ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: เตือนใจ ห่วงสายทอง, วิภา วณิชกิจ.

ชื่อเรื่อง/Title: ศึกษาการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะในผู้ป่วยจิตเวช สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา.

แหล่งที่มา/Source: ประชุมวิชาการสุขภาพจิตนานาชาติ ครั้งที่ 5, ณ. โรงแรมปรินซ์พาเลซ กรุงเทพฯ, จากหลังคาแดงสู่ชุมชน ระหว่างวันที่ 3-5 กรกฎาคม 2549, หน้า 246.

รายละเอียด / Details:

หลักการและเหตุผล การติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะเป็นปัญหาที่สำคัญในผู้ป่วยจิตเวชและจะเกิดขึ้นซ้ำบ่อยๆซึ่งยังไม่มีการศึกษาในผู้ป่วยจิตเวชในประเทศไทยประกอบกับคิดว่าการติดเชื้อในผู้ป่วยจิตเวชไม่มีความสำคัญแต่ในความเป็นจริงผู้ป่วยจิตเวชมีความพร่องในการดูแลตนเองทางด้านสุขอนามัย ดังนั้นพยาบาลจิตเวชจึงต้องให้การดูแลและสังเกตอาการอย่างใกล้ชิดจึงพบว่าผู้ป่วยติดเชื้อเป็นมูลเหตุจูงใจให้ศึกษา วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสาเหตุและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของผู้ป่วยจิตเวชที่มีการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ ขอบเขตการดำเนินงาน ผู้ป่วยในจิตเวชและประสาทจิตเวชศาสตร์จำนวน 15 หอผู้ป่วย จำนวน 482 ราย ( ผู้ป่วยที่ได้รับหัตถการสวนปัสสาวะ 294 ราย และผู้ป่วยที่ไม่ได้ทำหัตถการสวนปัสสาวะ 188 ราย) ระหว่างต.ค. 45-ก.ย. 58 ที่ได้รับหัตถการสวนปัสสาวะและผู้ป่วยที่เกิดการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ วิธีดำเนินการโดยพยาบาลป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในหอผู้ป่วย เป็นผู้บันทึกข้อมูลลงในแบบฟอร์มเฝ้าระวังการติดเชื้อ Targeted Surveillance สำหรับผู้ป่วยที่คาสายปัสสาวะทั้งหมดและ ผู้ป่วยที่เกิดการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะทุกราย ผลการศึกษา พบว่าผู้ป่วยที่ได้รับหัตถการสวนปัสสาวะ จำนวน 294 ราย มีการติดเชื้อ 45 ราย (33.3%)ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง 26 ราย (57.8%) อายุ 60 ปีขึ้นไป 32 ราย (71%) เป็นผู้ป่วย CVA 26 ราย (57.7%) ใส่สายสวนคานาน 10 วันขึ้นไป 39 ราย (86.6%) พบเชื้อก่อโรค E.Coli, Klebsiella 6 ราย (13.3% ) เป็นการรักษาแบบ Empirical Treatment 30 ราย (66.6% ) ยา Antibiotic ส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่ม Cephalosporins 12 ราย( 12.3% ) สำหรับผู้ป่วยจิตเวชที่ติดเชื้อ โดยไม่ได้ทำหัตถการสวนปัสสาวะ จำนวน 188 ราย มีการติดเชื้อ 97 ราย (51.5% ) เป็นเพศหญิง 69 ราย ( 71.1% ) อายุ 60 ปีขึ้นไป 40 ราย (41.2% ) เป็นผู้ป่วยที่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้ 51 ราย (52.5% ) เป็น CVA 18 ราย ( 18.3%) ต้องใส่ Pampurs 28 ราย ( 28.8% ) เชื้อก่อโรค เป็น E.Coli 17 ราย ( 17.5 % ) ได้รับการรักษาแบบ Empirical Treatment 80 ราย (82.5%) ยา antibiotic ส่วนใหญ่ได้รับยากลุ่ม Quinolone 63 ราย (64.9%) สรุปและเสนอแนะ จากการศึกษาพบว่ามีสาเหตุจากพยาธิสภาพและความสามารถในการช่วยเหลือตนเอง และการใส่สายสวนปัสสาวะเป็นระยะเวลานาน ผู้ศึกษาจึงนำข้อมูลที่ได้มาวางแผนพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยจิตเวชยังช่วยลดการใช้ยา Antibiotic และลดการดื้อยาของเชื้อ ตลอดจนค่าใช้จ่ายในการรักษาโดย ไม่จำเป็นซึ่งเป็นภาระของสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา เนื่องจากผู้ป่วยมีฐานะยากจน

Keywords: ผู้ป่วยจิตเวช, การติดเชื้อ, ระบบทางเดินปัสสาวะ, เฝ้าระวังติดเชื้อ, ผู้ป่วยโรคจิต, การพยาบาลจิตเวช, บริการพยาบาล, จิตเวช, จิตเวชศาสตร์

ปีที่เผยแพร่/Year: 2549

Address: สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา กรมสุขภาพจิต

Code: 2006000158

ISSN/ISBN: -

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ภาษาไทย

Category: บทคัดย่อที่ได้รับคัดเลือกนำเสนอในประชุมวิชาการสุขภาพจิตนานาชาติ ครั้งที่ 5, ณ. โรงแรมปรินซ์พาเลซ กรุงเทพฯ

Download: -