ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: จลี เจริญสรรพ์และคณะ

ชื่อเรื่อง/Title: การพัฒนาระบบบริการดูแลผู้ป่วยจิตเวชอย่างต่อเนื่องในเขตการสาธารณสุขที่ 15 และ 17.

แหล่งที่มา/Source: ประชุมวิชาการสุขภาพจิตนานาชาติ ครั้งที่ 5, ณ. โรงแรมปรินซ์พาเลซ กรุงเทพฯ, จากหลังคาแดงสู่ชุมชน ระหว่างวันที่ 3-5 กรกฎาคม 2549, หน้า 60.

รายละเอียด / Details:

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 9 มุ่งเน้นพัฒนาสุขภาพของประชาชนโดยเกิดจากการมีส่วนของภาครัฐและเอกชนให้มากที่สุด ให้ทุกคนตระหนักถึงความรับผิดชอบร่วมกันในการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม โดยบุคคล ครอบครัว และชุมชนมีความศรัทธา เชื่อมั่นศักยภาพในการดูแลสุขภาพได้อย่างเหมาะสมและตระหนักในสิทธิการมีส่วนร่วมในการกำหนดติดตามและตรวจสอบการบริหารจัดการทรัพยากรสาธารณสุขให้เกิดประโยชน์สูงสุดซึ่งการใช้สิทธิดังกล่าวทำให้ประชาชนมีความต้องการดุแลที่มีคุณภาพได้มาตรฐานมีความต่อเนื่องและครอบคลุมมากขึ้นรวมทั้งเสียค่าใช้จ่ายในราคายุติธรรมดังนั้นโรงพยาบาลสวนสราญรมย์จึงจำเป็นที่จะต้องพัฒนาระบบบริการต่างๆให้สอดคล้องกับความต้องการของประชาชน วัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาระบบบริการจาก ร.พ.สู่ชุมชน 2) เพื่อระบบเครือข่ายงานสุขภาพจิต 3) เพื่อให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วยจิตเวช วิธีดำเนินงาน 1. การพัฒนาระบบบริการจากโรงพยาบาลสู่ชุมชน 1.1) บริการตั้งแต่แรกรับโดยพยาบาลจิตเวชชุมชนประเมินภาพผู้ป่ายก่อน admit 1.2) บริการขณะผู้ป่วยในโรงพยาบาล Nurse Case Manager ในชุมชนประสานงานกัน Nurse Case Manager ในหอผู้ป่วย เพื่อเตรียมความพร้อมผู้ป่วยร่วมกับทีมสหวิชาชีพตาม CPG 1.3) บริการผู้ป่วยหลังจำหน่าย ผู้ป่วยจิตเวชซับซ้อนที่มีภูมิลำเนาในเขตเมือง อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานีดูแลผู้ป่วยที่บ้านโดยใช้ระบบ Case Management นอกเหนือจากพื้นดังกล่าวใช้ระบบการติดตามทางโทรศัพท์ 2. การพัฒนาระบบเครือข่ายการดูแลผู้ป่วยจิตเวช 2.1) พัฒนาบุคลากรสาธารณสุขในเครือข่ายโดยการอบรม สัมมนา เป็นต้น 2.2) พัฒนาช่องทางการติดต่อสื่อสาร 2.3) พัฒนาระบบบริการหลังผู้ป่วยจำหน่าย 2.4)จัดทำฐานข้อมูล จัดทำทะเบียนเครือข่ายงานสุขภาพจิต 2.5) พัฒนาแบบรายงานเพื่อลดความซ้ำซ้อน 2.6) การนิเทศ เพื่อให้กระบวนการนิเทศงานเป็นไปตามความต้องการของเครือข่ายไม่ซ้ำซ้อน 3. ชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วยจิตเวช ชมรมญาติมิตรสัมพันธ์สราญรมย์ กลุ่มงานสังคมสงเคราะห์ และงานจิตเวชชุมชนจัดกิจกรรมค่ายครอบครัวล้อมรั้วด้วยรัก พัฒนารูปแบบค่ายครอบครัวเพื่อการดูแลผู้ป่วยจิตเวชในชุมชน ผลสำเร็จของงาน 1. นวัตกรรม 1.1) นวัตกรรมการดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่บ้านในระดับทุติยภูมิ 1.2) นวัตกรรมการดูแลผู้ป่วยจิเวชที่บ้านในระดับปฐมภูมิและทุติยภูมิ 1.3) นวัตกรรมทางด้านวิชาชีพ 2. ผลลัพธ์ตามตัวชี้วัด ปี งบประมาณ 2548 2.1) ผู้ป่วยที่จำหน่ายไปรักษาที่สถานบริการสาธารณสุขใกล้บ้าน ร้อยละ 90.00 2.2) ผู้ป่วยมารับบริการด้วยระบบส่งต่อ ร้อยละ 38.20 2.3) ผู้ป่วยมีความพึงพอใจต่อการดูแลที่บ้านในระดับมากถึงมากสุดร้อยละ 100.00 2.4) ผู้ดูแลมีความพึงพอใจต่อการดูแลที่บ้านในระดับมากถึงมากสุดร้อยละ100.00 2.5) ผู้ป่วยมีความสามารถในการดูแลตนเองในระดับมากถึงมากที่สุดร้อยละ 80.00 2.6) ผู้ดูแลมีความสามารถในการดูแลผู้ป่วยในระดับมากถึงมากที่สุดร้อยละ 90.00 2.7) ผู้ป่วยกลับมารักษาซ้ำภายใน 3 เดือนร้อยละ 3.45 2.8) ผู้ปฏิบัติงานในเครือข่ายมีความพึงพอใจในระดับมากถึงมากที่สุดร้อยละ 76.30 ข้อเสนอแนะ 1) ต้องทำให้เกิดการปฏิบัติได้อย่างต่อเนื่อง 2) ต้องมีการปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัย 3) ต้องมีการพบปะแลกเปลี่ยนประสบการณ์ 4) ต้องการมีคนรุ่นใหม่เข้ามาช่วยให้แผนดำเนินการได้อย่างต่อเนื่อง 5) ต้องมีการร่วมมือจากภาครัฐและชาวบ้าน

Keywords: ผู้ป่วยจิตเวช, สุขภาพจิต, การดูแล, การพัฒนา, ระบบบริการจิตเวช, เครือข่าย, ชุมชน, จิตเวชชุมชน, ฐานข้อมูล, จิตเวช, จิตเวชศาสตร์

ปีที่เผยแพร่/Year: 2549

Address: งานจิตเวชชุมชน โรงพยาบาลสวนสราญรมย์

Code: 2006000170

ISSN/ISBN: -

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ภาษาไทย

Category: บทคัดย่อที่ได้รับคัดเลือกนำเสนอในประชุมวิชาการสุขภาพจิตนานาชาติ ครั้งที่ 5, ณ. โรงแรมปรินซ์พาเลซ กรุงเทพฯ

Download: -