ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: ลัดดาวัลย์ พิบูลย์ศรี.

ชื่อเรื่อง/Title: การบริหารจัดการความรู้ (KM) เรื่องการป้องกันการฆ่าตัวตายในโรงพยาบาลสวนปรุง.

แหล่งที่มา/Source: ประชุมวิชาการสุขภาพจิตนานาชาติ ครั้งที่ 5, ณ. โรงแรมปรินซ์พาเลซ กรุงเทพฯ, จากหลังคาแดงสู่ชุมชน ระหว่างวันที่ 3-5 กรกฎาคม 2549, หน้า 169.

รายละเอียด / Details:

หลักการและเหตุผล ในภาคเหนือตอนบนมีอัตราการฆ่าตัวตายสูงสุดในประเทศ กระทรวงสาธารณสุขจึงได้บรรจุเรื่อง การป้องกันและแก้ไขการฆ่าตัวตายเป็น วาระแห่งชาติโดยตั้งเป้าหมายให้ลดอัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จลงไม่เกิน 7 ต่อแสนประชากร โรงพยาบาลสวนปรุง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นโรงพยาบาลเฉพาะทางจิตเวชให้บริการส่งเสริมป้องกันบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพแก่ผู้ป่วยจิตเวชในเขต 13 จังหวัด ภาคเหนือ พบว่ามีผู้ป่วยจิตเวชที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลสวนปรุง ปี พ.ศ. 2546-2548 มีจำนวน 7,619 คน, 7,689 คน และ 7,208 คน มีผู้ป่วยพยายาม ฆ่าตัวตายขณะเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลไม่สำเร็จ คิดเป็นร้อยละ 0.16 ร้อยละ 0.08 และร้อยละ 0.21 มีผู้ป่วยฆ่าตัวตายสำเร็จ ในขณะเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลสวนปรุง คิดเป็นร้อยละ 0.02,0.01 และร้อยละ 0.05 ตามลำดับ (โรงพยาบาลสวนปรุง 2548) โรงพยาบาลสวนปรุง กรมสุขภาพจิต ได้เห็นความสำคัญต่อการดูแล ผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายในโรงพยาบาล จึงได้จัดโครงการนี้ขึ้น วัตถุประสงค์ เพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และสกัดความรู้จากการปฏิบัติงานการป้องกันการฆ่าตัวตายในโรงพยาบาลสวนปรุง ขอบเขตการวิจัย ศึกษาในบุคลากรสหวิชาชีพที่มีประสบการณ์ในการดูแล ป้องกันการฆ่าตัวตายในโรงพยาบาลสวนปรุง ระหว่างวันที่ 25-26 พ.ค. 49 ระเบียบวิธีวิจัย กลุ่มตัวอย่างคือ พยาบาลวิชาชีพ พยาบาลเทคนิคและนักจิตวิยา ที่มีประสบการณ์ การป้องกันการฆ่าตัวตายในผู้ป่วยจิตเวช โรงพยาบาลสวนปรุง จำนวน 33 คน สุ่มตัวแบบเจาะจง แนวคิดที่ใช้ในการศึกษา คือ การบริหารจัดการความรู้ (Knowledge Management) รวบรวมข้อมูลโดยวิธีการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีการสังเคราะห์เนื้อหา สรุปผลการศึกษา จากผลการวิเคราะห์ข้อมูลมีดังนี้ 1.การจัดการการป้องกันการฆ่าตัวตาย ในส่วนของผู้บำบัดปฏิบัติดังนี้ สร้างสัมพันธภาพโดยการใช้ Verbal และ Non Verbal Emphaty (การเข้าใจ) Attention (การเอาใจใส่) การยอมรับอย่างปราศจากเงื่อนไข 2.การจัดกระบวนการดูแลรักษา มีดังนี้จัดลำดับความสำคัญของ Case การรวบรวมข้อมูล การประเมินความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย การสร้างสัมพันธภาพเชิงบวก การจัดสิ่งแวดล้อม การให้ข้อมูลด้านการรักษาพยาบาล Medical Treatment PCT เสริมสร้าง Self-Esteem เสริมสร้าง Positive-Thinking ชี้ให้เห็น Key Person หาสิ่งยึดเหนี่ยว ดึงศักยภาพของผู้ป่วย การส่งต่อข้อมูลในทีมรักษา และในชุมชน สนับสนุน Social Support ข้อเสนอแนะ ควรมีการบริการจัดการความรู้ในหน่วยงานในทุกประเด็นปัญหา

Keywords: การบริหารจัดการความรู้, km, ฆ่าตัวตาย, โรงพยาบาลสวนปรุง, ภาคเหนือ, อัตราการฆ่าตัวตาย, ผู้ป่วนจิตเวช, ความเสี่ยง, การบริหารจัดการ, การบำบัดรักษา

ปีที่เผยแพร่/Year: 2549

Address: โรงพยาบาลสวนปรุง

Code: 2006000133

ISSN/ISBN: -

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ภาษาไทย

Category: บทคัดย่อที่ได้รับคัดเลือกนำเสนอในประชุมวิชาการสุขภาพจิตนานาชาติ ครั้งที่ 5, ณ. โรงแรมปรินซ์พาเลซ กรุงเทพฯ

Download: -