ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: ก้องเกียรติ อุเต็น

ชื่อเรื่อง/Title: ผลการดำเนินงานโครงการค่ายเยาวชนคนดี To be number one.

แหล่งที่มา/Source: ประชุมวิชาการสุขภาพจิตนานาชาติ ครั้งที่ 5, ณ. โรงแรมปรินซ์พาเลซ กรุงเทพฯ, จากหลังคาแดงสู่ชุมชน ระหว่างวันที่ 3-5 กรกฎาคม 2549, หน้า 92.

รายละเอียด / Details:

หลักการและเหตุผล การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดสามารถกระทำได้หลายแนวทาง ค่าย อบรมถือเป็นอีกวิธีการหนึ่งที่จะทำให้บรรลุผล โรงพยาบาลสวนปรุงจึงได้ร่วมกับศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน เขต 7 จังหวัดเชียงใหม่ นำเด็กและเยาวชนที่กระทำความผิดเกี่ยวกับ พรบ. ยาเสพติดให้โทษที่อยู่ในศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนและใกล้ครบกำหนดการปล่อยตัวมาเข้าค่ายอบรมเพื่อ เตรียมความพร้อมก่อนกลับสู่สังคม และไม่กลับไปกระทำความผิดซ้ำ วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลการดำเนินงานการอบรมโครงการค่ายเยาวชนคนดี To be number one และผลการติดตามการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมเด็กและเยาวชนเมื่อกลับเข้าสู่สังคม ขอบเขตการวิจัย ประชากรคือ เด็กและเยาวชนที่กระทำ ความผิดตามพรบ.ยาเสพติดให้โทษ ถูกศาลตัดสินให้อยู่ในศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน เขต 7 จังหวัดเชียงใหม่ และมีกำหนดใกล้ปล่อยตัว จำนวน 240 คน ในระหว่างปี พ.ศ. 2547-2549 วิธีดำเนินการ - จัดค่ายอบรม ระยะเวลา 10-12 วัน จำนวน 6 รุ่น รุ่นละ 40 คน รวม 240 คน ช่วงระหว่างปี 2547-2549 - เครื่องมือที่ใช้ในค่ายอบรม ประกอบด้วย คู่มือค่ายเยาวชน การสังเกต การสัมภาษณ์ แบบสอบถาม แบบวัด แบบทดสอบ นำมาวิเคราะห์ความถี่ ร้อยละ และเนื้อหา ติดตามผลหลังอบรม 6 เดือนและ 1 ปี โดยการตอบแบบสอบถามทางไปรษณีย์ การสอบถามทางโทรศัพท์ และการเยี่ยมบ้าน ผลการดำเนินงาน 1.จัดค่ายอบรม ระยะเวลา 10-12 วัน จำนวน 6 รุ่น รุ่นละ 40 คน รวม 240 คนแยกเป็น ปี 2547 รุ่นละ 12 วันจำนวน 3 รุ่น ปี 2548 รุ่นละ 10 จำนวน 2 รุ่น และปี 2549 รุ่นละ จำนวน 1 รุ่น โดยให้ครอบครัวเข้ามามีส่วนในกิจกรรม 3 วันสุดท้ายของการอบรมในแต่ละรุ่น 2.เด็กและเยาวชนเป็นเพศชายร้อยละ 95.00 มีการศึกษาระดับมัธยมต้น ร้อยละ 53.45 มีระดับเชาว์ปัญญาอยู่ในเกณฑ์เฉลี่ย ร้อยละ 61.53 มีความฉลาดทางอารมณ์อยู่ในเกณฑ์เฉลี่ย ร้อยละ 67.70 ผลการวัดความรู้ก่อนการอบรม ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 21.25 และหลังการอบรมมีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 24.85 3.พ่อแม่และเด็กมีการรับรู้การทำหน้าที่ของครอบครัวแตกต่างกันในด้านการแก้ปัญหา ด้านบทบาทหน้าที่และด้านการตอบสนองทางอารมณ์ 4.ภายหลังการอบรม สามารถติดตามได้ 182 คน คิดเป็นร้อยละ 75.8 โดยมีพฤติกรรมกระทำผิดซ้ำและถูกจับกุมดำเนินอยู่ในสถานพินิจฯ เรือนจำ ร้อยละ 3.75 กระทำความผิดซ้ำ แต่ยังไม่ถูกจับกุม ร้อยละ 7.67 และพฤติกรรมโดยรวมดีขึ้น ร้อยละ 88.58 ข้อเสนอแนะ สมาชิกทุกครอบครัวควรมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเตรียมความพร้อมก่อนรับเยาวชนกลับสู่สังคม ชุมชน ควรมีการประสานงานกับพื้นที่ในการติดตามประเมินผลอย่างต่อเนื่อง และบุคลากรในแต่ละพื้นที่ควรมีเวทีนำเสนอผลงานและแลกเปลี่ยนประสบการณ์

Keywords: เยาวชน, ยาเสพติด, การป้องกัน, การอบรม, พฤติกรรม, ค่ายเยาวชนคนดี, to be number one, วัยรุ่น, นักเรียนมัธยม, คู่มือค่ายเยาวชน, ปัญหายาเสพติด

ปีที่เผยแพร่/Year: 2549

Address: โรงพยาบาลสวนปรุง กรมสุขภาพจิต

Code: 2006000154

ISSN/ISBN: -

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ภาษาไทย

Category: บทคัดย่อที่ได้รับคัดเลือกนำเสนอในประชุมวิชาการสุขภาพจิตนานาชาติ ครั้งที่ 5, ณ. โรงแรมปรินซ์พาเลซ กรุงเทพฯ

Download: -