ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: ศิริไชย หงส์สงวนศรี

ชื่อเรื่อง/Title: ดัชนีมวลกาย ความพึงพอใจต่อรูปร่าง และพฤติกรรมควบคุมน้ำหนักของนักเรียนมัธยมศึกษา

แหล่งที่มา/Source: การประชุมวิชาการประจำปี 2549 ครั้งที่ 34 "จิตเวชศาสตร์และวิกฤตทางสังคม (Psychiatry and Social Crises), ราชวิทยาลัยจิตแพทย์แห่งประเทศไทย สมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย ร่วมกับกรมสุขภาพจิต วันที่ 20-22 พฤศจิกายน 2549, ณ.โรงแรมแอมบาสซาเดอร์ หน้า 34.

รายละเอียด / Details:

บทนำ วัยรุ่นจำนวนหนึ่งมีความรู้สึกต่อรูปร่างของตนเองผิดไป และมีพฤติกรรมการควบคุมน้ำหนักที่ไม่เหมาะสมแต่ยังไม่มีข้อมูลที่แน่นอนในประเทศไทย ผู้วิจัยจึงได้ศึกษาความรู้สึกต่อรูปร่างของตนเองและพฤติกรรมการควบคุมน้ำหนักของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา วิธีการศึกษา ผู้วิจัยให้นักเรียนระดับมัธยมศึกษา 4 โรงเรียนตอบแบบสอบถามที่ประกอบด้วย น้ำหนัก ส่วนสูง ความรู้สึกต่อรูปร่างของตนเอง และพฤติกรรมการควบคุมน้ำหนัก ผู้วิจัยวิเคราะห์ความรู้สึกต่อรูปร่างของตนเองและพฤติกรรมการควบคุมน้ำหนัก โดยจำแนกตามกลุ่มดัชนีมวลกาย ผลการศึกษา นักเรียนที่เข้าร่วมการวิจัยทั้งหมด 4,489 คน อายุ 14.5 2.6 ปี เป็นเพศชาย 2,029 คน เพศหญิง 2,460 คน นักเรียนที่มีดัชนีมวลกายต่ำกว่าปกติ ปกติ และสูงกว่าปกติ มีจำนวน 2,017 คน (ร้อยละ 44.9) 2,093 คน (ร้อยละ 46.6) และ 379 คน (ร้อยละ 8.4) ตามลำดับ ในนักเรียนที่มีดัชนีมวลกายต่ำกว่าปกติ ร้อยละ 47.5 (เพศชาย 46.9 เพศหญิง 47.9) รู้สึกว่าตนเองรูปร่างพอดี ร้อยละ 11.3 (เพศชาย 4.6 เพศหญิง 16.3) รู้สึกว่ารูปร่างอ้วนเกินไป ร้อยละ 0.3 (เพศชาย 2, เพศหญิง 0.6) รู้สึกว่ารูปร่างอ้วนมาก และร้อยละ 68.2 (เพศชาย 21.6 เพศหญิง 39.3) มีพฤติกรรมควบคุมน้ำหนัก (ควบคุมอาหาร ร้อยละ 16.0 ออกกำลังกาย ร้อยละ 28 .4) ในนักเรียนที่มีดัชนีมวลกายปกติ ร้อยละ 35.2 (เพศชาย 47.4 เพศหญิง 25.0) รู้สึกว่าตนเองรูปร่างพอดี ร้อยละ 52.4 (เพศชาย 39.4 เพศหญิง 63.3) รู้สึกว่ารูปร่างอ้วนเกินไป ร้อยละ 7.3 (เพศชาย 3.1 เพศหญิง 10.8) รู้สึกว่ารูปร่างอ้วนมาก และร้อยละ 71.4 (เพศชาย 58.9 เพศหญิง 81.7) มีพฤติกรรมควบคุมน้ำหนัก (ควบคุมอาหาร ร้อยละ 44.8 ออกกำลังกาย ร้อยละ 64.4) ในทั้ง 2 กลุ่ม นักเรียนหญิงมีความรู้สึกว่าตนเองมีรูปร่างอ้วนมากกว่านักเรียนชายอย่างมีนัยสำคัญ (p‹0.001) สรุปผลการศึกษา ร้อยละ 11.6 ของนักเรียนที่มีดัชนีมวลกายต่ำกว่าปกติ และร้อยละ 59.7 ของนักเรียนที่มีดัชนีมวลกายปกติ มีความรู้สึกว่าตนเองมีรูปร่างอ้วน นักเรียนหญิงมีความรู้สึกว่าตนเองมีรูปร่างอ้วนมากกว่านักเรียนชาย

Keywords: ดัชนีมวลกาย, ความพึงพอใจต่อรูปร่าง, พฤติกรรมควบคุมน้ำหนัก, วัยรุ่น, พฤติกรรม, นักเรียน, อ้วน, บุคลิกภาพ

ปีที่เผยแพร่/Year: 2549

Address: มหาวิทยาลัยมหิดล

Code: 2006000264

ISSN/ISBN: -

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ไทย

Category: Paper ได้รับการคัดเลือกนำเสนอในการประชุมวิชาการประจำปี 2549 ราชวิทยาลัยจิตแพทย์แห่งประเทศไทย ฯลฯ

Download: