ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: เจษฎา จงไพบูลย์พัฒนา, ทัปปณ สัมปทณรักษ์และคณะ

ชื่อเรื่อง/Title: การเกิดอาการแพนิค กับประวัติการใช้สารเสพติดโดยเฉพาะกัญชา ความสัมพันธ์ที่น่าสนใจ ?

แหล่งที่มา/Source: ประชุมวิชาการสุขภาพจิตนานาชาติ ครั้งที่ 5, ณ. โรงแรมปรินซ์พาเลซ กรุงเทพฯ, จากหลังคาแดงสู่ชุมชน ระหว่างวันที่ 3-5 กรกฎาคม 2549, หน้า 137.

รายละเอียด / Details:

ภาวะโด่งดังจาก ยาอัลพาโซแลม ที่ใช้ในการรักษาโรคแพนิค หรือมีการนำไปใช้ในการรักษาอาการนอนไม่หลับอย่างผิดวิธี ได้ถูกมิจฉาชีพนำมาใช้มอมยา กับนายตำรวจท่านหนึ่งจนเสียชีวิตเมื่อกับสุราและอาจได้ในขนาดสูง นอกจากนั้นในอดีตมักเป็นข่าวอยู่บ่อยครั้งถึงผู้ที่ฆ่าตัวตาย โดยเฉพาะผู้ที่มีชื่อเสียงหลายท่าน มีประวัติการซื้อยาเหล่านี้มารับประทานเองและร่วมกับการดื่มสุรา จนนำไปสู่การฆ่าตัวตายก็เป็นสิ่งที่น่าสังเกตเช่นกัน เป็นที่ทราบกันดีว่าสารเสพติดหลายชนิด สัมพันธ์กับการเกิดอาการทางจิตจำพวกโรคจิต โรควิตกกังวล โรคทางอารมณ์หรืออื่น ๆ โดยอาการทางจิต มักสัมพันธ์กับสารเคมีในสมองที่ชื่อ โดปามีน และนอร์อดรีนาลีนโรคแพนิคยังไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจน แต่สันนิษฐานว่าสัมพันธ์กับการหลั่งสารเคมีที่มีชื่อ นอร์อดรีนาลีน มากเกินไปจากสมองส่วน โลคัล เซลลูเรียส จากการสัมภาษณ์ผู้ป่วยโดยการซักประวัติและตรวจสอบย้อนหลังของผู้ป่วยที่มาโรงพยาบาลด้วยอาการแพนิค พบว่ามีสัดส่วนเป็นจำนวนมากที่มีประวัติในอดีตเคยทดลองหรือใช้สารเสพติดประเภทกัญชา สารเสพติดประเภทกัญชา ส่งผลต่ออาการทางจิตได้หลากหลาย แม้แต่อาการโรคจิต และอาจพบร่วมกับการใช้สารเสพติดชนิดอื่นร่วมด้วย นอกจากนี้ยังสามารถมาโรงพยาบาล ด้วยอาการแพนิคกำเริบหรือเกิดอาการเป็นครั้งแรก การให้การรักษาที่ถูกต้องเหมาะสมเป็นสิ่งจำเป็นและจากการรักษาผู้ป่วยเหล่านี้ ยาอัลพาโซแลมอาจไม่จำเป็นต้องใช้เสมอไป ในการรักษาผู้ป่วยโรควิตกกังวลโดยเฉพาะอาการแพนิค และอาจให้การรักษาด้วย ยาต้านโรคจิตขนาดต่ำ ยาต้านเศร้าขนาดต่ำ โคลนิดีน วิตามิน ในผู้ป่วยแพนิคที่มีประวัติการใช้สารเสพติดประเภทกัญชามาก่อนในอดีต กัญชาอาจมีความสัมพันธ์ต่อความผิดปกติของสารเคมีในสมองที่ชื่อ นอร์ดรีนาลีน ( และอาจมีความผิดปกติ โดปามีนด้วย ) หรือไม่ ? ทำให้ส่งผลต่อการเกิดอาการแพนิค เป็นสิ่งที่น่าจะนำไปสู่การค้นคว้าวิจัยต่อไปในอนาคต การศึกษาได้รวบรวมกรณีคนไข้ที่มีอาการแพนิคทั้งหมดที่มารับการรักษา และมีส่วนหนึ่งที่มีประวัติในอดีต เคยสัมพันธ์กับการทดลองใช้กัญชามาก่อน โดยมีวิธีการรักษาที่แตกต่างกัน แต่สามารถทำให้คนไข้อาการดีขึ้นได้เช่นกัน

Keywords: แพนิค, ยาเสพติด, โรคแพนิค, สุรา, เหล้า, โรควิตกกังวล, โรคทางจิตเวช, สารเสพติด, กัญชา, โรคจิต, สุขภาพจิต, ความสัมพันธ์

ปีที่เผยแพร่/Year: 2549

Address: กลุ่มงานจิตเวช โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต

Code: 2006000168

ISSN/ISBN: -

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ภาษาไทย

Category: บทคัดย่อที่ได้รับคัดเลือกนำเสนอในประชุมวิชาการสุขภาพจิตนานาชาติ ครั้งที่ 5, ณ. โรงแรมปรินซ์พาเลซ กรุงเทพฯ

Download: -