ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: ดำรง แวอาลี, สมใจ ชูเชิด, รัตนา ปรีชาสุชาติ, สุนันทา เศรษฐวัชราวนิช, ไซนะ ยามิน, รจนา ฤกษ์เฟื่องฟู

ชื่อเรื่อง/Title: โครงการเยียวยาจิตใจแก่เด็กที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความรุนแรงใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้.

แหล่งที่มา/Source: ประชุมวิชาการสุขภาพจิตนานาชาติ ครั้งที่ 5, ณ. โรงแรมปรินซ์พาเลซ กรุงเทพฯ, จากหลังคาแดงสู่ชุมชน ระหว่างวันที่ 3-5 กรกฎาคม 2549, หน้า 109.

รายละเอียด / Details:

หลักการและเหตุผล ผลสืบจากสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ในหลากหลายรูปแบบทั้งการฆ่ารายวัน การวางระเบิด ปาดคอ เป็นต้น ทำให้เกิดความสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สิน สูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก ก่อให้เกิดความโกรธ แค้น หวาดระแวง เสียใจ แก่ญาติของผู้สูญเสีย ซึ่งมีในทุกๆ วัย ทั้งวัยชรา วัยผู้ใหญ่ วัยรุ่นและวัยเด็ก ซึ่งในกลุ่มวัยรุ่นและเด็ก หากไม่ได้รับการดูแลจิตใจที่ต่อเนื่องและเป็นระบบจากผู้เชี่ยวชาญ อาจจะทำให้มีปัญหาด้านภาวะอารมณ์และมีทัศนคติที่ผิดๆ ได้ ซึ่งการใช้กิจกรรมกลุ่มบำบัดในกลุ่มเด็กและวัยรุ่น ทีได้รับผลกระทบจากสถานการ์ขึ้นเพื่อป้องกันปัญหาสุขภาพจิตในระยะยาว วัตถุประสงค์ 1. เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้รับการเยียวยาอย่างทันท่วงที ป้องกันการเกิดปัญหาสุขภาพจิตในระยะยาว 2. เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ความรู้สึก และวิธีการดูแลจิตใจซึ่งกันและกัน กลุ่มเป้าหมาย บุตรและภรรยาผู้เสียชีวิตจากสถานการณ์ความรุนแรง จำนวน 30 คน กิจกรรมโครงการ ดำเนินโดยกิจกรรมกลุ่มบำบัดโดยใช้กิจกรรมเป็นสื่อให้เด็กและมารดาเกิดการเรียนรู้ โดยมี program สำหรับจิดกิจกรรมสัปดาห์ละ 1 ครั้ง จำนวน 5 ครั้งๆ ละ 1 วัน ซึ่งประกอบด้วย กลุ่มวาดรูป กลุ่มกิจกรรมทักษะสังคม กลุ่มจิตบำบัด ระยะเวลาในการดำเนินโครงการ ตุลาคม 48-พฤษภาคม 2549 ผลการดำเนินโครงการ เด็กและมารดามีการดูแลจิตใจตัวเองได้ดีขึ้น และสามารถกลับมาดำเนินชีวิตได้ เกิดเครือข่ายผู้สูญเสียในกลุ่มเป้าหมาย มีความสามารถในการจัดการกับความเครียดได้เร็วขึ้น ประเมินผลจากแบบประเมินความเครียดและ PTSD จากเดิมสูงกว่าปกติมาอยู่ในเกณฑ์ปกติ มีผลความพึงพอใจมากที่สุดต่อโครงการ 92% ข้อเสนอแนะ 1. ควรมีหน่วยงานที่ดูแลจิตใจให้ครอบคลุมและต่อเนื่อง เพื่อทำให้ไม่รู้สึกถูกทอดทิ้งและมีคนเข้าใจ 2. การดูแลสุขภาพจิตควรดูแลทั้งครอบครัวเพราะทุกคนมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกัน มีผลกระทบซึ่งกันและกัน 3. การทำกิจกรรมในกลุ่มเด็กควรทำในช่วงปิดเทอม เด็กจะสามารถมาร่วมกิจกรรมได้ทุกคน

Keywords: ความรุนแรง, เด็ก, เยียวยาจิตใจ, ผลกระทบ, ภาคใต้, วัยรุ่น, สุขภาพจิต, การดูแล

ปีที่เผยแพร่/Year: 2549

Address: กลุ่มงานจิตเวชโรงพยาบาลยะลา

Code: 200600047

ISSN/ISBN: -

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ภาษาไทย

Category: บทคัดย่อที่ได้รับคัดเลือกนำเสนอในประชุมวิชาการสุขภาพจิตนานาชาติ ครั้งที่ 5, ณ. โรงแรมปรินซ์พาเลซ กรุงเทพฯ

Download: -