ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: นพ.ทรงวุฒิ ทรัพย์ทวีสิน, นพ.วิชัย วิเชียรวัฒนชัย, นพ.ธงชัย เลิศวิไลรัตนพงศ์และคณะ

ชื่อเรื่อง/Title: การซ้อมแผนวิกฤตสุขภาพจิต ภายในโรงพยาบาลสุไหงโก-ลก

แหล่งที่มา/Source: การประชุมวิชาการสุขภาพจิตนานาชาติ, ครั้งที่ 4, เรื่องสุขภาพจิตกับภัยพิบัติ, วันที่ 6-8 กรกฎาคม 2548 ณ โรงแรมปรินซ์พาเลซ, กรุงเทพมหานคร, หน้า 101.

รายละเอียด / Details:

จากสถานการณ์ความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ มีเหตุการณ์ก่อกวนต่อชีวิต และทรัพย์สิน ของประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ สร้างความปั่นป่วน เกิดขึ้นรุนแรงตลอดมา ทำให้มีผลกระทบต่อประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ทุกสาขาอาชีพ ทั้งทางด้านวิถีชีวิต ทางด้านจิตใจ ด้านครอบครัว และหน้าที่การงาน ทำให้บุคคลเหล่านั้น เกิดความเครียดวิตกกังวล ความหวาดระแวง กลัวเหตุร้ายจะเกิดขึ้นกับตนเอง และครอบครัว ซึ่งจะมีผลทำให้เกิดปัญหาวิกฤตสุขภาพจิตขึ้นได้ และจากเหตุการณ์ที่มีคนร้ายจี้พยาบาลวิชาชีพเป็นตัวประกัน ทำให้โรงพยาบาลสุไหงโก-ลก ซึ่งเป็นโรงพยาบาลที่อยู่ติดเขตชายแดนไทย-มาเลเชีย และอยู่ในพื้นที่ที่เสี่ยงต่อที่จะเกิดเหตุการณ์ต่างๆได้ ประกอบกับเมื่อวันที่ 2-4 มีนาคม 2547 ได้จัดอบรมการเจรจาต่อรองในภาวะวิกฤตให้กับแพทย์พยาบาล ตำรวจ หน่วยกู้ชีพสาธารณภัยในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส จำนวน 80 คน ดังนั้นจึงมีความจำเป็นในการเตรียมความพร้อมของเจ้าหน้าที่ในการรองรับปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงที วัตถุประสงค์ 1. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความพร้อมในการให้ความช่วยเหลือในกรณีที่มีเหตุการณ์วิกฤตเกิดขึ้น 2. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ ความเข้าใจ ในการประสานงานกับหน่วยงานภายนอกที่มีส่วนเกี่ยวข้อง 3. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมได้ทราบถึงแนวทางการดำเนินงาน บทบาท หน้าที่ และการประสานงานในการให้ความช่วยเหลือ ผู้ที่อยู่ในภาวะวิกฤต เป้าหมาย จำนวน 150 คน (แพทย์ พยาบาลเวรตรวจการ ยามโรงพยาบาล ประชาสัมพันธ์โรงพยาบาล ตำรวจ ทหาร หน่วยกู้ชีพสาธารณภัย) ผลที่คาดว่าจะได้รับ ผู้เข้ารับการอบรมในการช้อมแผนได้รับความรู้ ความเข้าใจ รู้บทบาท หน้าที่ และมีความพร้อมในการที่จะให้ความช่วยเหลือประชาชนที่ประสบปัญหาวิกฤตได้อย่างทันท่วงที มีคุณภาพ และความปลอดภัย ข้อเสนอแนะ จากด้วยสถานการณ์ดังกล่าว ควรมีการจัดบรรจุลงในแผนประจำปีของโรงพยาบาล โดยมีการทบทวนการซ้อมแผนอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อให้ทีมเจรจามีความพร้อมอยู่เสมอ ต้องจัดทำคู่มือปฏิบัติในการเจรจา เพื่อให้ทีมทราบถึงบทบาท หน้าที่ และต้องมีการขยายผลการฝึกซ้อมแผนวิกฤตลงสู่โรงพยาบาลเครือข่าย เพราะทุกๆ พื้นที่ในจังหวัดนราธิวาส มีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดเหตุการณ์วิกฤตขึ้นได้ตลอดเวลา

Keywords: สุขภาพจิต, ครอบครัว, ความพร้อม, เหตุการณ์วิกฤต, การซ้อมแผน วิกฤตสุขภาพจิต

ปีที่เผยแพร่/Year: 2548

Address: M.C. C โรงพยาบาลสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส

Code: 2005000079

ISSN/ISBN: -

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ไทย

Category: Paper ที่ได้รับคัดเลือกในการประชุมวิชาการกรมสุขภาพจิตประจำปี 2548

Download: