ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: นุชจรินทร์ โมระเสริฐ, กาญจนา สุทธิเนียม, ชลพร กองคำ.

ชื่อเรื่อง/Title: ผลการใช้โปรแกรมการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยจิตเภทแบบสหวิชาชีพ.

แหล่งที่มา/Source: ประชุมวิชาการสุขภาพจิตนานาชาติ ครั้งที่ 5, ณ. โรงแรมปรินซ์พาเลซ กรุงเทพฯ, จากหลังคาแดงสู่ชุมชน ระหว่างวันที่ 3-5 กรกฎาคม 2549, หน้า 229.

รายละเอียด / Details:

หลักการและเหตุผลโรคจิตเภทเป็นโรคที่พบมากที่สุดในโรงพยาบาลจิตเวชจากสถิติการรับผู้ป่วยแผนกผู้ป่วยในของสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยาในปี 2547 พบว่ามีผู้ป่วยจิตเภทที่รับไว้จำนวน 2598 รายคิดเป็น 57.09% และพบว่าอัตราการ readmission ของผู้ป่วยจิตเภทในปี 2546-2548 มีจำนวน 8.3,9.6และ 7.98 ตามลำดับ ปัจจุบันโรงพยาบาลจิตเวชมีการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยที่แตกต่างกันขึ้นกับบริบทของแต่ละโรงพยาบาล สถาบันจิตเวชสมเด็จเจ้าพระยาเช่นกันมีระบบการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยมานานแล้วโดยทีมสหวิชาชีพ แต่จะเน้นเฉพาะช่วงเวลาก่อนการจำหน่าย และมุ้งเน้นแก้ไขปัญหาเรื่องอาการทางจิตมากกว่าการแก้ไขปัญหาในการปรับตัวของผู้ป่วยเพื่อกลับสู่ครอบครัวและสังคม นอกจากนี้ยังขาดการประเมินผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรมในแต่ระยะของผู้ป่วยและติดตามผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องเมื่อจำหน่ายออกจากสถาบันฯ ตลอดจนแต่ละวิชาชีพยังมีการใช้ข้อมูลร่วมกันน้อยในการใช้วินิจฉัยปัญหาและความต้องการของผู้ป่วย ซึ่งที่จริงแล้วการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยคือกระบวนการเริ่มตั้งแต่รับผู้ป่วยไว้เป็นผู้ใน ให้การดูแลรักษาแบบองค์รวม มีการแก้ไขปัญหาทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ สังคม จิตวิญาณโดยทีมสหวิชาชีพร่วมกันวางแผนการบำบัดรักษา และให้ญาติมีส่วนร่วมในการดูแลด้วยอีกทั้งคำนึงถึงเป้าหมายที่จะช่วยให้ผู้ป่วยให้ได้รับการดูแลรักษาที่มีคุณภาพได้มาตรฐานและต่อเนื่องจนกระทั่งกลับไปอยู่ในชุมชนได้ตามศักยภาพของผู้ป่วยในแต่ละราย วัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาการใช้โปรแกรมการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยจิตเภทแบบสหวิชาชีพ ขอบเขต ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นจิตเภทโดยแบ่งเป็น 1 St schizophrenia และ schizophaenia ที่ readmission ใน 28 วัน โดยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครและเข้ารับการรักษาแบบผู้ป่วยใน และยินยอมเข้าร่วมโปรแกรมวางแผนจำหน่าย จำนวน 61 คน เครื่องมือ โปรแกรมการวางแผนจำหน่ายโดยสหวิชาชีพ Care map แบบวัดผลลัพธ์ของสหวิชาชีพ แบบวัดความพึงพอใจ ผลการศึกษา พบว่าผู้ป่วย 1 st schizophrenia จำนวน 29 รายและผู้ป่วย schizophrenia ที่ readmitted ภายใน 28 วันจำนวน 32 ราย ผู้ป่วยมีคะแนน BPRS ก่อนจำหน่ายลดลงตามเกณฑ์ ( 30% ) คิดเป็นร้อยละ 65 ผู้ป่วยมาตรวจตามนัดที่ OPD และสามารถอยู่บ้านทำงานได้ตามปกติ 20 ราย มาตรวจตามนัดที่ OPD และสามารถช่วยงานบ้านได้ 3 รายมาตรวจตามนัดที่ OPD และดูแลตนเองได้ 8 ราย ผู้ป่วย Readmission จำนวน 9 ราย และอยู่ระหว่างนัดจำนวน 5 รายและยัง Admitted อยู่จำนวน 6 ราย ผู้ป่วย readmission จำนวน 9 รายเป็นผู้ป่วยกลุ่มที่ readmitted ภายใน 28 วัน ซึ่งผู้ป่วยเหล่านี้มีระยะเวลาเฉลี่ยอยู่บ้าน 10 วันหลังเข้าโครงการถึงแม้ว่าจะกลับเข้ารักษาซ้ำ สาเหตุที่กลับเข้ารักษาซ้ำคือ การไม่มีผู้ดูแลทำให้ขาดยา การใช้สารเสพติด High EE ในครอบครัว และอยู่ระหว่างรอเยี่ยมบ้าน จากทีมจิตเวชชุมชนและนักสังคมสงเคราะห์ ข้อเสนอแนะ ควรมีการมีการปรับเปลี่ยนโปรแกรมการติดตามให้เหมาะสมกับผู้ป่วยในแต่ละรายหรือมีการส่งต่อเครือข่าย กทม. เพื่อให้สามารถติดตามผู้ป่วยได้เหมาะสมกับบริบทของผู้ป่วยมากยิ่งขึ้น

Keywords: ผู้ป่วยจิตเภท, ครอบครัว, สังคม, โปรแกรมวางแผนจำหน่าย, โรคจิตเภท, ผู้ป่วยจิตเวช, โรคจิต, สหวิชาชีพ, การกลับมารักษาซ้ำ, การปรับตัว, ความพึงพอใจ, จิตเวช, จิตเวชศาสตร์, schizophrenia, readmission

ปีที่เผยแพร่/Year: 2549

Address: สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา กรมสุขภาพจิต

Code: 2006000160

ISSN/ISBN: -

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ภาษาไทย

Category: บทคัดย่อที่ได้รับคัดเลือกนำเสนอในประชุมวิชาการสุขภาพจิตนานาชาติ ครั้งที่ 5, ณ. โรงแรมปรินซ์พาเลซ กรุงเทพฯ

Download: -