ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: รุ้งนภา ผาณิตรันต์

ชื่อเรื่อง/Title: ทัศนคติเชิงไม่สร้างสรรค์ ทักษะการจัดการกับสิ่งเร้าภายในและการใช้ยาเสพติดของวัยรุ่น

แหล่งที่มา/Source: การประชุมวิชาการนานาชาติ ครั้งที่ 2, สุขภาพจิตกับยาเสพติด ปี 2546, หน้า 135. (วันที่ 19-21 สิงหาคม 2546 ณ โรงแรมแอมบาสเดอร์ กรุงเทพมหานคร)

รายละเอียด / Details:

การเสพสารเสพติดของวัยรุ่นในปัจจุบันเป็นปัญหาที่วิกฤต ซึ่งมีผลกระทบที่เป็นอัตราทั้งต่อภาวะสุขภาพส่วนบุคคล ชุมชน จนกระทั่งภาวะสุขภาพของประเทศ แม้ว่ามาตรการต่างๆ ได้ถูกนำมาใช้เพื่อการป้องกันวัยรุ่นจากการเริ่มใช้สารเสพติด การหยุดเสพ การกลับมาใช้สารเสพติดซ้ำ รวมทั้งการแพร่กระจายของสารเสพติดแต่จำนวนของผู้ใช้สารเสพติดกลับเพิ่มมากขึ้น การศึกษาครั้งนี้ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาเรื่องการพัฒนารูปแบบการป้องกันและการบำบัดรักษาผู้เสพสารเสพติด จากประสบการณ์ของผู้รอดพ้นจากการเป็นผู้ใช้สารเสพติด โดยมีวัตถุประสงค์ที่ศึกษาทัศนคติในเชิงไม่สร้างสรรค์ (Dysfunctional attitudes) ต่อการใช้สารเสพติดของวัยรุ่น โดยส่งผ่านทักษะการจัดการกับสิ่งเร้าภายใน (Learned resourcefulness) ซึ่งประกอบด้วยการจัดการกับปัญหาการควบคุมตนเอง การรอคอยผลตอบแทนในอนาคต และการรับรู้สมรรถนะของตนเอง กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้ประกอบด้วยวัยรุ่น จำนวน 260 คน ที่กำลังศึกษาในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษาในกรุงเทพมหานคร จำนวน 81 คนที่ถูกศาลพิพากษาให้คุมประพฤติและกำหนดให้มารายงานตัวที่สำนักงานคุมประพฤติเด็กและเยาวชนกรุงเทพมหานคร และจำนวน 41 คน ที่เข้ารับการฝึกอบรมที่สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนกลาง วัยรุ่น 181 และ 201 คน รายงานว่ามาและไม่มีประสบการณ์ใช้สารเสพติดตามลำดับ เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ข้อมูลส่วนบุคคล ทัศนคติในเชิงไม่สร้างสรรค์ (DAS) และทักษะการจัดการกับสิ่งเร้าภายใน (SCS) ผลการศึกษา พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย (67.8%) มีอายุ 11-20 ปี การศึกษาอยู่ในระดับมัธยมศึกษา (86.9%) วิเคราะห์ข้อมูลโดย Binary Logistic regression analyses ทัศนคติในเชิงไม่สร้างสรรค์เป็นตัวแปรเดียวที่สามารถอธิบายความแปรปรวนของการใช้สารเสพติดของวัยรุ่นได้ 39.4ิ%2=191.36;a'‹.001) ภายหลังควบคุมเพศและอายุ กล่าวคือทัศนคติในเชิงไม่สร้างสรรค์มีอิทธิพลตรงต่อการใช้สารเสพติดของวัยรุ่นโดยไม่มีอิทธิพลส่งผ่านทักษะการจัดการกับสิ่งเร้าภายใน โดยที่โมเดลโดยรวมสามารถทำนายได้ถูกต้อง 79.3% โอกาสของการเสพสารเสพติดเพิ่มขึ้น 3.9% เมื่อคะแนนของทัศนคติในเชิงไม่สร้างสรรค์เพิ่มขึ้น 1 คะแนน ผลการศึกษาบ่งชี้ถึงการวิจัยเชิงทดลองที่ศึกษาผลของการปรับโครงสร้างการรู้ติด (Cognition restructing)

Keywords: ทัศนคติในเชิงไม่สร้างสรรค์, ทักษะการจัดการกับสิ่งเร้าภายใน, การใช้สารเสพติดวัยรุ่น, วัยรุ่น, สารเสพติด, ยาเสพติด, เด็ก, เยาวชน, สถานพินิจ, สุขภาพจิต

ปีที่เผยแพร่/Year: 2546

Address: ภาคสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวชศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

Code: 00000042

ISSN/ISBN: -

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ภาษาไทย

Category: Paper ได้รับคัดเลือกนำเสนอในที่ประชุมวิชาการกรมสุขภาพจิต

Download: -