ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: สาธกา ธาตรีนรานนท์, นิตยา สโรบล, สุวรรณี ตุ่มทอง.

ชื่อเรื่อง/Title: ผลกระทบในช่องปากที่มีต่อการดำรงชีวิตประจำวันของผู้ป่วยจิตเภท

แหล่งที่มา/Source: ประชุมวิชาการสุขภาพจิตนานาชาติ ครั้งที่ 5, ณ. โรงแรมปรินซ์พาเลซ กรุงเทพฯ, จากหลังคาแดงสู่ชุมชน ระหว่างวันที่ 3-5 กรกฎาคม 2549, หน้า 221.

รายละเอียด / Details:

ปัญหาทันตสุขภาพ เป็นปัญหาที่พบได้มากในกลุ่มผู้ป่วยจิตเภท ซึ่งส่งผลต่อคุณภาพชีวิตโดยรวมของผู้ป่วย การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบในช่องปากที่มีต่อการดำรงชีวิตประจำวันของผู้ป่วยจิตเภท โดยใช้ดัชนี Oral Impacts on Daily Performances (OIDP) เพื่อศึกษาผลกระทบในมิติด้านกายภาพ สังคม และจิตวิทยา ในผู้ป่วยจิตเภท จำนวน 150 คน อายุ 19-68 ปี ที่เป็นผู้ป่วยในของสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา กรุงเทพฯ โดยทำการสัมภาษณ์ ผลกระทบในช่องปากที่มีต่อกิจกรรมต่างๆ 8 กิจกรรม ได้แก่ การกิน การทำความสะอาดฟัน การพูด การนอน การยิ้ม ความคงที่ของอารมณ์ การทำงาน และการพบปะผู้คน ผลการศึกษาพบว่า สภาวะช่องปากส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของผู้ป่วยจิตเภท โดยมีผู้ป่วยร้อยละ 77.3 ที่ได้รับผลกระทบอย่างน้อย 1 อย่าง โดยกิจกรรมการกินได้รับผลกระทบสูงสุด ร้อยละ 68.7 รองลงมาคือ การทำความสะอาดฟัน ร้อยละ 28 และ การพูด ร้อยละ 26.7 แต่เมื่อพิจารณาความถี่และความรุนแรงแล้ว เกือบทุกกิจกรรมจะมีความถี่และความรุนแรงต่ำ โดยอาการที่พบมากที่สุดคือ ความรู้สึกไม่สบาย ร้อยละ 69.82 สาเหตุหลักของอาการในช่องปากมากจากการปวดฟัน และอาหารติดซอกฟันร้อยละ 29.31 และ 27.58 ตามลำดับ สรุปได้ว่ามีผู้ป่วยจิตเภทจำนวนมาก ได้รับผลกระทบจากปัญหาในช่องปาก ซึ่งส่งผลต่อเนื่องถึงกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวัน ดังนั้นในการประเมินสภาวะช่องปากของผู้ป่วย นอกจากการตรวจฟันทางคลินิกแล้ว ควรคำนึงถึงผลกระทบทางสังคม จิตวิทยาร่วมด้วย จึงจะทำให้เข้าใจสภาวะทันตสุขภาพที่แท้จริงของผู้ป่วยจิตเภท และสามารถวางแผนการรักษาได้อย่างเหมาะสม

Keywords: ผู้ป่วยจิตเภท, ฟัน, ผลกระทบ, คุณภาพชีวิต, จิตเวช, ผู้ป่วยโรคจิต, ทันตกรรม, จิตเวชศาสตร์

ปีที่เผยแพร่/Year: 2549

Address: กลุ่มงานทันตกรรม สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา

Code: 2006000101

ISSN/ISBN: -

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ภาษาไทย

Category: บทคัดย่อที่ได้รับคัดเลือกนำเสนอในประชุมวิชาการสุขภาพจิตนานาชาติ ครั้งที่ 5, ณ. โรงแรมปรินซ์พาเลซ กรุงเทพฯ

Download: -