ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: ศิริไชย หงส์สงวนศรี และคณะ

ชื่อเรื่อง/Title: ความสัมพันธ์ระหว่างการเล่นเกมคอมพิวเตอร์และดัชนีมวลภายในนักเรียนมัธยมศึกษา

แหล่งที่มา/Source: การประชุมวิชาการประจำปี 2549 ครั้งที่ 34 "จิตเวชศาสตร์และวิกฤตทางสังคม (Psychiatry and Social Crises), ราชวิทยาลัยจิตแพทย์แห่งประเทศไทย สมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย ร่วมกับกรมสุขภาพจิต วันที่ 20-22 พฤศจิกายน 2549, ณ.โรงแรมแอมบาสซาเดอร์ หน้า 33.

รายละเอียด / Details:

บทนำ ปัญหาการเล่นเกมคอมพิวเตอร์และโรคอ้วนในเด็กและวัยรุ่นเป็นปัญหาทีมีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้นผู้วิจัยจึงได้ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเล่นเกมคอมพิวเตอร์และดัชนีมวลภายในนักเรียนระดับมัธยมศึกษา วิธีการศึกษา ผู้วิจัยให้นักเรียนระดับมัธยมศึกษา 4 โรงเรียนตอบแบบสอบถามที่ประกอบด้วย น้ำหนัก ส่วนสูงพฤติกรรมการเล่นเกมคอมพิวเตอร์ และแบบสอบถาม problem video game playing (PVP) ฉบับภาษาไทย ผลการศึกษา นักเรียนที่ร่วมการวิจัยทั้งหมด 4,356 คน อายุ 14.3 1.6 ปี เป็นเพศชาย 1,972 คน (ร้อยละ 45.3) เพศหญิง 2,384 คน (ร้อยละ 54.7) นักเรียนที่ไม่เล่นเกมหรือเล่นเกมน้อยกว่า 1 วันต่อสัปดาห์ เล่นเกม 1-4 วันต่อสัปดาห์ และเล่นเกมมากกว่า 4 วันต่อสัปดาห์ มีจำนวน 1,332 คน (ร้อยละ 30.6) 1,829 คน (ร้อยละ 42.0) และ1,195 คน (ร้อยละ 27.4) ตามลำดับ นักเรียนทั้ง 3 กลุ่มมีดัชนีมวลกายไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (19.5 3.8 19.6 3.6 และ 19.8 4.1 กก/ม2 ตามลำดับ p= 0.054) ร้อยละ 13.9 ของนักเรียนทั้งหมดเล่นเกมคอมพิวเตอร์เข้าเกณฑ์มีปัญหาพฤติกรรมติดเกม นักเรียนที่เข้าเกณฑ์มีปัญหาพฤติกรรมติดเกมมีดัชนีมวลกายไม่แตกต่างจาก นักเรียนที่ไม่เข้าเกณฑ์อย่างมีนัยสำคัญ (19.6 3.7 และ 19.9 4.0 กก/ม2 ตามลำดับ p= 0.13) สรุปผลการศึกษา นักเรียนที่ไม่เล่นเกมหรือเล่นเกมน้อยกว่า 1 วันต่อสัปดาห์ เล่นเกม 1-4 วันต่อสัปดาห์ และเล่นเกมมากกว่า 4 วันต่อสัปดาห์ มีดัชนีมวลกายไม่แตกต่างกัน และนักเรียนที่เข้าเกณฑ์มีปัญหาพฤติกรรมติดเกมมีดัชนีมวลกาย ไม่แตกต่างจากนักเรียนที่ไม่เข้าเกณฑ์เช่นเดียวกัน

Keywords: การเล่นเกมคอมพิวเตอร์, ดัชนีมวลกาย, วัยรุ่น, นักเรียนมัธยม, เด็กติดเกม, เด็กติดเกม, เกมคอมพิวเตอร์, สุขภาพจิต, พฤติกรรม, นักเรียน, PVP

ปีที่เผยแพร่/Year: 2549

Address: มหาวิทยาลัยมหิดล

Code: 2006000263

ISSN/ISBN: -

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ไทย

Category: Paper ได้รับการคัดเลือกนำเสนอในการประชุมวิชาการประจำปี 2549 ราชวิทยาลัยจิตแพทย์แห่งประเทศไทย ฯลฯ

Download: