน 2 ครั้งและสรุปประเมินผล สรุปผลการศึกษา ผู้ป่วยเข้าร่วมโครงการจำนวน 232 คน เป็นผู้ป่วยชายทั้งหมด หลังดำเนินโครงการพบว่า มีผู้ป่วยหลบหนีสำเร็จ 1 ราย คิดเป็นร้อยละ2.32 และเมื่อเปรียบเทียบในช่วงระยะเวลาเดียวกันคือ วันที่ 15 พฤศจิกายน 2546ถึงวันที่ 15 พฤษภาคม 2547 หลบหนีคิดเป็นร้อยละ 18.42 และหลังจากพัฒนารูปแบบการป้องกันการหลบหนี สามารถลดผู้ป่วยหลบหนีลงเหลือร้อยละ2.32 สรุปผลได้รูปแบบการป้องกันการหลบหนีซึ่งประกอบด้วยแบบประเมินเฝ้าระวังผู้ป่วยหลบหนี และแนวทางปฏิบัติการป้องกันการหลบหนีที่มีคุณภาพยิ่งขึ้น ข้อเสนอแนะ การพัฒนารูปแบบการป้องกันการหลบหนีถือได้ว่าเป็นหลักประกันสุขภาพในการดูแลให้การพยาบาลผู้ป่วยที่มีประสิทธิภาพ ควรปฏิบัติอย่างต่อเนื่องและมีการประเมินผลทุก 1-2 เดือนนำเสนอ pre-Post conference ทบทวนเป็นระยะๆ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แต่มีข้อจำกัดควรคำนึงถึงบริบท โครงสร้าง และอัตรากำลังของเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานนั้นๆด้วย

Keywords: การป้องกัน, การพัฒนา, ผู้ป่วยจิตเวช, หลบหนี, จิตเวชศาสตร์, การพยาบาลจิตเวช, โรคจิต, ผู้ป่วยโรคจิต

ปีที่เผยแพร่/Year: 2548

Address: โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์

Code: 2005000063

ISSN/ISBN: -

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ไทย

Category: Paper ที่ได้รับคัดเลือกในการประชุมวิชาการกรมสุขภาพจิตประจำปี 2548

Download: