ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: กิ่งดาว ศรีวรนันท์ และคณะ

ชื่อเรื่อง/Title: การสำรวจทางระบาดวิทยาสุขภาพจิตของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร

แหล่งที่มา/Source: การประชุมวิชาการสุขภาพจิตนานาชาติ, ครั้งที่ 4, เรื่องสุขภาพจิตกับภัยพิบัติ, วันที่ 6-8 กรกฎาคม 2548 ณ โรงแรมปรินซ์พาเลซ, กรุงเทพมหานคร, หน้า 75.

รายละเอียด / Details:

หลักการและเหตุผล การศึกษาครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการสำรวจทางระบาดวิทยาสุขภาพจิตของประชาชนไทย โดยกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธรณสุข ซึ่งสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยารับผิดชอบการสำรวจเฉพาะประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความชุกของปัญหาสำคัญด้นสุขภาพจิตและจิตเวช ได้แก่ การติดสุราหรือ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ความเครียด การฆ่าตัวตาย โรคทางจิตเวช และคุณภาพชีวิต ตลอดจนศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะสุขภาพจิตของประชาชน โดยทำการสำรวจตั้งแต่วันที่ 30 มิถุนายน 2546-15 สิงหาคม 2546 เป็นการวิจัยเซ็งสำรวจ ณ ช่วงเวลาที่กำหนด ประชากรตัวอย่าง อายุระหว่าง 15-59 ปี จำนวน 900 คน สุ่มตัวอย่างโดยวิธี Stratified two-stage cluster sampling เป็นเพศชายและเพศหญิง ในสัดส่วนใกล้เคียงกันคือร้อยละ 49.2 และ 50.8 ตามลำดับ และหาความสัมพันธ์ด้วย Logistic regression Analysis ผลการศึกษา พบว่า ประชากรส่วนใหญ่ มีคุณภาพชีวิตในระดับกลางๆ ร้อยละ 61.7 รองลงมาคือมี คุณภาพชีวิตอยู่ในระดับที่ดี ร้อยละ 37.2 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการติดสุราหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ เพศ (p‹.00) สถานภาพทางการเงิน (p<.05) และการมีบ้านใหม่เป็นของตนเอง (p<.01)ส่วนในเรื่องของคุณภาพชีวิต พบว่า ไม่มีอิทธิพลต่อการติดสุราหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในด้านความเครียดผลปรากฎ ว่าประชากรส่วนใหญ่ มีภาวะเครียดในระดับปานกลาง ร้อยละ 46.9 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความเครียดได้แก่ อายุ และศาสนา (p<.05) สถานภาพทางการเงิน และระดับคุณภาพชีวิต (p<.001) สำหรับความเสี่ยงในการฆ่าตัวตาย ในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา พบว่าประชากรส่วนใหญ่ คือร้อย 92.1 ไม่มีความเสี่ยงในการฆ่าตัวตายร้อยละ 4.7 เคยพยายามฆ่าตัวตายมาแล้วในชีวิต ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความเสี่ยงในการฆ่าตัวตายได้แก่ ระดับการศึกษาสถานภาพทางการเงิน (p<.05)การมีบ้านเป็นของตนเอง และคุณภาพชีวิต (p<.01) สำหรับการป่วยด้วยโรคทางจิตเวช ได้ทำการคัดกรองการเจ็บป่วยทางจิต โดยแบบคัดกรองสุขภาพจิตในชุมชน เพื่อประเมินภาวะสุขภาพจิต ร่วมกับแบบสอบถามประสบการณ์ที่เกี่ยวเนื่องกับอาการป่วยทางจิต พบว่าประชากรที่ผ่านการคัดกรองการป่วยทางจิตได้ผลบวก มี 40 คน เป็นเพศชาย 16 คน และเพศหญิงมี 24 คน และสัมภาษณ์ด้วยแบบสัมภาษณ์เชิงโครงสร้างเพื่อวินิจฉัยโรคจิตเวช (M.I.N.I) แล้วพบว่า ได้รับการวินิจฉัยโรครวมทั้งสิ้น 25 คน เป็นชาย 10 คน หญิง 15 คน ส่วนใหญ่ ได้รับการวินิจฉัยโรค/ปัญหาว่า GAD: current มากที่สุด ร้อยละ 30.6รองลงมาคือ Major depressive episode. ร้อยละ 22.2 จากการศึกษานี้ สามารถใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานเพื่อการวางแผนและกำหนดแนวทางในการดำเนินงานด้านสุขภาพจิตประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครเพื่อสุขภาพจิตที่ดีของประชาชนต่อไป

Keywords: สุขภาพจิต, ระบาดวิทยา, การสำรวจ, สุรา, ความเครียด, การฆ่าตัวตาย, แอลกอฮอล์, ความเสี่ยง

ปีที่เผยแพร่/Year: 2548

Address: สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา

Code: 2005000065

ISSN/ISBN: -

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ไทย

Category: Paper ที่ได้รับคัดเลือกในการประชุมวิชาการกรมสุขภาพจิตประจำปี 2548

Download: