ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: ดวงใจ กสานติกุล

ชื่อเรื่อง/Title: ผลดีของ clonazepam และ topiramate ขนาดต่ำต่อผู้ป่วย autism ที่ก้าวร้าว รายงานผู้ป่วย 2 ราย Positive Effect of Clonazepam and Low Dose Topiramate on Autism with Aggression Report of Two Cases

แหล่งที่มา/Source: การประชุมวิชาการประจำปี 2549 ครั้งที่ 34 "จิตเวชศาสตร์และวิกฤตทางสังคม (Psychiatry and Social Crises), ราชวิทยาลัยจิตแพทย์แห่งประเทศไทย สมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย ร่วมกับกรมสุขภาพจิต วันที่ 20-22 พฤศจิกายน 2549, ณ.โรงแรมแอมบาสซาเดอร์ หน้า 23.

รายละเอียด / Details:

Autism เป็น neurodevelopmental disorder ทำให้มีปัญหาการพูด การเข้าสังคม และพฤติกรรมซ้ำๆ แปลกๆ ผู้ป่วยร้อยละ 75 มีไอคิวระดับต่ำ ผู้ป่วยมักจะมีอาการก้าวร้าว หรือทำร้ายทุบตีศีรษะตัวเอง จำเป็นต้องใช้ยาในกลุ่ม antipsychotic ระยะยาว ทำให้มีความเสี่ยงต่อ tardive dyskinesia สูงกว่าผู้ป่วยทั่วๆ ไป แต่ยา topiramate และ clonazepam สามารถช่วยลดพฤติกรรมดังกล่าวได้ ผู้ป่วยรายแรก ชายไทยวัย 28 ปี เป็น autism ตั้งแต่ 1 ขวบ และมีปัญญาอ่อนแต่ไม่เคยมีอาการชักไม่สามารถพูด สนทนา หรือทำความสะอาดตัวเองได้ เมื่ออายุ 5 ขวบ ไม่มีการใช้ยาใดๆ อีกและถูกส่งเข้ารักษาแบบไปกลับที่มูลนิธิแห่งหนึ่งมาตลอด ผู้ป่วยจะกินตลอดเวลาและไปหยิบขนมจากร้านข้างบ้านวันละ 300 บาท เป็นประจำถ้าขัดใจผู้ป่วยจะอาละวาดทางบ้านจึงต้องยอมจนมีน้ำหนักถึง 90 กก. เมื่อได้รับยา topiramate 25 มก. วันละ 2 ครั้ง และ clonazepam 2 มก. วันละ 2 ครั้ง ผู้ป่วยหยุดกินจุกจิก ทำให้น้ำหนักลดเหลือ 70 กก. ในช่วง 6 เดือน และ พฤติกรรมทางสังคมดีขึ้นบ้าง ผู้ป่วยรายที่ 2 เป็นชายอินเดีย วัย 24 ปี เป็น autism แต่ไม่มีประวัติการชัก ผู้ป่วยจะอาละวาดทุบตีคนในบ้านหรือทุบตีศีรษะตัวเอง และมีอาการ tardive dyskinesia เนื่องจากได้รับยาในกลุ่ม antipsychotics มานาน ผู้ป่วยมีพฤติกรรมดีขึ้นเมื่อได้รับ topiramate 25 มก. วันละ 2 ครั้ง และ clonazepam 2 มก. ก่อนนอน สรุป ยา topiramate และ clonazepam น่าจะใช้ได้ผลดีในผู้ป่วย autism เพื่อหลีกเลี่ยงการใช้ antipsychotic และ ความเสี่ยงต่อการเกิด tardive dysknesia

Keywords: clonazepam, topiramate, autism, ยารักษาโรคจิต, จิตเวชเด็ก, พฤติกรรมก้าวร้าว, ทำร้ายต้นเอง, โรคจิตเวช, พฤติกรรมซ้ำๆ

ปีที่เผยแพร่/Year: 2549

Address: ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Code: 2006000254

ISSN/ISBN: -

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ไทย

Category: Paper ได้รับการคัดเลือกนำเสนอในการประชุมวิชาการประจำปี 2549 ราชวิทยาลัยจิตแพทย์แห่งประเทศไทย ฯลฯ

Download: