ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: ศิริพร วีระเกียรติและทีม Smile working.

ชื่อเรื่อง/Title: Express way service for psychiatric emergency.

แหล่งที่มา/Source: ประชุมวิชาการสุขภาพจิตนานาชาติ ครั้งที่ 5, ณ. โรงแรมปรินซ์พาเลซ กรุงเทพฯ, จากหลังคาแดงสู่ชุมชน ระหว่างวันที่ 3-5 กรกฎาคม 2549, หน้า 252.

รายละเอียด / Details:

หลักการและเหตุผล ในรอบ 3 ปี ที่ผ่านมาพบว่าสถิติการให้บริการผู้ป่วยจิตเวชฉุกเฉินของโรงพยาบาลสวนสราญรมย์ในปี พ.ศ. 2546, 2547 และ 2548 มีผู้ป่วยเข้ารับบริการเป็นจำนวน 1,635 ราย 2,796 ราย และ 4,291 ราย ตามลำดับ เห็นได้ว่าผู้ป่วยจิตเวชฉุกเฉินมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้เนื่องจากโรงพยาบาลจิตเวชในสังกัดกรมสุขภาพจิต เป็นโรงพยาบาลระดับตติยภูมิจึงรับผู้ป่วยจิตเวชที่มีอาการรุนแรงไม่สามารถควบคุมได้ ผู้ป่วยส่วนใหญ่อยู่ในภาวะจิตเวชฉุกเฉิน ได้แก่ พฤติกรรมรุนแรงทำร้ายบุคคลอื่น ทำร้ายตนเอง และการทำลายข้าวของ ดังนั้นภาวะจิตเวชฉุกเฉินจึงเป็นสถานการณ์ที่จำเป็นต้องมีการจัดการอย่างมีคุณภาพ ภายใต้ระยะเวลาจำกัด โดยการใช้กระบวนการพยาบาลจิตเวชฉุกเฉินจัดการกับสถานการณ์นั้นๆ โดยใช้หลัก Triage คือการประเมินอย่างถูกต้อง การช่วยเหลืออย่างรวดเร็ว และการส่งต่ออย่างเหมาะสม จะทำให้ผู้ป่วยได้รับความปลอดภัย ไม่เกิดผลกระทบตามมา จึงได้จัดทำโครงการ Express way service for psychiatric emergency ขึ้น เพื่อให้บุคลากรงานผู้ป่วยนอกมีรูปแบบในการดูแลผู้ป่วยที่ครอบคลุมและรวดเร็ว สามารถให้การช่วยเหลือผู้ป่วยได้อย่างถูกต้องเหมาะสมต่อไป วัตถุประสงค์เพื่อลดความรุนแรงและให้การช่วยเหลือผู้ป่วยอย่างรวดเร็ว ขั้นตอนในการให้บริการต่อตัวผู้ป่วย โดยพยาบาลทีมหลัก (พยาบาลในหน่วยจิตเวชฉุกเฉิน) 1. เมื่อผู้รับบริการที่มีพฤติกรรมรุนแรง (Violence Behavior) มารับบริการ พยาบาลคัดกรองจะส่งผู้ป่วยมายังห้องสังเกตอาการ ในหน่วยจิตเวชฉุกเฉิน โดยผ่านช่องทาง Safety way พยาบาลประเมินอาการผู้ป่วยทำการคัดแยกประเภทผู้ป่วยโดยใช้บัตร Identify patient ตามระดับความรุนแรงของอาการและอาการแสดง 2. ให้การพยาบาลเบื้องต้นตามอาการ สภาพพฤติกรรมรุนแรงและปัญหาผู้ป่วยโดยมีการจัดสิ่งแวดล้อมเป็นระบบ Close system เพื่อปกป้องสิทธิส่วนบุคคลของผู้ป่วยและลดส่งกระตุ้นจากสิ่งแวดล้อม บันทึกอาการสำคัญ ประวัติการเจ็บป่วย สัญญาณชีพ และการปฎิบัติการพยาบาลเบื้องต้น และรายงานแพทย์ เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการตรวจวินิจฉัยและการรักษาทันที ขั้นตอนในการให้บริการต่อญาติของผู้ป่วยและผู้รับบริการอื่นๆ โดยพยาบาลทีมสนับสนุน (พยาบาลทีมจิตเวชทั่วไป) ให้บริการโดยการพูดคุยกับญาติ และให้บริการแก่ผู้ป่วยนอกทั่วไป โดยการให้ข้อมูลเบื้องต้นหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นระยะๆ ระยะเวลา 6 เดือน (1 ตุลาคม 2548 ถึง 31 มีนาคม 2549) ผลสัมฤทธิ์ของโครงการและผลที่สัมฤทธิ์ที่เกิดกับผู้รับบริการ ผู้ป่วยที่รับบริการในหน่วยจิตเวชฉุกเฉิน จำนวน 1,805 ราย เป็นผู้ป่วยที่มีพฤติกรรมรุนแรง (Violence Behavior) จำนวน 458 ราย สามารถลดความรุนแรงและให้การช่วยเหลือผู้ป่วยอย่างรวดเร็ว ไม่เกิดอุบัติหตุหรืออุบัติการณ์ต่อผู้ป่วยอื่นจำนวน 455 ราย เกิดอุบัติการณ์ผู้ป่วยทำร้ายบุคคลอื่น 2 ครั้ง ทำลายทรัพย์สิน 1 ครั้ง

Keywords: จิตเวชฉุกเฉิน, บริการจิตเวช, ผู้ป่วยโรคจิต, พฤติกรรมรุนแรง, จิตเวช, การทำร้ายตนเอง, พฤติกรรม, ผลกระทบ

ปีที่เผยแพร่/Year: 2549

Address: หน่วยจิตเวชฉุกเฉิน งานผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลสวนสราญรมย์

Code: 2006000114

ISSN/ISBN: -

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ภาษาไทย

Category: บทคัดย่อที่ได้รับคัดเลือกนำเสนอในประชุมวิชาการสุขภาพจิตนานาชาติ ครั้งที่ 5, ณ. โรงแรมปรินซ์พาเลซ กรุงเทพฯ

Download: -