ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: อุบลรัตน์ จันต๊ะโมกข์

ชื่อเรื่อง/Title: ผลการดำเนินงาน การป้องกันปัญหาการฆ่าตัวตาย ประจำปี พ.ศ. 2549

แหล่งที่มา/Source: โครงการประชุมวิชาการ การป้องกันปัญหาการฆ่าตัวตาย ครั้งที่ 5 "ก้าวต่อไปในการเรียนรู้ สู่โลกแห่งนวัตกรรม",28-30 มิถุนายน 2549, ณ โรงแรมดุสิตไอส์แลนด์ จ.เชียงราย

รายละเอียด / Details:

จังหวัดน่านมีการดำเนินงานด้านการคัดกรองผู้มารับบริการตามระบบการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาของผู้ที่มีภาวะซึมเศร้าและพยายามฆ่าตัวตาย ด้วย รง.506.DS มบ. ตั้งแต่ ปี 2547 ถึงปัจจุบันมีอัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จในปี พ.ศ. 2546, 2547 และ 2548 เท่ากับ 9.44, 9.78, 14.16 ต่อแสนประชากร ตามลำดับนับว่ามีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ดังนั้น เพื่อให้ประชาชนจังหวัดน่านสามารถเข้าถึงบริการสุขภาพด้านสุขภาพจิต จึงต้องจัดให้มีระบบบริการทางด้านสุขภาพจิต จิตเวชและป้องกันปัญหาการฆ่าตัวตายที่มีคุณภาพ ทั้งการส่งเสริม เฝ้าระวัง ควบคุม ป้องกันปัญหา โดยพัฒนาศักยภาพ คุณภาพบุคลากรในการดำเนินงาน รวมถึงการดำเนินงานร่วมกับทุกภาคส่วน ให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายเพื่อดูแลช่วยเหลือผู้มีปัญหาครอบคลุมเพิ่มมากขึ้นทั้งในสถานบริการสาธารณสุขและในชุมชน วัตถุประสงค์ทั่วไป 1. อัตราฆ่าตัวตายสำเร็จของจังหวัดน่านลดลงไม่เกิน 7.0 ต่อแสนประชากร 2. ร้อยละ 80 ของผู้พยายามฆ่าตัวตายได้รับการดูแลช่วยเหลืออย่างต่อเนื่อ วัตถุประสงค์เฉพาะ 1. เพื่อขยายผลชุมชนสุขภาพใจดีเด่นในพื้นที่ที่มีปัญหารุนแรง 2. เพื่อให้เกิดเครือข่ายการทำงานระหว่างเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและภาคีสุขภาพ (ท้องถิ่นชุมชน โรงเรียน วัด) ในพื้นที่ 3. เพื่อให้ประชาชนมีแหล่งให้ความช่วยเหลือ/ให้บริการด้านสุขภาพจิตเพิ่มขึ้น 1. กลุ่มบุคลากรสาธารณสุข 15 อำเภอ 2. ภาคีสุขภาพในพื้นที่ ได้แก่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ชุมชน โรงเรียน วัด ผลการดำเนินงาน 1. โรงพยาบาลทุกแห่ง ดำเนินการประเมิน เฝ้าระวัง ควบคุม ปัองกันปัญหาการฆ่าตัวตาย (ข้อมูลทางระบาดวิทยา รง.506 DS มบ.1) และดูแล รักษา ฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยโรคทางจิตเวชอย่างเป็นระบบ 2. พัฒนาศักยภาพบุคลากร โดยอบรมฟื้นฟูวิชาการโรคทางจิตเวช และการเฝ้าระวัง ควบคุม ป้องกันปัญหาการฆ่าตัวตาย (ข้อมูลทางระบาดวิทยา) แก่ผู้รับผิดชอบงานในระบบบริการในโรงพยาบาลชุมชนและสถานีอนามัยทุกแห่ง 3. ทีมจิตแพทย์ โรงพยาบาลน่าน ออกบริการในคลินิกสุขภาพจิตจิตเวชและให้ความรู้ด้านโรคทางจิตเวช (Case Conference) ในเครือข่ายโรงพยาบาลชุมชน โดยแบ่งออกเป็น 3 เครือข่ายตามสภาพภูมิศาสตร์ โดยมี โรงพยาบาลน่าน, โรงพยาบาลสมเด็จ, ปัว, โรงพยาบาลเวียงสา, โรงพยาบาลเชียงกลาง, โรงพยาบาลท่าวังผา เป็นแม่ข่าย 4. ชุมชน พื้นที่เป้าหมาย 15 อำเภอ 15 ชุมชน/หมู่บ้าน มีการดำเนินกิจกรรมสร้างเสริมมุขภาพใจในชุมชนอย่างมีส่วนร่วม ระหว่างสถานบริการสาธารณสุข องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและภาคีสุขภาพในพื้นทีเกิดเครือข่ายการทำงานในการจัดกืจกรรมการสร้างเสริมสุขภาพจิตสู่ชุมชน (ครอบครัวเข้มแข็ง) รวมทั้งได้ขยายผลการดำเนินงานร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ เช่น อำเภอเชียงกลาง , อำเภอท่าวังผา, อำเภอบ้านหลวง, อำเภอนาหมื่น สามารถให้การดูแลช่วยเหลือเบื้องต้นแก่ผู้มีปัญหาสุขภาพจิต ป้องกันปัญหาการฆ่าตัวตายได้อย่างเหมาะสม 5. สถานศึกษา (โรงเรียนมัธยมศึกษา) ในพื้นที่เป้าหมาย 2 อำเภอได้แก่ อ.นาหมื่นและอำเภอบ้านหลวงได้ร่วมกับ โรงพยาบาลนาหมื่นและโรงพยาบาลบ้านหลวง ดำเนินการกิจกรรมโครงการ "การพัฒนาความเข้มแข็งทางใจ (Resilience) แก่นักเรียนมัธยมศึกษา" ปัญหา/ข้อเสนอแนะ ผู้รับผิดชอบงานในสถานบริการทุกระดับ มีภาระงานมาก เปลี่ยนบ่อย ทำให้บางกิจกรรมไม่สามารถทำได้ครอบคลุมเต็มพื้นที จึงต้องดำเนินกิจกรรมตามสภาพปัญหา ความต้องการของพื้นที่เป็นหลักในการดำเนินงาน

Keywords: ฆ่าตัวตาย, การป้องกันปัญหาฆ่าตัวตาย ปี 2549, ระบาดวิทยา, ฆ่าตัวตายสำเร็จ, ภาคีสุขภาพ, โรคทางจิตเวช, จิตเวชศาสตร์, ภาวะซึมเศร้า, พยายามฆ่าตัวตาย

ปีที่เผยแพร่/Year: 2549

Address: งานสุขภาพจิต จิตเวชและป้องกันปัญหาการฆ่าตัวตาย

Code: 200600015

ISSN/ISBN: -

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ไทย

Category: Paper ที่ได้รับคัดเลือกนำเสนอในที่ประชุมวิชาการ การป้องกันปัญหาการฆ่าตัวตาย ครั้งที่ 5 ประจำปี 2549 จ.เชียงราย

Download: