ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: พัชรี คำธิตา, ภูรีวรรธน์ โชคเกิดและคณะ

ชื่อเรื่อง/Title: โครงการพัฒนาระบบการดูแลและช่วยเหลือผู้มีภาวะซึมเศร้าและเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย.

แหล่งที่มา/Source: ประชุมวิชาการสุขภาพจิตนานาชาติ ครั้งที่ 5, ณ. โรงแรมปรินซ์พาเลซ กรุงเทพฯ, จากหลังคาแดงสู่ชุมชน ระหว่างวันที่ 3-5 กรกฎาคม 2549, หน้า 84.

รายละเอียด / Details:

การฆ่าตัวตายหรือการพยายามฆ่าตัวตายเป็นปัญหาสาธารณสุขระดับประเทศในปลายประเทศและเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทยซึ่งส่วนใหญ่ปัญหาการฆ่าตัวตายมักเกี่ยวข้องกับหลายๆ เรื่อง ทั้งเรื่องเศรษฐกิจ สังคมและจิตวิญญาณ และเป็นปัญหาที่ค่อนข้างซับซ้อนมีหลายปัจจัยเข้ามาเกี่ยวข้อง ก่อให้เกิดความสะเทือนใจแก่ญาติพี่น้องและเพื่อนฝูงของผู้ตาย และยังสะท้อนให้เห็นถึงปัญหาสุขภาพจิตของประชาชนที่เพิ่มสูงขึ้นอีกด้วย เมื่อเป็นเช่นนี้จึงจำเป็นต้องมีการรวมพลังทั้งการศึกษา การสาธารณสุข รวมทั้ง NGO องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น อาสาสมัครต่างๆ โดยใช้ทรัพยากรในท้องถิ่นให้มากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นครอบครัว องค์กรทางศาสนาและสังคมโดยทุกหน่วยงานต้องให้ความสำคัญ พัฒนาร่วมกันทั้งในเรื่องของสาธารณสุขและในเรื่องของสุขภาพจิต และต้องมีการป้องกันหลายระดับตั้งแต่ระดับจังหวัด ระดับตำบลจนถึงระดับหมู่บ้านและมีการติดตามประเมินผลอย่างต่อเนื่อง กลยุทธ์ในการดำเนินงาน 1. การพัฒนาระบบบริการสาธารณสุข: หน่วยงานมีการกำหนดนโยบายเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพจิตให้ครอบคลุมและทั่วถึง มีการจัดระบบบริการให้มีประสิทธิภาพ สนับสนุนให้เข้าถึงหน่วยงานระดับปฐมภูมิ และมีมาตรการที่จะรับรองความปลอดภัยไม่ให้มีการฆ่าตัวตายซ้ำและสิ่งสำคัญคือมีการพัฒนาศักยภาพผู้ให้บริการให้มีทักษะในการประเมินความเสี่ยงและภาวะซึมเศร้า มีการจัดทำแนวทางในการให้บริการ (Clinical Tracer) เพื่อนำไปปฏิบัติให้บรรลุตามเป้าหมาย 2. สร้างการมีส่วนร่วมขององค์กรภาครัฐและเครือข่ายชุมชน: เพิ่มความตระหนักรู้ในเรื่องการป้องกันการฆ่าตัวตายและส่งเสริมเครือข่ายในการพัฒนา มีการสนับสนุนกิจกรรมในชุมชนเพื่อลดปัจจัยเสี่ยง และส่งเสริมปัจจัยป้องกัน และจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อพัฒนาความเข้มแข็งของเครือข่าย และทบทวนกระบวนการของชุมชนในการแก้ไขปัญหาการฆ่าตัวตาย ผลการดำเนินงาน 1. มีระบบการดูแลและช่วยเหลือผู้มีภาวะซึมเศร้าและเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายที่ต่อเนื่องเชื่อมโยงทั้งในสถานบริการและในชุมชน 2. สถิติการฆ่าตัวตายสำเร็จลดลง ตั้งแต่ปี 2544-2548 ดังนี้ 17.24, 22.85, 34.81, 24.87, 29.29 ต่อแสนประชากรตามลำดับ และในปี 2549 พบเพียง 16.97 ต่อแสนประชากร ลดลงจากปี 2548 ร้อยละ 12.32 3. สถิติการพยายามฆ่าตัวตายปี 2546-2549 ดังนี้ 74.60, 82.06, 37.43 และ 21.82 ลดลงจากปี 48 ร้อยละ 15.6

Keywords: ฆ่าตัวตาย, การดูแล, ซึมเศร้า, ความเสี่ยง, ระบบดูแลช่วยเหลือ, พยายามฆ่าตัวตาย, จิตเวช, จิตเวชศาสตร์, ภาวะซึมเศร้า, สุขภาพจิต, การป้องกัน, ศักยภาพ, สถิติ

ปีที่เผยแพร่/Year: 2549

Address: งานสุขภาพจิตและจิตเวช โรงพยาบาลแม่ทา ลำพูน

Code: 200600037

ISSN/ISBN: -

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ภาษาไทย

Category: บทคัดย่อที่ได้รับคัดเลือกนำเสนอในประชุมวิชาการสุขภาพจิตนานาชาติ ครั้งที่ 5, ณ. โรงแรมปรินซ์พาเลซ กรุงเทพฯ

Download: -