ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: เสาวลักษณ์ ยาสุวรรณ

ชื่อเรื่อง/Title: โครงการ/กิจกรรมในพื้นที่อำเภอพร้าว

แหล่งที่มา/Source: โครงการประชุมวิชาการ การป้องกันปัญหาการฆ่าตัวตาย ครั้งที่ 5 "ก้าวต่อไปในการเรียนรู้ สู่โลกแห่งนวัตกรรม",28-30 มิถุนายน 2549, ณ โรงแรมดุสิตไอส์แลนด์ จ.เชียงราย

รายละเอียด / Details:

หลักการและเหตุผล จากการดำเนินการสุขภาพจิตในพื้นที่ โดยเฉพาะการดำเนินงานด้านการป้องกันและ แก้ไขปัญหาฆ่าตัวตายในอำเภอพร้าว พบอัตราการฆ่าตัวตายในพื้นที่ยังสูงอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2548 อัตราพยายามฆ่าตัวตายคิดเป็น 65.37 ต่อแสนประชากร และอัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จ 24.53 ต่อแสนประชากร ในขณะเดียวกันได้มีการดำเนินงานและจัดกิจกรรมด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหาฆ่าตัวตายในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง แต่อัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จในพื้นที่สูงขึ้นทุกปี จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นเพื่อหาข้อมูลในแต่ละตำบล รวมถึงหาโอกาสพัฒนาการดำเนินงาน จากข้อมูลและสถานการณ์ที่ได้จากคนในพื้นที่แต่ละตำบลมาวิเคราะห์และจัดทำแผนยุทธศาสตร์ ในการจัดกิจกรรมการดำเนินงานให้เหมาะสมกับพื้นที่ แต่ละตำบล โดยให้คนในพื้นที่ได้ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมวางแผน วัตถุประสงค์1. เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ในการมองภาพสถานการณ์และปัญหาในพื้นที่ 2. เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์รวมถึงมุมมองของคนในชุมชนแต่ละตำบล 3. เพื่อหาข้อมูลและสถานการณ์สุขภาพจิต รวมถึงสถานการณ์การทำร้ายตัวเองในพื้นที่ แนวคิดหลักในการพัฒนาองค์ความรู้ วิธีคิดกระบวนการระบบ (Systems Thinking) กระบวนการทางปัญญา และการจัดการความรู้ (KM) เป้าหมาย แกนนำชุมชน เด็ก เยาวชน กลุ่มแม่บ้าน ผู้สูงอายุ ครู อสม. ตำรวจ อบต. เจ้าหน้าที่สาธารณสุข จากการดำเนินการเวทีชุมชน เกิดการเปลี่ยนแปลงเรียนรู้และสะท้อนภาพความเป็นจริงของชุมชน ได้เห็นความแตกต่างและความคล้ายคลึงกันของแต่ละตำบล เห็นการกระจุกตัวและการกระจายตัวของข้อมูล การได้ข้อมูลพื้นที่ ซึ่งมีส่วนสำคัญต่อการพัฒนาและในการแก้ไขปัญหาการฆ่าตัวตาย ข้อมูลที่ได้จากการทำเวทีชุมชนได้สะท้อนข้อมูลกลับให้ หน่วยงานในพื้นที่ สิ่งที่ได้จากการดำเนินงาน ข้อมูลการทำร้ายตนเองพบความหลากหลายตามสถานการณ์ สถานที่ กลุ่มคน ในแต่ละตำบล สถานการณ์มีความเชื่อมโยงกับปัญหา ทั้งด้านแนวโน้ม และรูปแบบในที่เปลี่ยนไป มีกลไกการจัดการปัญหา ทั้งมีรูปแบบและไม่มีรูปแบบ ปัญหาที่เผชิญอยู่ มี 2 ลักษณะคือ เชิงโครงสร้าง และเชิงปรากฎการณ์ บทเรียนที่ได้จากการทำเวทีชุมชน 1) ทัศนคติ ความเชื่อ และวัฒนธรรมที่เปลี่ยนไป ทำให้การดำเนินงานในพื้นที่ต้องมีการวิเคราะห์ข้อมูล และจัดกิจกรรมในการดำเนินงานให้เหมาะสมกับพื้นที่ 2) ไม่ได้มีการวิเคราะห์สาเหตุปัญหาของสิ่งที่เกิดขึ้นในชุมชนโดยคนในชุมชน เวทีที่จะเปิดโอกาสที่จะแสดงความคิดเห็นสู่แผนการแก้ไขปัญหาในชุมชนมีน้อย 3) พบข้อมูลผู้ที่พยายามทำร้านตนเองแต่ไม่เข้าสู่ระบบบริการใดทำให้ไม่ได้รับการดูแลช่วยเหลืออย่างถูกต้อง 4) กิจกรรมที่ชุมชนต้องการให้ดำเนินการคือเรื่องการสื่อสารในครอบครัว ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของการทำร้ายตัวเอง

Keywords: ฆ่าตัวตาย, ปัญหาฆ่าตัวตาย, สุขภาพจิต, อำเภอพร้าว, พยายามฆ่าตัวตาย, ฆ่าตัวตายสำเร็จ, ชุมชน, เด็ก , เยาวชน, ผู้สูงอายุ, ครอบครัว การสื่อสาร, สถานการณ์สุขภาพจิต

ปีที่เผยแพร่/Year: 2549

Address: โรงพยาบาลบ้านพร้าว จังหวัดเชียงใหม่

Code: 200600012

ISSN/ISBN: -

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ไทย

Category: Paper ที่ได้รับคัดเลือกนำเสนอในที่ประชุมวิชาการ การป้องกันปัญหาการฆ่าตัวตาย ครั้งที่ 5 ประจำปี 2549 จ.เชียงราย

Download: