ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: ณัฐิกา ราชบุตร, วรางรัตน์ ทะมังกลาง, บัวเงิน วงษ์คำพันธ์, วิภาดา คณะไชย.

ชื่อเรื่อง/Title: ความเครียดและการปรับตัวต่อความเครียดของเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์.

แหล่งที่มา/Source: ประชุมวิชาการสุขภาพจิตนานาชาติ ครั้งที่ 5, ณ. โรงแรมปรินซ์พาเลซ กรุงเทพฯ, จากหลังคาแดงสู่ชุมชน ระหว่างวันที่ 3-5 กรกฎาคม 2549, หน้า 198

รายละเอียด / Details:

การศึกษาความเครียดและการปรับตัวต่อความเครียดของเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลขอนแก่นราชนครินทร์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเครียด การปรับตัวต่อความเครียด ปัจจัยหรือสาเหตุที่มีผลต่อความเครียด และเปรียบเทียบความเครียดของเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์ โดยศึกษาจากเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานจริงในโรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์ ปีงบประมาณ 2548 จำนวน 245 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินและวิเคราะห์ความเครียดด้วยตนเองของกรมสุขภาพจิต แบบสอบถามสาเหตุของความเครียด และแบบสอบถามเกี่ยวกับการเผชิญปัญหาเพื่อปรับตัวต่อความเครียด ดัดแปลงจากระพีพร แก้วคอนไทยและคณะ (2543) มีความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเท่ากับ 0.87, 0.82 และ 0.85 ตามลำดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ Chi-Square และ ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) ผลการศึกษา พบว่าข้อมูลทั่วไปของเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์ ร้อยละ 56.7 เป็นหญิง มีอายุเฉลี่ย 38.7 ปี สถานภาพสมรสร้อยละ 75.1 จบการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี ร้อยละ 51.4 ระยะเวลาการปฏิบัติงาน เฉลี่ย 14.2 ปี ปฏิบัติงานกลุ่มอำนวยการร้อยละ 46.1 และร้อยละ 49.0 มีฐานะทางการเงินไม่พอใช้จ่าย มีหนี้สิน ระดับความเครียดของเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานจริงโรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์ส่วนใหญ่อยู่ในระดับปกติมากที่สุด ร้อยละ 62.9 รองลงมาคือ อยู่ในระดับต่ำกว่าปกติ ร้อยละ 18.0 และอยู่ในระดับสูงมากกว่าปกติ ร้อยละ 3.3 สาเหตุที่ก่อให้เกิดความเครียดได้บ่อยๆ คือ การเงิน ตนเอง และเพื่อนบ้าน ร้อยละ 24.1, 8.6 และ 7.8 ตามลำดับ ส่วนปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเครียดของเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์คือ ฐานะทางการเงิน วิธีการปรับตัวต่อความเครียดส่วนใหญ่ใช้วิธีการปรับแก้แบบมุ่งแก้ปัญหา (Problem-focused coping) ร้อยละ 82.0 และจากการเปรียบเทียบความเครียดระหว่างกลุ่มงานที่ปฏิบัติไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

Keywords: ความเครียด, เจ้าหน้าที่, การปรับตัว, สุขภาพจิต, เครียด, การปรับตัว, เจ้าหน้าที่, โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่น

ปีที่เผยแพร่/Year: 2549

Address: โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์

Code: 2006000100

ISSN/ISBN: -

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ภาษาไทย

Category: บทคัดย่อที่ได้รับคัดเลือกนำเสนอในประชุมวิชาการสุขภาพจิตนานาชาติ ครั้งที่ 5, ณ. โรงแรมปรินซ์พาเลซ กรุงเทพฯ

Download: -