ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: จินตนา มงคลพิทักษ์สุข, ประภาพักตร์ ศิลปะโชติ, จุฑามณี สุทธิสีสังข์, วึรพล อุณหรัศมี, ฐานันดร ปิยะศิริศิลป์.

ชื่อเรื่อง/Title: การบริบาลเภสัชกรรมแก่ผู้ป่วยจิตเภทที่มีภาวะอ้วนที่สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา.

แหล่งที่มา/Source: ประชุมวิชาการสุขภาพจิตนานาชาติ ครั้งที่ 5, ณ. โรงแรมปรินซ์พาเลซ กรุงเทพฯ, จากหลังคาแดงสู่ชุมชน ระหว่างวันที่ 3-5 กรกฎาคม 2549, หน้า 42.

รายละเอียด / Details:

ปัจจุบันมีการศึกษาพบว่ายารักษาโรคจิตมีแนวโน้มทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น จากการศึกษาของต่างประเทศพบว่า ความชุกในการเกิดภาวะอ้วนในผู้ป่วยจิตเภทมากกว่าคนปกติ2-5 เท่าโดยภาวะอ้วนนอกจากมีผลต่อความร่วมมือในการใช้ยาของผู้ป่วยแล้ว ยังส่งผลให้เกิดโรคแทรกซ้อนต่างๆ ตามมา เช่นโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด และภาวะเมตาบอลิกซินโดรม เป็นต้น การศึกษามีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินผลการให้การบริบาลทางเภสัชกรรมแก่ผู้ป่วยจิตเภทที่มีภาวะอ้วนโดยเปรียบเทียบน้ำหนักตัว ค่าดัชนีมวลกาย เส้นรอบเอว และผลตรวจทางห้องปฏิบัติการก่อนและหลังการให้บริบาลทางเภสัชกรรมแก่ผู้ป่วย การศึกษานี้เป็นการศึกษาแบบไปข้างหน้า โดยคัดเลือกผู้ป่วยจิตเภทที่มีภาวะอ้วน (ค่าดัชนีมวลกาย>_ 25 กิโลกรัม/เมตร2) ที่พักรักษาตัวในสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา จำนวน 58 คน สุ่มตัวอย่างโดยวิธีสุ่มตามสะดวก โดยติดตามผู้ป่วยติดต่อกัน 5 ครั้ง ห่างกันครั้งละ 1เดือน การบริบาลเภสัชที่ผู้ป่วยได้รับได้แก่ 1. การค้นหาปัญหาเกี่ยวกับน้ำหนักตัวที่มากเกินไปและมีปัญหาทางเมตาบอลิก โดยติดตามค่าน้ำหนักตัว เส้นรอบเอว คำนวณดัชนีมวลกาย ติดตามค่าผลตรวจทางห้องปฏิบัติการได้แก่ ระดับน้ำตาลในเลือด ระดับฮีโมโกบิลเอวันซี ระดับโคเลสเตอรอล ระดับไตรกลีเซอไรด์ ระดับเอชดีแอลโคเลสเตอรอล และระดับแอลดีแอลโคเลสเตอรอล สัมภาษณ์ผู้ป่วยและญาติเกี่ยวกับการรับประทานอาหารและการออกกำลังกายของผู้ป่วย 2. การ แก้ไขและการป้องกันปัญหาเกี่ยวกับน้ำหนักตัวที่มากเกินไปและปัญหาทางเมตาบอลิก โดยการแนะนำผู้ป่วยและญาติเกี่ยวกับ การควบคุมอาหารและการออกกำลังกาย ประสานกับโภชนากรในการจัดอาหาร 1,800 กิโลแคลอรี่ต่อวันแก่ผู้ป่วย และเสนอการแก้ไขปัญหาทางเมตาบอลิกแก่แพทย์ การศึกษานี้วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ Pair-test ผลการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยมีน้ำหนักตัวลดลงคิดเป็นร้อยละ 621. (36 คนใน 58 คน) โดยผู้ป่วยร้อยละ 29.3 (17 คนใน 58 คน) มีน้ำหนักตัวลดลงมากกว่าร้อยละ 5 ของน้ำหนักตัวเริ่มต้น ผู้ป่วยในมีอัตราในการลดน้ำหนักตัวสูงกว่าผู้ป่วยนอก คือผู้ป่วยในจำนวน 14 คนใน 18 คน (ร้อยละ77.8) มีน้ำหนักตัวลดลงในขณะที่ผู้ป่วยนอกจำนวน 22 คนใน 40 คน (ร้อยละ 55.0) มีน้ำหนักตัวลดลง เมื่อเริ่มต้นการศึกษาพบว่ามีผู้ป่วยที่มีภาวะเมตาบอลิกซินโดรม จำนวน 13 คน หลังได้รับการบริบาลเภสัชกรรมแล้วพบว่า 9 ใน 13 คน ภาวะเมตาบอลิกซินโดรมหายไป ข้อเสนอแนะ ควรมีแนวทางในการดูแลผู้ป่วยจิตเภทที่มีภาวะอ้วนโดยทีมสหวิชาชีพ เพื่อให้ผู้ป่วยมีน้ำหนักตัวลดลง ส่งผลให้ผู้ป่วยมีโรคแทรกซ้อนทางเมตาบอลิกลดลง สรุปผลการวิจัย มีการติดตามอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา โดยพยาบาลประจำหอผู้ป่วยและยืนยันการเกิดอาการโดยแพทย์หรือเภสัชกรปีงบประมาณ 2548 จำนวน 2,635 ราย พบว่ามีการเกิดอาการไม่พึงประสงค์ จำนวน 891 ราย คิดเป็นร้อยละของอุบัติการณ์การเกิดเท่ากับ 33.81 อาการไม่พึงประสงค์การใช้ยาที่พบบ่อยที่สุด 3 ลำดับแรก ได้แก่ (1) อาการปากแห้ง คอแห้ง ท้องผูก และตาพร่า (2) อาการหน้ามืดขณะเปลี่ยนท่าทาง (3) ฤทธิ์ง่วงนอน,ง่วงซึมพบ Type-AADR ชนิดรุนแรงต้องได้รับการรักษา จำนวน 331 ครั้ง โดยอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาที่พบบ่อยที่สุด 3 ลำดับแรก ได้แก่ (1) กล้ามเนื้อกระตุกลิ้นรัว ดูดริมฝีปาก (2) เดินก้าวสั้นๆ ซอยเท้าถี่ๆ แขนไม่แกว่ง และ (3) ตาเหลือกขึ้นข้างบน หลังบิดเกร็ง ปากเบี้ยว ส่วน Type-BADR ชนิดรุนแรงพบจำนวน 39 ครั้ง โดยอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาที่พบได้แก่ (1)ไข้ (2) erythemamultiforme (3) Ieukopenia และ(4) maculopapular rash บทสรุปและข้อเสนอแนะ อุบัติการณ์ของการเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาจิตเวชส่วนใหญ่เกิดจากฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของยาซึ่งเมื่อทราบความถี่ของการเกิด สามารถนำไปสู่แนวทางในการวางแผนดูแลผู้ป่วยได้ ปัจจัยแห่งความสำเร็จในการพัฒนาระบบการติดตามอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาจิตเวชแผนกผู้ป่วยในคือความร่วมมือของพยาบาลประจำหอผู้ป่วยเป็นสำคัญ

Keywords: ผู้ป่วยจิตเภท, ภาวะอ้วน, ความชุก, จิตเภท, โรคจิตเวช, ยารักษาโรคจิต, ยาต้านโรคจิต, สุขภาพจิต, การบริบาลเภสัชกรรม, โรคจิต, จิตเวช, จิตเวชศาสตร์

ปีที่เผยแพร่/Year: 2549

Address: กลุ่มงานเภสัชกรรม สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา

Code: 2006000169

ISSN/ISBN: -

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ภาษาไทย

Category: บทคัดย่อที่ได้รับคัดเลือกนำเสนอในประชุมวิชาการสุขภาพจิตนานาชาติ ครั้งที่ 5, ณ. โรงแรมปรินซ์พาเลซ กรุงเทพฯ

Download: -