ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: วราภรณ์ กุประดิษฐ์.

ชื่อเรื่อง/Title: ปัจจัยที่สัมพันธ์ระหว่างแรงสนับสนุนทางสังคมกับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยจิตเภทโรงพยาบาลอุดรธานี.

แหล่งที่มา/Source: ประชุมวิชาการสุขภาพจิตนานาชาติ ครั้งที่ 5, ณ. โรงแรมปรินซ์พาเลซ กรุงเทพฯ, จากหลังคาแดงสู่ชุมชน ระหว่างวันที่ 3-5 กรกฎาคม 2549, หน้า 218-219.

รายละเอียด / Details:

หลักการและเหตุผล เนื่องจากกระแสโลกาภิวัตน์ ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทั้งทางด้านความเป็นอยู่ ครอบครัว เศรษฐกิจ สังคม การเมือง ส่งผลทำให้ประชาชนมีความเครียด วิตกกังวลมาก ตลอดจนผลกระทบต่อใช้สารเสพติด ทำให้ผู้ป่วยจิตเภทมากขึ้น (การสัมนาระดับประเทศ กรมสุขภาพจิต: 2547) และจากสถิติผู้ป่วยมีการใช้สารเสพติด (ยาบ้า) มีแนวโน้มสูงขึ้น โรงพยาบาลอุดรธานีมีผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้น ซึ่งจากสถิติประจำปีย้อนหลัง 3 ปี มีผู้ป่วยเพิ่มขึ้น ร้อยละ 1% พ.ศ. 2544 มีจำนวน 8,253 คน พ.ศ. 2545 มีจำนวน 8,718 คน พ.ศ. 2546 จำนวน 10,758 คน (สถิติโรงพยาบาลอุดรธานี 2544-2546) โรคที่ผู้ป่วยมารับบริการมากอันดับหนึ่ง คือ โรคจิตเภท ในฐานะที่ทีมวิจัย ประกอบด้วย จิตแพทย์ นักจิตวิทยาคลินิก และพยาบาลจิตเวช ซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องและเป็นผู้ให้บริการกับผู้ป่วยจิตเภท ได้เห็นความสัมพันธ์ของแรงสนับสนุนทางสังคมและคุณภาพชิวิตจึงต้องการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแรงสนับสนุนทางสังคมต่อคุณภาพชีวิตในผู้ป่วยจิตเภทที่มารับบริการที่โรงพยาบาลอุดรธานี เพื่อเป็นฐานข้อมูลในการวางแผนหารูปแบบในการพัฒนาฟื้นฟูแรงสนับสนุนทางสังคมเพื่อให้ผู้ป่วยจิตเภทมีคุณภาพชีวิตที่ดี วัตถุประสงค์การวิจัยคือ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแรงสนับสนุนทางสังคมกับคุณภาพชีวิต และเพื่อทำนายปัจจัยที่มีต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยจิตเภท กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือ ผู้ป่วยโรคจิตเภทจำนวน 400 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือในการศึกษาเป็นแบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาสัมประสิทธิ์ของเพียร์สัน และวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบเป็นขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression) ผลการศึกษาพบว่า 1. ข้อมูลส่วนบุคคลของกลุ่มตัวอย่าง พบว่ามากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 64.25 สถานภาพการสมรสนั้น เป็นโสดมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 56.50 มีระดับการศึกษามากที่สุดคือ ประถมศึกษา คิดเป็นร้อยละ 51.50 มีอาชีพมากที่สุดคือ อยู่บ้านเฉยๆ/งานบ้าน คิดเป็นร้อยละ 48.29 มีอายุ เฉลี่ยเท่ากับ 36.03 ปี รายได้ของครอบครัวโดยเฉลี่ยต่อเดือนเท่ากับ 4,197.88 บาท ระยะเวลาการเจ็บป่วยโดยเฉลี่ยเท่ากับ 7.22 ปี และระยะเวลาที่รักษาโรคเฉลี่ยเท่ากับ 6.69 ปี 2. การวิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (Intercorrelation Coefficient) ระหว่างตัวทำนายกับตัวเกณฑ์ พบว่า ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ภายในทุกตัวมีความสัมพันธ์ทางบวก 3. ตัวทำนายที่ดีในการทำนายคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคจิต (Y) ได้แก่ การตอบสนองความต้องการด้านอารมณ์ (X1) ความช่วยเหลือด้านข้อมูลข่าวสาร (X5) การมีส่วนร่วม และยอมรับในฐานะส่วนหนึ่งของสังคม (X3) สามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคจิตเภทได้ร้อยละ 43.3 มีค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐานในการทำนายเท่ากับ 8.671 4. สมการที่สามารถทำนายคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคจิตเภทโดยใช้คะแนนดิบคืด y=52.065+.920X1+1.213X5+.683X5 และสามารถทำนายคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคจิตเภทโดยใช้คะแนนมาตรฐานคือ Z=.314Z1+.461Z5+219Z3 ข้อเสนอแนะ จากงานวิจัยนี้ได้พบว่า ปัจจัยทำนายที่ดีในการทำนายคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคจิตเภทได้แก่ การตอบสนองความต้องการด้านอารมณ์ ความช่วยเหลือด้านข้อมูลข่าวสารการมีส่วนร่วม และยอมรับในฐานะส่วนหนึ่งของสังคมสามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคจิตเภทได้ และกลุ่มงานจิตเวชได้จัดทำคู่มือการดูแลผู้ป่วยจิตเภทที่สนองความต้องการแก่ผู้ป่วยตลอดจนมีการพัฒนาโปรแกรมการบำบัดด้วยยาสำหรับผู้ป่วยจิตเภทและญาติ ซึ่งเป็นงานวิจัยและพัฒนาในปี 2549 จากงานวิจัยนี้ได้พบว่าผู้ป่วยที่สถานภาพการสมรสนั้นเป็นโสดและมีภาวะซึมเศร้าในระดับสูงมาก จำนวน 3 คน ได้รับการปรึกษารายบุคคลจากจิตแพทย์และนักจิตวิทยา ทำให้ไม่มีการทำร้ายตนเอง

Keywords: จิตเภท, ผู้ป่วยจิตเภท, โรคจิต, จิตเวชศาสตร์, โรงพยาบาลอุดรธานี, แรงสนับสนุน, ปัจจัย, คุณภาพชีวิต

ปีที่เผยแพร่/Year: 2549

Address: จิตเวชโรงพยาบาลอุดรธานี

Code: 2006000116

ISSN/ISBN: -

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ภาษาไทย

Category: บทคัดย่อที่ได้รับคัดเลือกนำเสนอในประชุมวิชาการสุขภาพจิตนานาชาติ ครั้งที่ 5, ณ. โรงแรมปรินซ์พาเลซ กรุงเทพฯ

Download: -