ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: จิดารัตน์ พิมพ์ดีดและคณะ

ชื่อเรื่อง/Title: การฟื้นฟูสมรรถภาพทางจิตสังคมแบบครบวงจร เพื่อยกระดับสมรรถภาพการฟื้นฟูผู้ป่วยจิตเภทเรื้อรังชายเตรียมกลับสู่ชุมชน.

แหล่งที่มา/Source: ประชุมวิชาการสุขภาพจิตนานาชาติ ครั้งที่ 5, ณ. โรงแรมปรินซ์พาเลซ กรุงเทพฯ, จากหลังคาแดงสู่ชุมชน ระหว่างวันที่ 3-5 กรกฎาคม 2549, หน้า 68.

รายละเอียด / Details:

หลักการและเหตุผล จิตเภทเป็นโรคที่ทำให้เกิดการเสื่อมถอยของบุคลิกภาพ อารมณ์ และการรับรู้ ยาที่ใช้ในการรักษาทางจิต สามารถควบคุมอาการทางบวก แต่ยาไม่สามารถควบคุมอาการทางลบได้ จึงมีความจำเป็นต้องอาศัยการฟื้นฟูสมรรถภาพทางจิตสังคม โดยการฝึกทักษะทางสังคม วัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมและฟื้นฟูสมรรถภาพทางจิตสังคมให้ผู้ป่วยมีระดับของสมรรถภาพการฟื้นฟูเพิ่มขึ้น และส่งเสริมให้ญาติผู้ป่วยมีความรู้ เจตคติ และทักษะการดูแลผู้ป่วย ขอบเขตการวิจัย ศึกษาในกลุ่มเป้าหมายจิตเภทเรื้อรังชาย และญาติของผู้ป่วย ระเบียบวิธีวิจัย กลุ่มตัวอย่างตามความสะดวก ตัวแปรอิสระคือ การฝึกทักษะทางสังคม และการให้สุขภาพจิตศึกษาแก่ญาติ ตัวแปรตามคือระดับสมรรถภาพการฟื้นฟู และญาติผู้ป่วยมีความรู้ เจตคติ และทักษะการดูแลผู้ป่วยตามลำดับ เครื่องมือที่ใช้ คือ 1) แบบประเมินสมรรถภาพการฟื้นฟูสมรรถภาพ และ 2) แบบประเมินความรู้ เจตคติและทักษะการดูแลผู้ป่วยจิตเภท การเก็บรวบรวมข้อมูล โดยการประเมินสมรรถภาพการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยก่อนและหลังการฝึกทักษะทางสังคม และการให้สุขภาพจิตศึกษาแก่ญาติรายครอบครัว โดยนัดมาเป็นระยะ จนกระทั่งให้ความรู้ครบ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ Wilcoxon singed rank test และ :aired t-test สรุปผลการวิจัย พบว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 31-40 ปี (ร้อยละ 37.14) ระยะเวลา การเจ็บป่วย 6-10 ปี (ร้อยละ 28.57) ระยะเวลาในการอยู่ในโรงพยาบาล 1-5 ปี (ร้อยละ 42.86) และผู้ป่วยมีญาติจำนวน 28 คน (ร้อยละ 80) แต่มีผู้ป่วยเพียง 11 คน (ร้อยละ 31.43) มีญาติดูแลสม่ำเสมอ การวิเคราะห์คะแนนเฉลี่ยแต่ละทักษะและคะแนนรวมเฉลี่ยเปรียบเทียบระหว่างก่อนและหลังวิจัยพบว่า มีการเพิ่มขึ้นของคะแนนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ในทักษะทั้ง 5 ด้าน และคะแนนรวมเฉลี่ย ค่าคะแนนเฉลี่ยของการได้รับสุขภาพจิตศึกษาสำหรับญาติก่อนและหลังมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญอย่างสถิติที่ระดับ 0.05 ข้อเสนอแนะ การเตรียมผู้ป่วยที่ญาติทอดทิ้งอยู่ในโรงพยาบาลให้สามารถกลับไปใช้ชีวิตในชุมชนได้ มีความจำเป็นและมีความสำคัญอย่างยิ่งที่ต้องเตรียมผู้ป่วยให้พร้อมในทักษะด้านต่างๆ อีกทั้งญาติควรได้รับการเตรียมความพร้อมในการดูแลผู้ป่วย เพื่อให้ญาติรู้สึกไม่เป็นภาระและไม่หนักใจในการดูแลผู้ป่วย

Keywords: จิตเภท, จิตสังคม, ฟื้นฟูสมรรถภาพ, ชุมชน, จิตเวชชุมชน, จิตสังคมครบวงจร, ทักษะทางสังคม, การฟื้นฟู, ทักษะการดูแล, เจตคติ, จิตเวช, จิตเวชศาสตร์

ปีที่เผยแพร่/Year: 2549

Address: โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์

Code: 200600024

ISSN/ISBN: -

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ภาษาไทย

Category: บทคัดย่อที่ได้รับคัดเลือกนำเสนอในประชุมวิชาการสุขภาพจิตนานาชาติ ครั้งที่ 5, ณ. โรงแรมปรินซ์พาเลซ กรุงเทพฯ

Download: -