ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: พรพิรักษ์ สุวรรณ, จุฑามณี ดุษฎีประเสริฐ, วทัญญู นาคาเริงฤทธิ์

ชื่อเรื่อง/Title: การประเมินผลการดำเนินงานบริการจ่ายยาผู้ป่วยในแบบยูนิตโด๊สประยุกต์ภายใต้มุมมองของ BSC.

แหล่งที่มา/Source: ประชุมวิชาการสุขภาพจิตนานาชาติ ครั้งที่ 5, ณ. โรงแรมปรินซ์พาเลซ กรุงเทพฯ, จากหลังคาแดงสู่ชุมชน ระหว่างวันที่ 3-5 กรกฎาคม 2549, หน้า 43-44.

รายละเอียด / Details:

หลักการและเหตุผล โรงพยาบาลจิตเวชนครราชสีมาราชนครินทร์เริ่มดำเนินงานระบบการกระจายยาแบบยูนิตโด๊สประยุกต์ ตั้งแต่ พ.ศ. 2540 จนถึงปัจจุบัน การประเมินผลการดำเนินงานแบบ Balance Scorecard (BSC) จะทำให้เกิดการพัฒนาระบบงานให้ครอบคลุมในทุกด้าน เพื่อตอบสนองวิสัยทัศน์ของโรงพยาบาลและกลุ่มเภสัชกรรม วัตถุประสงค์ เพื่อประเมินผลการปฏิบัติงานของงานบริการจ่ายยาผู้ป่วยในแบบยูนิตโด๊สประยุกต์ตามตัวชี้วัดที่กำหนดภายใต้มุมมองของ BSC4 ด้านที่กำหนดขึ้นเป็นตัวชี้วัดได้แก่ (1) การลดมูลค่าการสำรองยาในหอผู้ป่วย (2) ระดับความพึงพอใจของเจ้าหน้าที่หอผู้ป่วยต่อการบริการ (3) อัตราการเกิดความคลาดเคลื่อนในการจ่ายยา (4) กิจกรรมพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง ขอบเขตการวิจัย ศึกษาผลการดำเนินที่เกี่ยวข้องกับบุคลากรทางการพยาบาล ผู้ป่วย ความคลาดเคลื่อนทางยา มูลค่ายา และกิจกรรมพัฒนาคุณภาพที่เกิดการเปลี่ยนแปลงในปีงบประมาณ 2548 ระเบียบวิธีวิจัย รูปแบบการศึกษาวิจัยเชิงพรรณนา ตัวแปรที่ใช้ในการศึกษาวิจัย (1) การลดมูลค่าการสำรองยาในหอผู้ป่วย (2) ระดับความพึงพอใจของเจ้าหน้าที่หอผู้ป่วยต่อการบริการ (3) อัตราการเกิดความคลาดเคลื่อนในการจ่ายยา (4) กิจกรรมพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาวิจัย แบบเก็บข้อมูลความพึงพอใจ แบบเก็บข้อมูลความคลาดเคลื่อนทางยา แบบบันทึกมูลค่าการสำรองยา และรายงานผลการดำเนินการกิจกรรมพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง สรุปผลการวิจัย (1) มูลค่ายาสำรองในหอผู้ป่วยลดลงจาก ค่าเฉลี่ย 47,819.80 บาทต่อเดือนในระบบสำรองยาสมบูรณ์บนหอผู้ป่วย เป็น 8,058.33 บาทต่อเดือน เมื่อเปลี่ยนมาใช้ระบบยูนิตโด๊สประยุกต์ (เปรียบเทียบข้อมูลการสำรองยาหอผกากรอง 2545 และปี 2547 ) (2) ระดับความพึงพอใจ ในด้านบุคลากรที่ให้บริการจ่ายยาแบบยูนิตโด๊ส ในด้านความรู้ ความสามารถ ความรับผิดชอบของผู้ให้บริการ การแต่งกาย มนุษยสัมพันธ์ กิริยามารยาท การบริการที่สะดวกรวดเร็ว ความพึงพอใจเฉลี่ย ระดับดี ถึงดีมาก ร้อยละ 70.6 ระดับปานกลาง ร้อยละ 28.2 และระดับน้อยร้อยละ 1.2 ด้านคุณภาพการบริการ และความเชื่อมั่น ระดับมากถึงมากที่สุด ร้อยละ 89.7 ระดับปานกลาง ร้อยละ 7.0 และระดับน้อย ร้อยละ 4.3 (3) ความคลาดเคลื่อนในการจ่ายยา ผลลัพธ์การประเมินพบความคลาดเคลื่อนในการจ่ายยา (dispensing error) เฉลี่ยเท่ากับ 14.58 ครั้ง/เดือน คิดเป็นอัตราการเกิดความคลาดเคลื่อนในการจ่ายเฉลี่ย 0.0169/เดือน (4) มุมมองด้านการเรียนรู้และการพัฒนา ผลลัพธ์การประเมิน คือการปรับวิธีปฏิบัติในการจ่ายสามารถลดมูลค่าการสูญเสียซองยาลงร้อยละ 45.8 และการทำให้ผู้ป่วยที่มีปัญหาด้านการรับประทานยาขณะรักษาตัวอยู่ที่บ้านจำนวน 5 ราย สามารถรับประทานยาได้อย่างถูกต้องลดปัญหาการกำเริบของอาการทางจิต ข้อเสนอแนะ การประเมินผลใน 4 มุมมองดังกล่าว จะเป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนางานบริการจ่ายยายูนิตโด๊สประยุกต์ และเป็นต้นแบบในการประเมินผลการปฏิบัติงานบริการเภสัชกรรมอื่นๆ ให้ครอบคลุมทุกมุมมองต่อไปในอนาคต และควรได้รับการประเมินและติดตามเป็นประจำทุกๆ ปี

Keywords: ยูนิตโด๊ส, การจ่ายยา, ยา, การรับประทานยา, การเรียนรู้, การพัฒนา, พัฒนาคุณภาพ, ยารักษาทางจิตเวช, ระบบงาน, เภสัชกรรม, ระบบสำรองยาจิตเวช, จิตเวช, จิตเวชศาสตร์

ปีที่เผยแพร่/Year: 2549

Address: กลุ่มงานภัชกรรม โรงพยาบาลจิตเวชนครราชสีมาราชนครินทร์

Code: 200600053

ISSN/ISBN: -

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ภาษาไทย

Category: บทคัดย่อที่ได้รับคัดเลือกนำเสนอในประชุมวิชาการสุขภาพจิตนานาชาติ ครั้งที่ 5, ณ. โรงแรมปรินซ์พาเลซ กรุงเทพฯ

Download: -