ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: ปรัชญานี คำเหลือ, สมัย คำเหลือ

ชื่อเรื่อง/Title: โครงการคืนคุณค่าไม่ตีตราผู้ป่วย อำเภอศรีรัตนะ จังหวัดศรีสะเกษ

แหล่งที่มา/Source: โครงการประชุมวิชาการ การป้องกันปัญหาการฆ่าตัวตาย ครั้งที่ 5 "ก้าวต่อไปในการเรียนรู้ สู่โลกแห่งนวัตกรรม",28-30 มิถุนายน 2549, ณ โรงแรมดุสิตไอส์แลนด์ จ.เชียงราย

รายละเอียด / Details:

หลักการและเหตุผล การฆ่าตัวตายเกิดขึ้นจากหลายๆ สาเหตุ เช่น สาเหตุจากสังคม เศรษฐกิจ ปัจจัยทางชีวภาพ ปัจจัยทางจิตวิทยา เป็นต้น ซึ่งเมื่อรวมจากหลายๆ สาเหตุดังกล่าวมาแล้ว จะมาจากความเครียดส่วนตัว แล้วเกิดความคับข้องใจ สับสน จนต้องหาทางออกชั่วฉับพลันจนปรากฏเกิดเหตุฆ่าตัวตายขึ้น ซึ่งปรากฏการที่เกี่ยวกับการฆ่าตัวตายที่พบในปัจจุบันมี 2 ลักษณะได้แก่ การพยายามฆ่าตัวตาย (attcmpted suicide) การฆ่าตัวตายสำเร็จ (completed suicide) และจากการศึกษาพบว่า 1 ใน 3 ของผู้ที่ฆ่าตัวตายสำเร็จพยายามฆ่าตัวตายมาก่อน หรือหมายความว่าคนที่พยายามฆ่าตัวตายเป็นกลุ่มเสี่ยงที่จะฆ่าตัวตายสำเร็จ จากผลการดำเนินงานเก็บข้อมูลเฝ้าระวังการฆ่าตัวตายของอำเภอศรีรัตนะพบอัตราการฆ่าตัวตายร้อยละ 6.7 สนประชากรในปี 2548 และร้อยละ 5.3 สนประชากร (ตุลาคม 2548-มีนาคม 2549) ซึ่งจากการวิเคราะห์จากการให้คำปรึกษา และเก็บข้อมูลจากรายงาน 506DS พบว่าปัญหาหลักของผู้ป่วยที่มีส่วนสัมพันธ์กับการฆ่าตัวตาย เกิดจากการป่วยด้วยโรคทางสุขภาพจิตและสภาพปัญหาของครอบครัว ความขัดแย้งกับครอบครัว ญาติ ถูกกีดกันตีตรา (stigma) จากสังคมและครอบครัว ทำให้ขาดทางออกหมดหวังในการดำเนินชีวิต และตัดสินใจฆ่าตัวตายในที่สุด วัตถุประสงค์ 1. เพื่อประเมินประสิทธิผล กระบวนการ ปัจจัยนำเข้า และบริบทต่างๆ เช่น ด้านการเข้าใจและยอมรับของสังคม ความร่วมมือของผู้ป่วย ญาติ ระบบริการของภาครัฐ และเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการ ที่เกี่ยวข้องกับโครงการ กลุ่มเป้าหมาย 1. กลุ่มผู้ป่วยที่มีภาวะเสี่ยงต่อการถูกกีดกันตีตรา (stigma) ด้อยโอกาส มีความเสี่ยงจากการได้รับผลด้านลบต่างๆ จากการตีตรา (stigma) เช่น ผู้ป่วยโรคจิตเวชทุกประเภท ผู้ป่วยที่เกิดจากการกระทำรุนแรงผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวี ผู้รับการบำบัดยาเสพติด บุหรี่ สุรา 2. กลุ่มสังคม ได้แก่ ผู้ดูแล (ญาติ อสม. ผู้นำ) และชุมชนผู้ป่วยอยู่อาศัย 3. กลุ่มองค์กร เช่น โรงเรียน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อบต./เทศบาล) โรงพยาบาล สถานีอนามัย และองค์กรภาครัฐด้านสังคมอื่นๆ วิธีการดำเนินการ 1. เก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล จัดทำโครงการ 2. จัดประชุมชี้แจงแนวทางและวิธีการดำเนินการแก่กลุ่มเป้าหมาย 3. จัดรณรงค์ดำเนินงานการประชาสัมพันธืเชิงรุกในกลุ่มเป้าหมาย 4. สรุปและประเมินผลการดำเรินงาน สรุปประเมินผลและข้อเสนอแนะเบื้องต้น 1. ผลการดำเนินงานบรรลุผลตามตัวชี้วัดในภาพรวม 2. ควรมีการรณรงค์ประชาสัมพันธ์ทั้งในเชิงลึก และเชิงกว้าง 3. ควรมีการศึกษาวิจัยเชิงเปรียบเทียบ หรือสำรวจผลกระทบในแต่ละกลุ่มผู้ป่วยเพื่อวางแผนในการดำเนินการที่ถูกต้องต่อไป

Keywords: ฆ่าตัวตาย, คืนคุณค่าไม่ตีตราผู้ป่วย ,ผู้ป่วย, ยาเสพติด, ลดอคติ, ผู้ป่วยจิตเวช, จิตเวช, จิตเวชศาสตร์, ศรีรัตนะ, ศรีสะเกษ, กีดกันตีตรา, อคติ, โรคจิตเวช, stigma, de-stigma

ปีที่เผยแพร่/Year: 2549

Address: โรงพยาบาลศรีรัตนะ อำเภอศรีรัตนะ จังหวัดศรีสะเกษ

Code: 20060006

ISSN/ISBN: -

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ไทย

Category: Paper ที่ได้รับคัดเลือกนำเสนอในที่ประชุมวิชาการ การป้องกันปัญหาการฆ่าตัวตาย ครั้งที่ 5 ประจำปี 2549 จ.เชียงราย

Download: