ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: ผ่องพรรณ รัตนะเศรษฐากุล, จิราภรณ์ นพคุณขจร

ชื่อเรื่อง/Title: ย้อนรอยภัยพิบัติภาคเหนือตอนบน

แหล่งที่มา/Source: การประชุมวิชาการสุขภาพจิตนานาชาติ, ครั้งที่ 4, เรื่องสุขภาพจิตกับภัยพิบัติ, วันที่ 6-8 กรกฎาคม 2548 ณ โรงแรมปรินซ์พาเลซ, กรุงเทพมหานคร, หน้า 94-95.

รายละเอียด / Details:

หลักการและเหตุผล “สึนามิ” เป็นภัยพิบัติธรรมชาติที่เกิดมาแล้วหลายๆครั้งในหลายๆ ประเทศซึ่งในแต่ละครั้งได้นำมาซึ่งความเสียหายทั้งชีวิต ทรัพย์สิน โครงสร้างพื้นฐานต่างๆ และเกิดปัญหาทางด้านสาธารณสุขเป็นจำนวนมากมายมหาศาล เช่นเดียวกับเหตูการณ์เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2547 ที่ผ่านมาที่เหตุการณ์ที่รุนแรงที่สุดที่ประเทศไทยเคยประสบมา ซึ่งเหตุการณ์ในครั้งนี้ได้ส่งผลกระทบทั้งต่อบุคคลและครอบครัวกับชุมชนทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ทำให้หลายหน่วยงานตระหนักและรับรู้ถึงผลกระทบต่างๆ ที่เกิดขึ้นซึ่งในอดีตที่ผ่านมาหลายครั้งอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ 13 จังหวัดภาคเหนือตอนบน เช่นเหตุการณ์ดินถล่มที่ อ. แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่ ไม่มีคนเสียชีวิต แต่ชุมชนเสียหายทั้งหมด เหตุการณ์น้ำป่าไหลหลากที่ อ. อมก๋อย จ. เชียงใหม่ และอำเภอแม่ละมาดจ. ตาก มีผู้เสียชีวิต 2 คน หมู่บ้านโรงเรียนการคมนาคมเสียหาย เหตุการณ์โรงอบลำไยระเบิดที่ อ.สันป่าตอง จ. เชียงใหม่ มีผู้เสียชีวิต 36 รายบาดเจ็บอีกจำนวนหนึ่ง และเหตุการณ์ถล่มที่บ้านน้ำก้อ อ. หล่ม จ. เพชรบูรณ์มีผู้เสียชีวิต 120 ราย สูญหายอีกจำนวนหนึ่งประชาชนไร้ที่อยู่อาศัยและขาดแคลนเครื่องอุปโภคบริโภคกว่า 1,500 ครอบครัว นอกจากนี้ยังมีการระบาดของไข้หวัดนก ซึ่งได้มีการฆ่าและทำหลายไก่หลายล้านตัว เหตุการณ์น้ำท่วมในอีกหลายไครั้งหลายๆพื้นที่ และเหตุการณ์ภัยพิบัติอื่นๆ ก่อให้เกิดความเสียหายทางด้านต่างๆเป็นจำนวนมากในทุกๆปี จากเหตุการณ์ดังกล่าวพบว่าประชาชนซึ่งอาศัยอยู่ในพื้นที่เดิม ยังหวาดผวา รู้สึกถึงความไม่ปลอดภัยในพื้นที่ที่อยู่อาศัยขาดขวัญและกำลังใจ หวาดระแวงว่าจะมีเหตุการณ์ที่ร้ายแรงเกิดขึ้นซ้ำขึ้นมาอีก ได้รับความช่วยเหลือทางด้านต่างๆไม่ทั่วถึงและไม่เพียงพอต่อความเสียหายที่ได้รับ การฟื้นฟูทางด้านต่างๆไม่ได้รับการดูแลและสานต่ออย่างต่อเนื่อง แต่ในขณะเดียวกันชุมชนก็สามารถช่วยเหลือและเยียวยาตนเองได้ เมื่อเหตุการณ์ผ่านไประยะเวลาหนึ่ง วัตถุประสงค์ เพื่อค้นหาแนวทางการดำเนินงานดูแล ช่วยเหลือ ป้องกัน และฟื้นฟูสุขภาพจิตหลังภัยพิบัติอย่างเป็นระบบ สรุปผลการศึกษา จากการย้อนรอยภัยพิบัติภาคเหนือตอนบนที่ผ่านมา เมื่อเปรียบเทียบกับเหตุการณ์คลื่นยักษ์สีนามิถล่ม 6 จังหวัดแถบทะเลอันดามัน พบว่ามีความเหมือนและความต่างกัน ดังนี้ ความเหมือน 1. รูปแบบของการเกิดปฏิกิริยาการตอบสนอง เหมือนกันทุกช่วงระยะเวลาที่เกิดเหตุการณ์ภัยพิบัติ 2. ในระยะฉุกเฉินมีความต้องการทางด้านปัจจัยสี่ และเครื่องสาธารณูปโภคต่างๆเป็นจำนวนมาก และอย่างรวดเร็ว 3. มีการสูญเสียทั้งทางด้านสรีระ อารมณ์ ความคิด และความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและสังคม 4. ประชาชนบางส่วนไม่สามารถจัดการกับอารมณ์และความรู้สึกที่เกิดขึ้นได้ ต้องเข้ารับการรักษา 5. มีความเสียหารทั้งต่อบุคคล ครอบครัวและชุมชน 6. การดูแลช่วยเหลือเป็นไปด้วยความล่าช้า 7. ระบบการดูแลช่วยเหลือยังไม่ชัดเจน 8. หน่วยงานต่างๆไม่มีการประสานงานซึ่งกันและกัน 9. ชุมชนสามารถเยียวยาตนเองได้ในระดับหนึ่ง เมื่อเหตุการณ์ผ่านไปในระยะเวลาหนึ่ง ความต่าง 1. สึนามิ เป็นภัยพิบัติที่มีขนาดใหญ่ ความรุนแรงและเกิดความเสียหายมากกว่า โดยเฉพาะทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และชุมชน 2. สึนามิเกิดบริเวณสถานที่ที่มีผู้คนรู้จักเป็นจำนวนมาก และสื่อสามารถเข้าไปได้ทั่วถึง 3. สึนามิจะได้รับการดูแลช่วยเหลือในทุกๆด้านจากหลายๆหน่วยงาน ใช้ทรัพยากรบุคคลเป็นจำนวนมาก 4. สึนามิ ทำให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เกิดความตระหนักในการดูแลช่วยเหลืออย่างเป็นระบบมากขึ้น ข้อเสนอแนะ ควรมีการให้ความรู้ความเข้าใจในบทบาทและแนวทางการดูแลช่วยเหลือ รวมทั้งความรู้เกี่ยวกับการเกอดภัยพิบัติตางๆ แก่ผู้ให้การช่วยเหลือและประชาชนทั่วไปในพื้นที่เสี่ยงที่จะเกิดภัยพิบัติเช่นน้ำท่วมแผ่นดินไหว การเกิดโรคระบาดที่อาจจะกลายพันธ์เป็นอันตรายต่อและความมั่นคงปลอดภัยในชีวิต เพื่อช่วยลดอาการตื่นตระหนก หวาดระแวง และวิตกกังวลกลัวต่อเหตุการณ์ มีเหตุผล และสามารถจัดการกับปัญหาที่จะเกิดขึ้นอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ

Keywords: ภัยพิบัติ, สึนามิ, สุขภาพจิต, แนวทางการฟื้นฟู, หวาดระแวง, วิตกกังวล

ปีที่เผยแพร่/Year: 2548

Address: ศูนย์วิกฤตสุขภาพจิต โรงพยาบาลสวนปรุง กรมสุขภาพจิต

Code: 2005000075

ISSN/ISBN: -

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ไทย

Category: Paper ที่ได้รับคัดเลือกในการประชุมวิชาการกรมสุขภาพจิตประจำปี 2548

Download: