ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: พรรณวิภา บรรณเกียรติ และคณะ

ชื่อเรื่อง/Title: การพัฒนาคู่มือการให้การปรึกษาเชิงจิตวิทยาแก่เด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็นด้วยอักษรเบรล์

แหล่งที่มา/Source: การประชุมวิชาการสุขภาพจิตนานาชาติ, ครั้งที่ 4, เรื่องสุขภาพจิตกับภัยพิบัติ, วันที่ 6-8 กรกฎาคม 2548 ณ โรงแรมปรินซ์พาเลซ, กรุงเทพมหานคร, หน้า 117.

รายละเอียด / Details:

หลักการและเหตูผล การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาคู่มือการให้การปรึกษาเชิงจิตวิทยาแก่เด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็นด้วยตัวอักษรเบรล์ และศึกษาผลการใช้คู่มือของครูที่มีความบกพร่องทางการเห็น คณะผู้วิจัยได้สร้างคู่มือตามขั้นตอนของการสร้างหลักสูตร โดยศึกษาวิเคราะห์เกี่ยวกับธรรมชาติและปัญหาสุขภาพจิตของเด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็นที่มีอายุระหว่าง 6-12 ปี กระบวนการให้การปรึกษาเชิงจิตวิทยาแก่ผู้ที่มีความบกพร่องทางการเห็น ยกร่างหลักสูตร สร้างเอกสารคู่มือ ตรวจสอบคุณภาพคู่มือโดยผู้เชี่ยวชาญ ปรับปรุงแก้ไขสร้างเครื่องมือในการประเมิน อบรมการใช้คู่มือและนำไปทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ระยะเวลาในการทดลอง 4 สัปดาห์ วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สูตรคำนวณดัชนีความสอดคล้อง (Index of consistency ) และทดสอบค่าที่ (t-test) ผลการวิจัยปรากฏดังนี้ 1. ได้คู่มือการให้การปรึกษาเชิงจิตวิทยาแก่เด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็นด้วยอักษรเบรล์ ที่ประกอบด้วยธรรมชาติของเด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็น แนวคิดทฤษฎีในการมองมนุษย์และทฤษฎีพื้นฐานของการให้การปรึกษาเชิงจิตวิทยา ภาพรวมและขั้นตอนของการให้การปรึกษาเชิงจิตวิทยา ทักษะพื้นฐานของการปรึกษาและทักษะของการให้การปรึกษาแก่เด็กที่มีความบกพร่องทางเห็น ได้ค่าดัชนีความสอดคล้องของคู่มือที่ระหว่าง 0.7-1.00 2. ภายหลังการทดลองใช้คู่มือครูที่มีความบกพร่องทางการเห็นในกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความรู้เชิงทฤษฎีเกี่ยวกับการให้การปรึกษาเชิงจิตวิทยา มีทักษะการให้การปรึกษาเชิงจิตวิทยาสูงกว่าก่อนการใช้คู่มืออย่างมีนัยสำคัญทางที่ระดับ .05

Keywords: เด็ก, อักษรเบลล์, ความบกพร่อง, การพัฒนาคู่มือ การให้การปรึกษาเชิงจิตวิทยา, จิตวิทยา, จิตเวชศาสตร์ ให้การปรึกษา, ปรึกษา

ปีที่เผยแพร่/Year: 2548

Address: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

Code: 2005000088

ISSN/ISBN: -

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ไทย

Category: Paper ที่ได้รับคัดเลือกในการประชุมวิชาการกรมสุขภาพจิตประจำปี 2548

Download: