ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: สมรัก ชูวานิชวงศ์, สกาวรัตน์ พวงรัตน์, ละเอียด ปานนาค, นารี เครือช้า, นิตยาภรณ์ มงคล, พัชรินทร์ ภักดีนวลและคณะ

ชื่อเรื่อง/Title: การประเมินผลโครงการคลินิกโรคซึมเศร้า

แหล่งที่มา/Source: การประชุมวิชาการสุขภาพจิตนานาชาติ, ครั้งที่ 4, เรื่องสุขภาพจิตกับภัยพิบัติ, วันที่ 6-8 กรกฎาคม 2548 ณ โรงแรมปรินซ์พาเลซ, กรุงเทพมหานคร, หน้า 130-131.

รายละเอียด / Details:

หลักการและเหตุผล โรคซึมเศร้าเป็นปัญหาสุขภาพจิตที่มีความรุนแรงและทวีจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆนอกจากนี้ยังส่งผลกระทบอย่างมากต่อตนเอง ครอบครัว และสังคม นอกจากนี้โรคซึมเศร้าเป็นโรคที่เป็นสาเหตุสำคัญของการสูญเสียปีสุขภาวะ(DALY) สูงสุดในกลุ่มโรคจิตทั้งหมดโรงพยาบาลศรีธัญญาเป็นโรงพยาบาลในระดับตติยภูมิที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ได้ตระถึงปัญหาความสำคัญดังกล่าว จึงได้จัดโครงการคลินิก โรคซึมเศร้า เพื่อช่วยให้ผู้รับบริการที่มีภาวะซึมเศร้าได้รับการช่วยเหลือตั้งแต่ระย้เริ่มแรก และช่วยให้ผู้บริการพ้นภาวะวิกฤตของชีวิต สามารถดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างมีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป วัตถุประสงค์ การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยประเมินผลโครงการ โดยมีวัตถุประสงค์ 1.เพื่อประเมินประสิทธิผลของโครงการ 2.เพื่อประเมินบริบทปัจจัยนำเข้า และกระบวนการของโครงการ ขอบเขตการวิจัย เป็นการวิจัยประเมินโครงการคลินิกโรคซึมเศร้าดำเนินการในช่วงปีงบประมาณ 2548 การ ประเมินครอบคลุมทั้งปัจจัยนำเข้ากระบวนการ ผลผลิต และผลลัพธ์ของโครงการในช่วงเวลาดังกล่าวตามกรอบlogical framework ของโครงการระยะดำเนินการ 8 เดือน(ตุลาคม 2547-พฤษภาคม 2548) ระเบียบวิธีวิจัย การเลือกกลุ่มตัวอย่างในการประเมินโครงการนี้ประกอบด้วยกลุ่มเป้าหมายของการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพ คือ คณะกรรมการโครงการฯ 2-3 คน และผู้รับบริการ20 คนการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณ การสำรวจความพึงพอใจของผู้รับบริการ จำนวน 40 คน และการสำรวจ คุณภาพชีวิตและภาวะซึมเศร้าของผู้รับบริการ 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบฟอร์มเก็บรวบรวมข้อมูลของผู้รับบริการ แบบสำรวจความคิดเห็นของผู้รับบริการ แบบวัดคุณภาพชีวิต แบบวัดภาวะซึมเศร้า การสัมภาษณ์เชิงลึกและสนทนากลุ่ม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติพรรณนาและ t-test สำหรับข้อมูลเชิงคุณภาพวิเคราะห์เนื้อหา สรุปผลการวิจัย ในภาพรวมพบว่าโครงการประสบความสำเร็จในด้านต่างๆ ดังนี้ จุดมุ่งหมายของโครงการ ผลการประเมินเบี้องตันพบว่า ผู้รับบริการมีภาวะซึมเศร้าและคุณภาพชีวิตดีขึ้น และมี1 คน Committed suicide ด้านวัตถุประสงค์พบว่า ผู้รับบริการ ร้อยละ 100 ได้รับสื่อเผยแพร่ความรู้ร้อยละ82.5มาตามนัดมากกว่า3 ครั้ง ร้อยละ80ได้รับบำบัดทางจิตสังคม และร้อยละ100 พึงพอใจต่อการบริการ ด้านผลผลิตของโครงการพบว่า ผู้มาติดต่อ ร้อยละ 100 ได้รับข้อมูลเรื่องโรคซึมเศร้า และโรงพยาบาลศรีธัญญา มีรูปแบบการช่วยเหลือผู้ป่วยซึมเศร้าชัดเจน ด้านกระบวนการมีการจัดทำเอกสารและแนวปฏิบัติในคลินิกผลิตสื่อ/ คู่มือ และดำเนินการประชาสัมพันธ์ได้ตามแผน ข้อเสนอแนะ -ควรมีการดำเนินโครงการที่มีลักษณะคลินิกเฉพาะ เพราะเป็นประโยชน์ต่อผู้รับบริการส่วนการประชาสัมพันธ์เพื่อให้ผู้รับบริการเข้าถึงบริการได้ดี คือ ป้ายประกาศ และการประชาสัมพันธ์ทางอินเตอร์เน็ตก็เป็นอีกทางเลือกที่ช่วยให้ผู้รับบริการอีกกลุ่มเข้าถึงข้อมูลได้มากขึ้น -ในด้านการบริการการติดตามผู้รับบริการที่ไม่มาตามนัดเป็นประเด็นสำคัญที่ต้องดำเนินการพัฒนาต่อไป เพราะผู้เป็นโรคซึมเศร้าปัญหาที่สำคัญมากที่สุด คือการฆ่าตัวตายสำเร็จ

Keywords: โรคซึมเศร้า, สุขภาพจิต, ภาวะซึมเศร้า, การประเมิน, ความรุนแรง, ครอบครัว, จิตเวชศาสตร์, โรคจิตเวช, ซึมเศร้า

ปีที่เผยแพร่/Year: 2548

Address: โรงพยาบาลศรีธัญญา

Code: 2005000096

ISSN/ISBN: -

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ไทย

Category: Paper ที่ได้รับคัดเลือกในการประชุมวิชาการกรมสุขภาพจิตประจำปี 2548

Download: