ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: กรรณิกา สมบัติวัฒนางกูร

ชื่อเรื่อง/Title: นวัตกรรมโครงการแก้ไขปัญหาการฆ่าตัวตายโดยใช้กระบวนการจัดการความรู้สู่ชุมชน ตำบลหนองตอง อำเภอหางดง

แหล่งที่มา/Source: โครงการประชุมวิชาการ การป้องกันปัญหาการฆ่าตัวตาย ครั้งที่ 5 "ก้าวต่อไปในการเรียนรู้ สู่โลกแห่งนวัตกรรม",28-30 มิถุนายน 2549, ณ โรงแรมดุสิตไอส์แลนด์ จ.เชียงราย

รายละเอียด / Details:

ต่อเนื่องจากผลการประเมินความรู้และทัศนคติ จากผู้เข้าอบรมโครงการสร้างความตระหนักให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาฆ่าตัวตาย อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ในปี 2548 นั้น พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีค่าคะแนนความรู้ ในเรื่องโรคจิต โรคซึมเศร้าและมีทัศนคติทางลบต่อผู้ที่ฆ่าตัวตาย ดังนั้นจึงได้มีการจัดทำโครงการขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการพัฒนางานป้องกัน และแก้ไขปัญหาฆ่าตัวตายในชุมชน โดยใช้กระบวนการจัดการความรู้ในเชิงวิชาการ จากประสบการณ์ และภูมิปัญญาท้องถิ่นของคนในชุมชนมาบูรณาการร่วมกัน เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างคนหลากหลายกลุ่ม โดยส่งผลให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกันในชุมชน สร้างเครือข่ายในการพัฒนางานสุขภาพจิตพัฒนาแกนนำให้เป็นนักปฏิบัติงานชุมชนด้านสุขภาพจิตที่เคลื่อนไหว และผสมผสานงานส่งเสริมป้องกันปัญหาสุขภาพจิต ส่งผลให้เกิดเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ และการปฏิบัติ โดยมีเป้าหมายให้เกิดความร่วมมือร่วมใจของคนในชุมชนเพื่อบูรณาการ ผสมผสาน และใช้องค์ความรู้ท้องถิ่นในการแก้ไขปัญหา โดยใช้การจัดการความรู้เป็นกลไกสำคัญ ปรับชุมชนให้มีเจตคติในทางบวกต่อผู้ป่วยจิตเวช ผู้ที่คิดฆ่าตัวตาย และผู้มีปัญหาสุขภาพจิต ส่งผลชุมชนเกิดความเอื้ออาทร ห่วงใย ช่วยกันดูแลผู้ป่วยจิตเวชและผู้ที่เสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายในชุมชน กลวิธีในการดำเนินงาน ในการดำเนินโครงการครั้งนี้ได้มีระยะเวลาในการดำเนินงานตั้งแต่ 1 พฤษภาคม 2549-30 พฤศจิกายน 2549 โดยมีการดำเนินงานโดยสังเขปดังนี้ ระยะที่ 1 ได้มีการจัดประชุมคระดำเนินงานในระดับชุมชน ได้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแกนนำในระดับชุมชน นักปฏิบัติงานชุมชนด้านสุขภาพจิต และภาคีเครือข่ายที่สำคัญในชุมชน เพื่อวางแผน กำหนดยุทธศาสตร์ และแนวคิดในการดำเนินงานตลอดจนถึงกำหนดพื้นที่เป้าหมายในชุมชน หลังจากนั้นได้มีการจัดประชุมแกนนำเครือข่ายที่สำคัญพื้นที่เป้าหมาย เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นรับทราบแนวคิด และคัดเลือกแกนนำที่สำคัญในชุมชนเพื่อเข้าร่วมอบรม (25 พ.ค, 31 พ.ค 49) ระยะที่ 2 ได้มีการจัดสัมมนาเพื่อสนับสนุน และส่งเสริมองค์ความรู้ทางวิชาการ และร่วมแลกเปลี่ยนความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ประสบการณ์ที่มี เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และมีการระดมความคิดเพื่อจัดทำแผนงาน/กิจกรรมเพื่อรองรับ (วันที่ 16-17 มิ.ย 49) ระยะที่ 3 3.1 เป็นระยะติดตามผลการดำเนินงานโดยมีการจัดสัมมนาปัญหาอุปสรรคในการดำเรินงานผลสำเร็จ การร่วมกันแก้ไขปัญหา และใช้กระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในชุมชน (15 ก.ย., 17 พ.ย 49) 3.2 เป็นการสรุปผลการดำเนินงาน และผลลัพธ์ให้ผู้นำชุมชนในตำบล ภาคีเครือข่าย องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรับทราบ และมอบรางวัลปฏิบัติงานสุขภาพจิตดีเด่นในระดับหมู่บ้าน และหมู่บ้านที่มีการดำเนินงานดีเด่นในระดับตำบล (ปลายเดือน พ.ย.-ต้นเดือน ธ.ค 49)

Keywords: ฆ่าตัวตาย, โรคจิต, โรคซึมเศร้า, ทัศนคติ, สุขภาพจิต, ชุมชน, ปัญหาฆ่าตัวตาย, หางดง, เชียงใหม่, ภูมิปัญญาท้องถิ่น, การจัดการความรู้, ภาคีเครือข่าย, สุขภาพจิตดีเด่น

ปีที่เผยแพร่/Year: 2549

Address: ตำบลหนองตอง อำเภอหางดง จังหวัดชียงใหม่

Code: 20060004

ISSN/ISBN: -

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ไทย

Category: Paper ที่ได้รับคัดเลือกนำเสนอในที่ประชุมวิชาการ การป้องกันปัญหาการฆ่าตัวตาย ครั้งที่ 5 ประจำปี 2549 จ.เชียงราย

Download: