ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: ปริยสุทธิ์ อินทสุวรรณ

ชื่อเรื่อง/Title: เจาะใจใส่จอ….ขอกลับบ้าน ผลสำเร็จจากการใช้หนังสั้นเพื่อลดความรังเกียจผู้ป่วยจิตเภท

แหล่งที่มา/Source: การประชุมวิชาการประจำปี 2549 ครั้งที่ 34 "จิตเวชศาสตร์และวิกฤตทางสังคม (Psychiatry and Social Crises), ราชวิทยาลัยจิตแพทย์แห่งประเทศไทย สมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย ร่วมกับกรมสุขภาพจิต วันที่ 20-22 พฤศจิกายน 2549, ณ.โรงแรมแอมบาสซาเดอร์ หน้า 38.

รายละเอียด / Details:

วัตถุประสงค์ 1. ศึกษาปัจจัยของความรังเกียจผู้ป่วยในชุมชน 2. สร้างนวัตกรรมและเทคโนโลยีช่วยลดความรังเกียจและให้โอกาสผู้ป่วยกลับสู่ชุมชน 3. ศึกษาวิถีชุมชนที่ช่วยส่งเสริมการฟื้นฟูผู้ป่วย 4. ศึกษาการทำงานของสหวิชาชีพแบบบูรณาการ วิธีการศึกษา กรณีศึกษา แบบ ศึกษาไปข้างหน้าไม่มีกลุ่มเปรียบเทียบในผู้ป่วยจิตเวช 5 ราย ที่ชุมชนรังเกียจและปฏิเสธโดยวิธีสัมภาษณ์ผู้ป่วย ญาติ ผู้มีบทบาทในชุมชน เช่น ผู้ใหญ่บ้าน กำนัน พระสงฆ์ ครู โดยละเอียด และนำข้อมูลที่ได้มาประชุมอภิปราย เพื่อหาสาเหตุของการรังเกียจและปฏิเสธผู้ป่วยเพื่อนำไปสู่การวางแผนกลยุทธ์และการสร้างนวัตกรรมเจาะใจเพื่อนำผู้ป่วยกลับสู่ชุมชน แบบชุมชนยอมรับและมีส่วนร่วม และติดตามผลการใช้นวัตกรรมโดยสหวิชาชีพ ผลการศึกษา ผู้ป่วยในทั้ง 5 ราย เป็นชาย 4 ราย หญิง 1 ราย อายุระหว่าง 33-74 ปี ภูมิลำเนา จ. ร้อยเอ็ด 3 ราย จ. อุดรธานี 2 ราย ถูกรังเกียจและการปฏิเสธจากชุมชนเพราะ 1. มีความหวาดกลัวผู้ป่วยโรคจิตโดยมองว่าผู้ป่วยโรคจิตดุร้าย น่ากลัวและมีอันตราย 2. มีความอับอายที่เป็นญาติกับผู้ป่วยจิตเวช 3. ชุมชนและญาติไม่มีความรู้เรื่องการเจ็บป่วยทางจิตเวช การดูแล และการจัดการภาวะฉุกเฉินที่เกิดจากผู้ป่วย ทำให้ชุมชนกังวลต่ออันตรายในอนาคต ชุมชนจึงแก้ปัญหาโดยการปฏิเสธผู้ป่วย ไม่ยอมรับผู้ป่วยกลับสู่ชุมชน เพื่อลดการเผชิญปัญหา ทำให้มีปัญหาผู้ป่วยตกค้างและมีค่าใช้จ่ายในโรงพยาบาลตามมา ตลอดจนผู้ป่วยที่ได้รับการรังเกียจมีปัญหาอารมณ์ซึมเศร้าและวิตกกังวล จากการใช้นวัตกรรมหนังสั้นที่บูรณการปัจจัยที่ชุมชนต้องการเข้ากับการให้ความรู้และความเชื่อมั่นในการดูแลผู้ป่วย และการสร้างเครือข่ายการดูแลผู้ป่วย ทำให้ชุมชนและญาติยอมรับให้ผู้ป่วยกลับสู่ชุมชนได้โดยไม่รังเกียจและสามารถดูแลผู้ป่วยแบบชุมชนมีส่วนร่วมได้ อย่างยั่งยืน โดยไม่มีรายใดถูกส่งกลับ สรุปผลการศึกษา นวัตกรรมหนังสั้นที่บูรณการความต้องการของชุมชนเข้ากับการให้ความรู้ทางวิชาการ แบบอิงวิถีชุมชน และให้ชุมชนเป็นศูนย์กลาง รวมทั้งการสร้างเครือข่ายการดูแลผู้ป่วยสามารถลดความรังเกียจและการปฏิเสธผู้ป่วยจิตเวชได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้ป่วยสามารถกลับเข้าสู่ชุมชนได้และไม่มีรายใดถูกส่งกลับ

Keywords: เจาะใจใส่จอ, หนังสั้น, ผู้ป่วยโรคจิต, ผู้ป่วยจิตเภท, ลดความรังเกียจ, รังเกียจ, นวัตกรรมหนังสั้น, ชุมชน, จิตเวชชุมชน, เครือข่าย, การดูแลผู้ป่วยจิตเวชในชุมชน, ซึมเศร้า, วิตกกังวล, อารมณ์

ปีที่เผยแพร่/Year: 2549

Address: โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์

Code: 2006000268

ISSN/ISBN: -

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ไทย

Category: Paper ได้รับการคัดเลือกนำเสนอในการประชุมวิชาการประจำปี 2549 ราชวิทยาลัยจิตแพทย์แห่งประเทศไทย ฯลฯ

Download: