ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: บุปผวรรณ พัวพันธ์ประเสริฐ, ศุภสิทธ์ พรรณนารุโณทัย

ชื่อเรื่อง/Title: การใช้เครื่องวัดทางจิตเวชของแพทย์และพยาบาลของประเทศไทย.

แหล่งที่มา/Source: ประชุมวิชาการสุขภาพจิตนานาชาติ ครั้งที่ 5, ณ. โรงแรมปรินซ์พาเลซ กรุงเทพฯ, จากหลังคาแดงสู่ชุมชน ระหว่างวันที่ 3-5 กรกฎาคม 2549, หน้า 82.

รายละเอียด / Details:

หลักการและเหตุผล เครื่องวัดทางจิตเวข (Psychiatric measurement) มีประโยชน์ต่อการรักษาพยาบาล ผู้ป่วยจิตเวชหลายด้าน นอกจากนั้นเครื่องวัดยังสามารถใช้เป็นเครื่องมือสำหรับช่วยในการจัดสรรงบประมาณรักษาพยาบาลที่เป็นธรรมได้ด้วย ส่วนในประเทศไทย พบว่ามีการใช้เครื่องวัดทางจิตเวชบ้าง แต่ยังไม่พบว่ามีการนำเครื่องวัดมาใช้เพื่อการจัดสรรงบประมาณแต่อย่างไร วัตถุประสงค์ ดังนั้นการศึกษานี้จึงทำการสำรวจการใช้เครื่องวัดทางจิตเวชสำหรับการจัดสรรงบประมาณผู้ป่วยจิตเวชของประเทศจากแพทย์และพยาบาลของโรงพยาบาลจิตเวชทั่วไปประเทศ ขอบเขตการวิจัย และระเบียบวิธีวิจัย การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงสำรวจภาคตัดขวาง เก็บข้อมูลจากแบบสอบถามระหว่างเดือนเมษายน-กันยายน พ.ศ. 2547 แบบสอบถามได้รับการตอบกลับคืนในอัตราร้อยละ 50.0 สรุปผลการวิจัย และข้อเสนอแนะ ผลการศึกษาพบว่าแพทย์และพยาบาลส่วนมากที่ทำงานงานบริการผู้ป่วยจิตเวชเคยใช้เครื่องวัดแล้ว และมีความเห็นด้วยที่จะมีการนำเครื่องวัดมาใช้เป็นเครื่องมือในการจัดสรรงบประมาณ และพร้อมจะให้ความร่วมมือในการวัดระดับปานกลางถึงมาก โดยเครื่องมือที่พึงประสงค์ควรสั้นใช้เวลาวัดไม่เกิน 10 นาที และเหมาะสมสำหรับพยาบาลวัดจากความเห็นเครื่องวัดที่เหมาะคือ Global Assessment of Functioning Scale (GAF), Clinical Global Impressions (CGI), และ Health of the Nation Outcome Scales (HoNOS) ตามลำดับ จากศึกษาได้ข้อมูลเบื้องต้นที่เป็นประโยชน์ สำหรับพิจารณาแนวทางการพัฒนาระบบการจัดสรรงบประมาณผู้ป่วยจิตเวชของไทยโดยใช้เครื่องวัดทางจิตเวชเป็นเครื่องมือต่อไป

Keywords: เครื่องวัดทางจิตเวช, ผู้ป่วยจิตเวช, การพัฒนา, งบประมาณ, จิตเวช, จิตเวชศาสตร์, psychiatric measurement

ปีที่เผยแพร่/Year: 2549

Address: โรงพยาบาลสวนปรุง และศูนย์ติดตามความเป็นธรรมทางสุขภาพ มหาวิทยาลัยนเรศวร

Code: 200600016

ISSN/ISBN: -

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ภาษาไทย

Category: บทคัดย่อที่ได้รับคัดเลือกนำเสนอในประชุมวิชาการสุขภาพจิตนานาชาติ ครั้งที่ 5, ณ. โรงแรมปรินซ์พาเลซ กรุงเทพฯ

Download: -