ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: พรประไพ แขกเต้า.

ชื่อเรื่อง/Title: การส่งเสริมสุขภาพจิตและการป้องกันปัญหายาเสพติดในสถานประกอบการ.

แหล่งที่มา/Source: ประชุมวิชาการสุขภาพจิตนานาชาติ ครั้งที่ 5, ณ. โรงแรมปรินซ์พาเลซ กรุงเทพฯ, จากหลังคาแดงสู่ชุมชน ระหว่างวันที่ 3-5 กรกฎาคม 2549, หน้า 191.

รายละเอียด / Details:

หลักการและเหตุผล บุคคลวัยทำงานเป็นทรัพยากรที่มีความสำคัญยิ่งในการพัฒนาประเทศชาติเพราะนอกจากจะเป็นผู้สร้างรายได้ให้แก่ประเทศแล้วยังเป็นผู้ดูแลสมาชิกในครอบครัว ซึ่งประกอบด้วยบุคคลวัยเด็กและวัยสูงอายุด้วย บุคคลกลุ่มนี้จึงควรได้รับการดูแลเอาใจใส่ เพื่อให้สามารถทำงานได้อย่างมีความสุขและเต็มศักยภาพของคน การดำเนินงานเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพจิตและการป้องกันปัญหายาเสพติดในสถานประกอบการ จัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพจิตและป้องกันปัญหายาเสพติดในสถานประกอบการ เพื่อสนับสนุนให้กับบุคลากรในสถานประกอบการมีความรู้ ความเข้าใจ และใช้เป็นแนวทางในการส่งเสริมสุขภาพจิตได้ วัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมสุขภาพจิตและให้การป้องกันและช่วยเหลือพนักงานที่มีปัญหายาเสพติดได้อย่างถูกต้องเหมาะสม และมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องของการส่งเสริมสุขภาพจิตและป้องกันปัญหายาเสพติดในหน่วยงานได้ กลุ่มเป้าหมาย พนักงานในสถานประกอบการโรงงานทักษิณปาล์ม จำกัด จำนวน 53 คน วิธีการดำเนินการ ติดต่อประสานงานเพื่อชี้แจงในการจัดกิจกรรมให้กับสถานประกอบการในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ประเมินแบบคัดกรองระดับความเครียดและคุณภาพชีวิตของพนักงานในสถานประกอบการ ให้ความช่วยเหลือแก่ผู้มีปัญหาและเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพจิตโดยการถ่ายทอดความรู้ คำแนะนำ ให้คำปรึกษา สนับสนุนสื่อในเรื่องการผ่อนคลายความเครียดและการเสริมสร้างความสุข อีคิว กับความสำเร็จในการทำงาน ฯลฯ ผลการปฏิบัติงาน กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 53 คน ส่วนมากเป็นเพศหญิงร้อยละ 64.16 อายุระหว่าง 20-29 ปี และ 30-39 ปี จำนวนเท่ากันคิดเป็นร้อยละ 41.50 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 100.00 สถานภาพสมรส โสดและคู่ จำนวนเท่ากัน คิดเป็นร้อยละ 47.16 จบการศึกษาระดับปริญญาตรี คิดเป็นร้อยละ 41.50 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 3,000-6,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 49.00 สถานภาพการเงินส่วนใหญ่พอใช้ไม่มีหนี้สินร้อยละ 47.16 จำนวนสมาชิกในครอบครัวส่วนใหญ่ 2-4 คน ร้อยละ 62.26 บรรยากาศในครอบครัวส่วนใหญ่ รักใคร่กลมเกลียวกัน ร้อยละ 45.28 รองลงมา เรื่อยๆ ไม่ถึงกับรักใคร่มากมายแต่ไม่ขัดแย้งกัน ร้อยละ 28.29 สำหรับคุณภาพชีวิตโดยรวมพบว่ากลุ่มเป้าหมายส่วนใหญ่มีคุณภาพชีวิตในระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 73.57 รองลงมาเป็นคุณภาพชีวิตที่ดีคิดเป็นร้อยละ 22.64 เมื่อจำแนกตามระดับความเครียดพบว่า ส่วนมากมีความเครียดระดับปกติ (ไม่เครียด) คิดเป็นร้อยละ 71.70 และความเครียดสูงกว่าปกติเล็กน้อย คิดเป็นร้อยละ 16.98 ข้อเสนอแนะ ร่วมวางแผนกับฝ่ายบุคลากรเพื่อเก็บข้อมูลภาวะสุขภาพจิตในสถานประกอบการคัดเลือก กลุ่มเสี่ยงเพื่อให้การช่วยเหลือติดตามประเมินผลบุคลากรในสถานประกอบการอย่างต่อเนื่อง

Keywords: สุขภาพจิต, ยาเสพติด, การป้องกัน, การส่งเสริม, สารเสพติด, สถานประกอบการ, โรงงานทักษิณปาล์ม

ปีที่เผยแพร่/Year: 2549

Address: งานจิตเวชชุมชน โรงพยาบาลสวนสราญรมย์

Code: 2006000129

ISSN/ISBN: -

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ภาษาไทย

Category: บทคัดย่อที่ได้รับคัดเลือกนำเสนอในประชุมวิชาการสุขภาพจิตนานาชาติ ครั้งที่ 5, ณ. โรงแรมปรินซ์พาเลซ กรุงเทพฯ

Download: -