ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: เทียนทอง หาระบุตร.

ชื่อเรื่อง/Title: องค์ประกอบของการพัฒนาเครือข่ายสุขภาพจิตในจังหวัดนครปฐม.

แหล่งที่มา/Source: ประชุมวิชาการสุขภาพจิตนานาชาติ ครั้งที่ 5, ณ. โรงแรมปรินซ์พาเลซ กรุงเทพฯ, จากหลังคาแดงสู่ชุมชน ระหว่างวันที่ 3-5 กรกฎาคม 2549, หน้า 249-250.

รายละเอียด / Details:

หลักการและเหตุผล การพัฒนาเครือข่ายสุขภาพจิตในพื้นที่เขตตรวจราชการสาธารณสุขที่ 6 และ 7 ในจังหวัดนครปฐม ยังไม่มีรูปบบชัดเจน ผู้ศึกษาสนใจศึกษาการดำเนินงานเครือข่ายสุขภาพจิตในจังหวัดนครปฐม วัตถุประสงค์ เพื่อต้องการหาวิธีการดำเนินงานสุขภาพจิต พัฒนาสุขภาพจิตร่วมกับเครือข่าย จนสามารถพัฒนาทางวิชาการได้ กลุ่มตัวอย่างที่ต้องการศึกษา ศึกษาจากผู้รับผิดชอบงานสุขภาพจิตในโรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลชุมชน สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ PCU และสถานีอนามัย ขอบเขตการวิจัย 1. ขนาดกลุ่มตัวอย่าง ผู้รับผิดชอบงานสุขภาพจิตในจังหวัดนครปฐม จำนวน 88 ราย 2. การสุ่มตัวอย่าง เครือข่ายผู้รับผิดชอบงานสุขภาพจิตทุกคนในการประชุมวิชาการเครือข่ายสุขภาพจิตจังหวัดนครปฐม 3. ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัย องค์ประกอบการดำเนินการ ได้แก่ การสำรวจข้อมูลพื้นฐานของผู้รับผิดชอบงานสุขภาพจิต การสำรวจมาตรฐานการบริการสุขภาพจิต การสำรวจความเครียด ความถี่ของการประชุมและจดบันทึกการประชุม การแก้ไขปัญหา เครื่อข่ายที่มาร่วม Conference Case การจัดตั้งชมรมสุขภาพจิต และผลการดำเนินงานที่เกิดจากการทำงานเป็นทีมของเครือข่าย 4. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แบบสำรวจข้อมูลพื้นฐานของผู้รับผิดชอบงานสุขภาพจิต แบบประเมินมาตรฐานการบริการสุขภาพจิต แบบประเมินความเครียด และแบบสำรวจเป็นแบบที่ผู้ทำการศึกษากำหนดขึ้นเอง 5. การเก็บรวบรวมข้อมูล จำนวน 4 ฉบับ ประกอบด้วย ข้อมูลพื้นฐานของผู้รับผิดชอบงานสุขภาพจิต การสำรวจมาตรฐานการบริการสุขภาพจิต การสำรวจความเครียด และบทสัมภาษณ์ 6. การวิเคราะห์ ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป ใช้สถิติเชิงพรรณนา ข้อมูลรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์ พบว่าข้อมูลพื้นฐานของผู้รับผิดชอบงานสุขภาพจิตผ่านการอบรมความรู้สุขภาพจิต ร้อยละ 81 สนใจการอบรมเป็นวิทยากร ร้อยละ 90 การสำรวจมาตรฐานการบริการสุขภาพจิตที่ดำเนินการอยู่ในโรงพยาบาลศูนย์และโรงพยาบาลชุมชน เฉลี่ยร้อยละ 50 PCU และสถานีอนามัย มากกว่าร้อยละ 60.5 การสำรวจความเครียดพบว่าเครือข่ายมีความเครียดโดยเฉลี่ยเล็กน้อยจนถึงปานกลาง มีการประชุมทุกเดือน เริ่มจากดือนมกราคม 2549 เป็นต้นมา และมีการบันทึกการประชุมทุกครั้ง ในการแก้ไขปัญหาจากระบบงานมาวิเคราะห์ร่วมกันของเครือข่ายจนเกิดระบบการรับและส่งต่อผู้ป่วยเพื่อการดูแลที่มีประสิทธิภาพ ได้แก่ การป้องกันการฆ่าตัวตาย การนำกรณีศึกษาของผู้ป่วยมาวิเคราะห์เพื่อแบ่งปันประสบการณ์ และมีแพทย์จากโรงพยาบาลชุมชนร่วมแก้ไขปัญหา การจัดตั้งชมรมเครือข่ายระดับจังหวัดได้นำเข้าสู่การพิจารณา และกำหนดให้มีการจัดตั้งในปีงบประมาณ 2549 เป็นต้นไป ส่วนความก้าวหน้าของเครือข่ายคือสามารถคัดกรองผลงานสุขภาพจิตดีเด่นระดับอำเภอทุกอำเภอนำเสนอในการจัดประชุมวิชาการเครือข่ายสุขภาพจิตของจังหวัด จำนวน 15 แห่ง ตั้งแต่โรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลชุมชน และ PCU และสถานีอนามัย โดยผลงานดังกล่าวนำเผยแพร่สู่การประชุมวิชาการสุขภาพจิตนานาชาติรวม 3 ชิ้น ได้แก่ Poster Presentation 2 ชิ้น และ Oral Presentation 1 ชิ้น สรุปผลการศึกษา ผลการศึกษาในการพัฒนาเครือข่ายสุขภาพจิตในเขตตรวจราชการที่ 6 และ 7 (จังหวัดนครปฐม) พบว่าผู้รับผิดชอบงานสุขภาพจิตมีระดับความเครียดโดยเฉลี่ยเล็กน้อย จนถึงปานกลาง การดำเนินงานสุขภาพจิตตามมาตรฐานงานบริการสุขภาพจิตยังอยู่ในระดับต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน ส่วนใหญ่สนใจงานสุขภาพจิต ร้อยละ 90 และผ่านการอบรมมาแล้ว ร้อยละ 81

Keywords: สุขภาพจิต, การพัฒนา, เครือข่าย, ความเครียด, แบบประเมิน

ปีที่เผยแพร่/Year: 2549

Address: ศูนย์สุขภาพจิตที่ 4 กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข

Code: 2006000115

ISSN/ISBN: -

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ภาษาไทย

Category: บทคัดย่อที่ได้รับคัดเลือกนำเสนอในประชุมวิชาการสุขภาพจิตนานาชาติ ครั้งที่ 5, ณ. โรงแรมปรินซ์พาเลซ กรุงเทพฯ

Download: -